Macrophar

Zinc แร่ธาตุตัวจิ๋ว สำหรับทุกคนในครอบครัว

แร่ธาตุสังกะสีหรือซิงค์ (Zinc) เป็นแร่ธาตุที่มีมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วนช่วยในการควบคุมให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีส่วนช่วยในการทำงานของเอ็นไซม์ต่างๆของร่างกายถึง 300 ชนิด ซึ่งรวมถึงกระบวนการย่อยและเผาผลาญสารอาหารต่างๆ และมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย กระบวนการสังเคราะห์สารพันธุกรรม ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท ฮอร์โมน รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน เช่นการสร้างภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต การทำงานของฮอร์โมน จึงกล่าวได้ว่าแร่ธาตุชนิดนี้ช่วยบำรุงสุขภาพโดยรวมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่ป่วยบ่อย ช่วยเรื่องการซ่อมแซมบาดแผล ทำให้แผลหาดเร็วขึ้น ช่วยเรื่องการเผาผลาญ ช่วยเรื่องการพัฒนาและการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมไปถึงช่วยเสริมเรื่องการรับรู้รสและกลิ่นอีกด้วย โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง Zinc (ซิงค์) ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่มี Zinc (ซิงค์) เป็นส่วนประกอบโดยเฉลี่ยในปริมาณ 15 mg ต่อวัน ซึ่งแหล่งอาหารที่มีปริมาณ Zinc (ซิงค์) สูงได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม เมล็ดทานตะวัน เห็ด เนื้อหมู ไข่ ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ปลา จมูกข้าวสาลี แป้งงา เมล็ดฝักทอง ธัญพืช เครื่องเทศ ผักโขม เป็นต้น ซิงค์ เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ แต่ต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อย หากเราสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ร่างกายของเรามักจะไม่ขาดแร่ธาตุสังกะสีนี้ แต่อาจมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ร่างกายของเราได้รับซิงค์ไม่เพียงพอ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่เป็นประจำก็อาจทำให้ร่างกายขาดซิงค์ได้ การใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างก็อาจส่งผลให้ร่างกายขาดซิงค์ได้เช่นกัน เช่น ผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ หรือผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก อาจรับประทานอาหารน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ทำให้ขาดซิงก์ได้ Zinc ประโยชน์ครบครัน ที่มีต่อสุขภาพร่างกาย 1.ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้แร่สังกะสีในการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า T-cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่ช่วยในการควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ Zinc (ซิงค์) ยังมีคุณสมบัติในการช่วยต้านการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย (Antiviral) หยุดการเจริญของเชื้อ รวมทั้งการเกาะจับของเชื้อในร่างกาย Zinc (ซิงค์) ยังมีฤทธิ์ต้านอักเสบ จึงช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ เช่นโรคปอดอักเสบ เป็นต้น เมื่อเป็นหวัด Zinc (ซิงค์) จะลดความรุนแรงของอาการ ลดระยะเวลาการเป็นหวัด และหายจากโรคหวัดเร็วขึ้น และ หากร่างกายได้รับ Zinc (ซิงค์) ร่วมกับวิตามินซีเป็นประจำทุกวันยังช่วยป้องกันหวัดได้ 2.ช่วยรักษาผมร่วง บำรุงผม และเล็บให้แข็งแรง เป็นแร่ธาตุที่มีช่วยการเจริญเติบโตของเส้นผมและเล็บ โดยมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ซ่อมแซมผมและเล็บที่อ่อนแอให้เจริญเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น และยังช่วยควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะจึงลดโอกาสการหลุดร่วงของเส้นผมได้ 3.