Macrophar

ท้องเสีย…กินยาอะไรได้บ้างนะ ?

ท้องเสีย

ท้องเสียเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากหลายสาเหตุและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในผู้ป่วยบางรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และทำงานของภูมคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นการรักษาอาการท้องเสียในช่วงเริ่มแรกโดยการใช้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เรียกว่า ORS และยาที่ใช้รักษาอาการท้องเสียอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ก็สามารถทำได้เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ 1. สารน้ำทดแทนทางปาก (ORS) การให้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เราเรียกกันบ่อยๆว่า ORS มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันหรือรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดจากท้องเสีย ซึ่งผู้ป่วยโรคท้องเสียทุกรายจะเกิดการสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ไม่ว่าจะมีอาการแสดงของการสูญเสียน้ำหรือไม่ ดังนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับสารน้ำทดแทน ซึ่งรูปแบบของสารน้ำทดแทนที่ใช้ขึ้นกับความรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากควรส่งต่อไปสถานพยาบาลเพื่อให้สารน้ำทดแทนในรูปฉีดเข้าหลอดเลือดดา ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการในระดับน้อยถึงปานกลาง ควรได้รับสารน้ำทดแทนทางปาก ซึ่งรูปแบบที่แนะนำและนิยมใช้ คือ สารละลายที่มีปริมาณน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์ตามที่องค์การอนามัยโลกกาหนด ซึ่งจะเรียกว่า oral rehydration solution (ORS) การให้ ORS  ในผู้ป่วยโรคท้องเสียถือว่ามีความสาคัญอย่าง จากการศึกษาทางคลินิก พบว่า การให้ ORS ในเด็กที่เกิดโรคท้องเสียช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ในการให้ ORS ต้องให้อย่างถูกต้องและเพียงพอ การรับประทาน ORS จะแนะนาให้ค่อยๆ จิบ ไม่ควรรับประทานรวดเดียวจนหมด โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจาก ผู้ป่วยโรคท้องเสียจะมีสภาวะดูดซึมน้ำและอาหารได้ลดลง ร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์จากโพรงลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดไม่ทัน ทำให้มีความเข้มข้นของน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์ในโพรงลำไส้สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการดูดน้ำเข้ามาที่โพรงลำไส้มากขึ้น และทำให้อาการท้องเสียรุนแรงกว่าเดิมได้ 2. ยาบรรเทาอาการท้องเสีย (Antidiarrheal drugs)  ยาดูดซับสารพิษ (adsorbent agents) ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ได้แก่ diosmectite, kaolin-pectin และ charcoal ออกฤทธิ์โดยการดูดซับสารพิษที่เกิดจากเชื้อก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โดยยาที่มีการศึกษาทางคลินิกยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด คือ diosmectite Diosmectite เป็นยาที่เชื่อว่ามีกลไกการออกฤทธิ์ได้หลายกลไก ได้แก่ ดูดซับสารพิษ เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพในการดูดซับที่ดีกว่ายาชนิดอื่น ยาสามารถไปจับเยื่อบุลำไส้ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อต่างๆ เข้ามาเกาะและทำลายเยื่อบุลาไส้ และยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบอีกด้วย ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ diosmectite พบว่าสามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จากหลักฐานทางวิชาการ พบว่า ช่วยลดปริมาณอุจจาระ และระยะเวลาของโรคท้องเสียได้ สถิติ  อีกทั้งยานี้ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง และมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานยา ยายับยั้งการเคลื่อนตัวของลำไส้ (Antimotility agents) ยาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีในร้านยา คือ loperamide ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนตัวของลำไส้โดยตรง ทำให้อาการท้องเสียลดลงได้ ยาสามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว เริ่มเห็นผลได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงหลังรับประทานยา และออกฤทธิ์ได้เต็มที่ใน 16-24 ชั่วโมงหลังรับประทานยา โดยยากลุ่มนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก เนื่องจากพบผลข้างเคียงที่รุนแรง ยายับยั้งการหลั่งสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ (Antisecretory drug) ได้แก่ยา racecadotril เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์เข้าสู่โพรงลำไส้ได้ จึงช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ 3. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเมื่อบริโภคในปริมาณมากพอ จะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคกลไกของโพรไบโอติกส์ในการรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าโพรไบโอติกส์ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลำไส้ เพิ่มความแข็งแรงของเยื่อบุลำไส้ แย่งอาหารกับเชื้อก่อโรค และทำให้สภาพในโพรงลำไส้ไม่เหมาะกับการเติบโตของเชื้อก่อโรค มีผลทำให้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อก่อโรค 4. ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นเป็นปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยทั้งในร้านยาและสถานพยาบาล การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะควรพิจารณาถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กรณีอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ จะไม่แนะนาให้ใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากเชื้อก่อโรคหลักในชุมชนมักจะเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นหลัก หรือแม้แต่ท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหากมีระดับความรุนแรงเพียงเล็กน้อยหรือปานกลาง ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะสามารถหายได้เอง 5.ธาตุสังกะสี (Zinc) มีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหารในการซ่อมแซมเยื่อบุลำไส้ และการสร้างเอนไซม์บริเวณ brush border รวมไปถึงการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อก่อโรคในลำไส้ ในภาวะท้องร่วงจะมีการสูญเสียธาตุสังกะสีไปทางอุจจาระมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะขาดธาตุสังกะสีได้ การขาดธาตุสังกะสีทำให้เกิดความบกพร่องในการดูดซึมน้ำและเกลือแร่ มีการพร่องเอนไซม์ที่เยื่อบุลำไส้เล็ก และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง 6. ยาบรรเทาอาการที่เกิดร่วมกับท้องเสีย ได้แก่ ยาลดไข้ ยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง เช่น hyoscine และยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ที่นิยมใช้ เช่น domperidone และ ondansetron อย่างไรก็ตาม domperidone และ ondansetron ก็มีรายงานการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเช่นกัน ดังนั้นจึงควรใช้ในขนาดยาที่แนะนำ และระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการกินอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด เปรี้ยวจัด เพื่อลดอาการเสาะท้อง ลดการกินอาหารหมักดอง เพราะเสี่ยงต่อการพบเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากกระบวนการหมักดองที่ไม่มีประสิทธิภาพ เลือกกินอาหารจากร้านอาหาร หรือวัตถุดิบในการทำอาหาร ที่สะอาด น่าเชื่อถือ และปรุงให้สุก 100% ก่อนกินอาหารทุกครั้ง ไม่กินอาหารที่ปรุงสุกข้ามวัน และเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เย็นมากพอ เพราะอาจก่อให้เกิดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสียได้ ไม่กินอาหารมากจนเกินไป เช่น การกินบุฟเฟ่ต์ หรือการอดอาหารมื้อหนึ่ง แล้วกินอีกมื้อหนึ่งมากขึ้นทดแทน เพราะการกินอาหารครั้งเดียวในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ผนังหน้าท้องขยายขนาดขึ้น และส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ควรเปลี่ยนมากินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยขึ้นจะดีกว่า ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกครั้งก่อนกลืน ไม่รีบกินรีบกลืนจนเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ยาก เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้ โรคท้องเสียเป็นโรคที่สำคัญและพบได้บ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ควรจะประเมินอาการและระดับความรุนแรงของโรคท้องเสียของตนเอง หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถให้สารน้ำทดแทน ORS และยาบรรเทาอาการท้องเสียอย่างเหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงของอาการท้องเสียได้ แต่หากมีอาการรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/IJPS/article/view/125918