ช่วยฟื้นฟูบาดแผลให้หายเร็วขึ้น มีส่วนสำคัญในการรักษาความสมบูรณ์และโครงสร้างของผิวหนัง ซึ่งพบว่าในระยะที่ร่างกายต้องการสร้างเซลล์ใหม่หลังผ่าตัดหรือเป็นแผลต่างๆจำเป็นต้องมีขบวนการนี้มากขึ้นเสมอ Zinc (ซิงค์) ช่วยให้ร่างกายมีกระบวนการซ่อมแซม หรือสมานแผลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น  4.ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชายช่วยเพิ่มจำนวนของอสุจิ มีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์  ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชาย จากการศึกษา พบว่าการรับประทานแร่ธาตุสังกะสีวันละ 24 มิลลิกรัมต่อเนื่อง 45-50 วันช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชายรวมถึงจำนวนและการเคลื่อนไหวของอสุจิได้อย่างชัดเจนจึงช่วยเพิ่มโอกาสการมีบุตรสำหรับผู้ชายที่มีบุตรยากได้ 5.ช่วยรักษาสิวและสมานแผล รักษาสมดุลของปริมาณไขมัน ตามรูขุมขนที่ผิวหนัง ควบคุมปัญหาการเกิดสิวอุดตันรูขุมขนจากไขมันมากเกินไป และลดอาการอักเสบ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ให้กับผิว ส่งผลให้เซลล์ผิวที่ถูกสร้างขึ้นใหม่มีสุขภาพดี และยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิวด้วย   6.ช่วยฟื้นฟูการรับรสชาติและรับกลิ่นได้ดีขึ้น สำหรับผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง รับประทานอาหารแบบเดิมๆ และรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้หลายคนมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะมีภาวะขาดแร่ธาตุสังกะสีได้ อีกทั้งยังส่งผลต่อต่อสุขภาพ เช่น หน้ามืด อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง และภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยบ่อย ดังนั้นการเสริมซิงค์จะช่วยปรับสมดุลแร่ธาตุสังกะสีให้ร่างกาย และฟื้นฟูการรับรสชาติและรับกลิ่นได้ดีขึ้น จึงสามารถช่วยแก้อาการเบื่ออาหารและสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น  ในส่วนของผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ในบางรายอาจมีอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรสหรือเรียกว่าอาการ Long COVID ซึ่งเกิดจากเชื้อโควิดที่แพร่กระจายเข้าไปที่เซลล์ประสาทการดมกลิ่นในโพรงจมูก ทำให้เซลล์ประสาทรับกลิ่นทำงานผิดปกติ ซึ่งการเสริมซิงค์ก็สามารถช่วยฟื้นฟูการรับรสและการได้กลิ่นให้กลับมาเป็นปกติ จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย หากมีภาวะขาด Zinc? การที่ร่างกายมีภาวะขาดแร่ธาตุสังกะสีหรือซิงค์ (Zinc) เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆกับร่างกาย ดังนี้ 1.การรับรู้รสและกลิ่น ลดลง จากอุบัติการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 พบว่าผู้ติดเชื้อ ที่มีอาการการรับรู้รสและกลิ่นหายไป สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ร่างกายขาดแร่ธาตุสังกะสี 2.ภูมิคุ้มกันลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อโรค หรือเชื้อไวรัสง่ายขึ้น จึงทำให้ป่วยบ่อย 3.การเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆลดลง ผมร่วงมากกว่าปกติ มีปัญหาผมแตกปลาย , เล็บเปราะหรือแตกหักง่าย เล็บเป็นจุดสีขาว , ผิวหนังแห้งและอักเสบ , บาดแผลหายช้า , สมรรถภาพทางเพศลดลง , การเจริญเติบโตลดลง เด็กมีโอกาสเตี้ย แคระแกรน ถึงแม้ร่างกายจะต้องการซิงค์ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ซิงค์ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายขาดไม่ได้เช่นกัน และการรับประทานอาหารให้หลากหลายเป็นประจำอาจช่วยเพิ่ม Zinc ให้กับร่างกายอย่างเพียงพอ แต่การได้รับ Zinc เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงโดยร่วมได้ ดังนั้นนอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ควรออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

น้ำมันปลา (Fish Oil) และ น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ต่างกันอย่างไร ?

น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา

แม้ว่าเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งวิตามินหรืออาหารเสริม แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ในทุกวัน อาหารเสริมและวิตามินจึงกลายเป็นทางเลือกของคนที่ใส่ใจสุขภาพเพราะสะดวกสบาย ง่ายที่จะทำ ทั้งยังหาซื้อได้ทั่วไปอีกด้วย แต่อาหารเสริมนั้นก็มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีชื่อของ “น้ำมันปลา” และ “น้ำมันตับปลา” รวมอยู่ด้วย ด้วยชื่อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน จึงทำให้เกิดความสับสนกันอยู่บ่อยๆ ว่าทั้งสองอย่างนั้น คือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไขข้อสงสัย..น้ำมันปลา (Fish Oil) VS น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) น้ำมันปลา (Fish Oil) ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา โดยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น ซึ่งมีกรดไขมัน Omega-3  ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด อาทิ ปลาแองโชวี่ ปลาแมคเคอเรล หรือปลาทูน่ามีไขมัน เป็นต้น สารอาหารสำคัญของน้ำมันปลา (Fish Oil): อุดมไปด้วยกรดไขมัน Omega-3 ประกอบด้วยกรดไขมันสำคัญ 2 ชนิด ก็คือ EPA  (Eicosapentaenoic Acid)  และ DHA (Docosahexaenoic Acid) โดยมีผลวิจัยทางการแพทย์มากมายสรุปอย่างชัดเจนว่าน้ำมันปลา (Fish Oil) มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น มีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ และลดโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ สมองอุดตัน นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสมองและหัวใจ เป็นต้น น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) สกัดมาจากตับของปลาทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะปลาค็อด หรือที่หลายคนคุ้นหูกันในชื่อของ Cod liver oil สารอาหารสำคัญของน้ำมันตับปลา (Cod liver oil) : มีกรดไขมัน EPA และ DHA เหมือนกับน้ำมันปลาแล้วแต่มีในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำมันปลา แต่น้ำมันตับปลาจะมีวิตามินเอ และวิตามินดี ในปริมาณที่สูง น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาเหมาะกับใคร ? น้ำมันปลา (Fish Oil) เหมาะกับผู้ที่ต้องการบำรุงหัวใจ สมอง ป้องกันหลอดเลือดหัวใจ และสมองอุดตัน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูงหรือต้องการลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดอักเสบโรคข้อรูมาตอยด์ โรคซึมเศร้า และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น  น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) เหมาะกับผู้ที่ต้องการดูแลในเรื่องของสายตาและกระดูก เนื่องจาก วิตามินเอ ได้ชื่อว่าเป็น วิตามินสำหรับดวงตา เพราะมีประโยชน์ต่อสมรรถภาพในการมองเห็น ช่วยให้มองเห็นในที่ที่มีแสงสว่างน้อยได้ดีขึ้น ในส่วนของ วิตามินดี เองนั้นก็มีคุณสมบัติในการบำรุงกระดูก ป้องกันกระดูกพรุนและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง รวมถึงยังถูกนำมาใช้เสริมในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดวิตามินเอ และวิตามินดี อีกด้วย ประโยชน์ของน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา 1.ลดการอักเสบเรื้อรังและความกังวลจากการอักเสบ โอเมก้า-3 ในน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา ช่วยลดอาการอักเสบเรื้อรังได้ โดยการเข้าไปจัดการกับโปรตีนที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ขณะที่วิตามิน A และ D ในน้ำมันตับปลา ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยลดการอักเสบโดยการต้านสารอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย ในงานวิจัยบางงานยังพบว่า อาการอักเสบส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้เกิดความกังวลหรือซึมเศร้าได้ ซึ่งหากอาการอักเสบเรื้อรังลดลง ความกังวลและอาการซึมเศร้าก็มีแนวโน้มที่จะลดลงเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบความเชื่อมโยงระหว่างการเพิ่มขึ้นของปริมาณวิตามิน D ในกระแสเลือดกับการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเโซโรโทนิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสารแห่งความสุข ส่งผลต่อความกังวลและอาการซึมเศร้าอีกด้วย 2.เสริมสร้างมวลกระดูก โดยทั่วไป มวลกระดูกของคนเราจะเริ่มลดลงไปตามวัยหลังอายุ  30 ปี ซึ่งนำไปสู่กระดูกเปราะหรือแตกหักได้ง่าย แต่วิตามิน D ในน้ำมันตับปลา จะช่วยลดอัตราการหายไปของมวลกระดูกที่มาจากช่วงวัย เพราะวิตามิน D ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และแคลเซียมทำให้กระดูกแข็งแรง กรณีนี้น้ำมันตับปลาจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรที่ได้รับแสงแดดปริมาณน้อย ร่างกายจึงนำมาสังเคราะห์เป็นวิตามิน D ได้น้อย 3.ลดอาการปวดตามข้อจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ในงานวิจัยบางงานระบุว่าโอเมก้า-3 ช่วยลดอาการเจ็บปวดตามข้อ และลดอาการอักเสบหรือบวมได้ ดังนั้น มันจึงช่วยลดอาการปวดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้  4.ช่วยให้มีสุขภาพตาที่ดีขึ้น ผู้คนจำนวนมากประสบปัญหาเกี่ยวกับสายตาและการมองเห็น และ 2 เหตุผลใหญ่ ๆ ที่นำไปสู่ภาวะดังกล่าวคือ การเป็นต้อหิน และ จอประสาทตาเสื่อมตามวัย ซึ่งมาจากการอักเสบเรื้อรัง แต่การรับประทานน้ำมันตับปลาที่มีทั้งโอเมก้า-3 และวิตามิน A อยู่นั้นช่วยต้านการอักเสบและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดต้อหิน เช่น ความดันในตาหรือเส้นประสาทตาถูกทำลายได้ 5. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โอเมก้า-3 สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้ถึง 15-30% ลดความดันเลือด เพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันดีในเลือด ป้องกันการเกิดคราบพลัก (Plaque) ซึ่งเป็นการสะสมของไขมันและแคลเซียมในหลอดเลือดแดง จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันตับปลาและน้ำมันปลา 1. คนที่แพ้ปลาทะเลหรืออาหารทะเลห้ามรับประทาน เพราะน้ำมันปลามาจากปลาทะเล ผู้ที่แพ้อาหารทะเล หรือแพ้ปลาก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะแพ้น้ำมันปลาจจนทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเสียได้ 2. ไม่ควรรับประทานน้ำมันตับปลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน  เนื่องจากในน้ำมันตับปลามีวิตามินเอและวิตามินดีที่ค่อนข้างสูง การรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมของวิตามินเอและวิตามินดีได้ 3. ควรหยุดรับประทานน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 7 วัน เนื่องจากว่าคุณสมบัติของ EPA สามารถที่จะยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งอาจส่งผลทำให้เลือดแข็งตัวช้าและเกิดอันตรายระหว่างผ่าตัดได้ 4. ห้ามรับประทานคู่กับยาแอสไพรินและวาฟาริน ไม่แนะนำให้รับประทานน้ำมันตับปลาและน้ำมันปลาคู่กับยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยากับยา ทําให้เลือดหยุดไหลช้าหรือว่าเลือดแข็งตัวช้าจนเกิดอันตรายได้ 5. คนที่มีโรคประจำตัวไม่แนะนำให้รับประทาน โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด มีระดับไขมันในเลือดสูง จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนกินน้ำมันตับปลาและน้ำมันปลา เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้คงได้เห็นถึงความแตกต่างของ น้ำมันปลา และน้ำมันตับปลากันแล้ว ร่างกายของเราต้องการโอเมก้า-3 เพื่อช่วยในกระบวนการทำงานต่าง ๆ จึงควรรับประทานอาหารทะล 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่หากไม่สะดวกในการรับประทานอาหารทะเล ดังนั้นก่อนการเลือกซื้ออย่าลืมพิจารณาถึงปัญหาสุขภาพที่ต้องการดูแล เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์มากที่สุด อีกทั้งควรศึกษาถึงวิธี ปริมาณ และระยะเวลาในการรับประทานเพื่อที่จะให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด

ฝุ่น PM 2.5 ตัวร้าย ทำลายผิว สาเหตุหนึ่งของปัญหาสิว

ช่วงนี้ฝุ่น มลภาวะเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน เนื่องจากสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมากขึ้นทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง ไม่ว่าจะเป็น จ.เชียงใหม่, จ.แม่ฮ่องสอน, จ.กำแพงเพชร, จ.ลำปาง,  จ.ลำพูน, จ.พะเยาและ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.แพร่ และจ.ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จ.หนองคาย, จ.นครพนม นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในส่วนภาคกลาง เช่น จ.ราชบุรี และ จ.สมุทรสงคราม รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วย ที่นอกจากจะเป็นมลภาวะที่เข้ามาทำลายสุขภาพแล้ว ยังทำลายระบบทางเดินหายใจ รวมถึงผิวหนังของเรา เพราะฝุ่น PM2.5 มีผลทำให้ระคายเคืองผิว เป็นผื่นแพ้ ผื่นคัน ผิวอักเสบ แล้วก็อาจจะทำให้เป็นสิวได้ง่าย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง PM2.5 ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคทางปอดและหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้ทั้งทางเดินหายใจและผิวหนัง รวมถึงกลุ่มเด็กเล็ก และในช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดการสัมผัส PM2.5 ให้น้อยที่สุด ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?  PM ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5 ส่วนตัวเลข 2.5 นั้นมาจากหน่วย 2.5 ไมครอนหรือไมโครเมตรนั่นเอง ดังนั้น PM2.5 จึงเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน และก๊าซต่างๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าถึงจะเป็นเพียงฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว แต่เมื่อมาแผ่อยู่รวมกันจะกินพื้นที่ในอากาศมหาศาล ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศปริมาณสูง เกิดเป็นหมอกควันอย่างที่เราเห็นกัน ฝุ่นละออง PM2.5 ถือเป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ตามที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและออกมาแจ้งเตือนให้ทราบ เพราะเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก เส้นผมที่ว่ามีขนาดเล็กแล้ว เจ้า PM2.5 ยังเล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า ทำให้เล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอด และหลอดเลือดได้ง่าย ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว  สาเหตุของการเกิดฝุ่นละอองมีหลายปัจจัย เช่น โรงผลิตไฟฟ้า ควันท่อไอเสียจากรถยนต์ การเผาไม้ทำลายป่า เผาขยะ รวมถึงควันบุหรี่ด้วย ซึ่งปกติแล้วกิจกรรมต่างๆ ที่คนเราทำทุกวันก็ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่แหล่งต้นตอสำคัญของ PM2.5 ในบรรยากาศ คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์ และฝุ่นจากการก่อสร้าง ตัวเมืองที่มีตึกสูงรายล้อมเหมือน “ กรุงเทพ ” จะมีลักษณะคล้ายๆ แอ่งกระทะ เกิดการสะสมของเจ้าฝุ่นร้ายได้ง่าย ซึ่งปกติฝุ่นเหล่านี้จะลอยขึ้นไปในอากาศ ถูกลมพัดฟุ้งกระจายไป แต่ถ้าวันไหนที่อากาศนิ่ง ไม่ค่อยมีลมพัด ฝุ่นละอองจะไม่ฟุ้งกระจาย ส่งผลให้ระดับความเข้มของฝุ่นในพื้นที่นั้นๆ สูงมากขึ้นจนกลายเป็นระดับที่อันตรายต่อสุขภาพ และเจ้าฝุ่น ร้ายมักวนเวียนอยู่มากในช่วงกลางคืน แต่จะค่อยๆ จางหายไปเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นส่องสว่างในยามเช้า มีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร? ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นเจ้าฝุ่นร้ายที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไม่มีกลิ่น ขนาดเล็กจิ๋วมาก สามารถผ่านเข้าไปในร่างกายลึกได้ถึงถุงลมปอด บางส่วนสามารถเล็ดรอดผ่านผนังถุงลมเข้าเส้นเลือดฝอยล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด และกระจายตัวแทรกซึมไปทั่วร่างกายได้ความน่ากลัวของเจ้าฝุ่นร้ายนี้ คือ กระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ลดระบบ Antioxidant รบกวนสมดุลต่างๆ ของร่างกาย และกระตุ้น gene (ยีน) ที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งสารอักเสบ ซึ่งมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อในร่างกาย แล้วส่งผลกระทบต่างๆ ตามมา ดังนี้ กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สำหรับผลระยะยาวจะทำให้การทำงานของปอดถดถอย อาจเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้แม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม และเพิ่มโอกาสทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ด้วย PM 2.5 ถือว่าเป็นมลพิษของอากาศ ส่งผลให้สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ของผิวลดลงและภูมิต้านทานผิวหนังแย่ลง ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื่น แพ้ง่าย เป็นสิวได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ค่อยได้สัมผัสมลพิษทางอากาศ การป้องกันผิวจาก PM2.5 หรือมลพิษทางอากาศ ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่จำเป็นต้องออกข้างนอกบ้าน หรือต้องผ่านที่โล่งแจ้ง โดยแนะนำให้ใส่หน้ากากพิเศษชนิดที่เรียกว่า “เอ็นเก้าห้า (N95)” ออกกำลังกายในที่ที่มีฝุ่นน้อย ไกลจากถนน อาจเปลี่ยนเป็นออกในบ้านหรือฟิตเนส แทนการวิ่งตามสวนสาธารณะ รับประทานผักและผลไม้หลากสีสัน เพื่อรับสารต้านอนุมูลอิสระให้ร่างกายไว้ใช้ต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อเติมเต็มความชุ่มชื้นและฟื้นฟูผิวได้ดียิ่งขึ้น ขั้นตอนการดูแลผิวให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5 การทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอเพราะแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้มลพิษทางอากาศทำงานได้ดีขึ้น ยิ่งในวันที่มีแดดร้อนจัด ร่างกายจะสร้างเหงื่อและน้ำมันออกมาที่ผิวเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดดซึ่งเป็นตัวจับฝุ่นที่ดีมาก ก่อให้เกิดการอุดตันและเกิดสิวได้ง่าย การปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านตอนเช้า จึงเป็นตัวช่วยที่ดี โดยแนะนำที่มี SPF 15-50 ตามแสงแดดที่เราต้องเจอ ล้างหน้าให้สะอาด โดยอาจเลือกใช้ Cleanser ที่อ่อนโยนต่อทุกสภาพผิว รวมถึงผิวแพ้ง่าย ไม่ระคายเคือง ปราศจากสบู่และน้ำหอม ซึ่ง 1 ในนั้นมีผลิตภัณฑ์ นิวทรัลแคร์ (Neutral care) โดยใช้ผลิตภัณฑ์นี้เช็คคราบเครื่องสำอางค์ก่อนจากนั้นสามารถใช้เป็นโฟมล้างหน้าต่อได้ในตัวเดียวกัน ใช้เป็นประจำทุกวันเช้าเย็น เพื่อขจัดเศษฝุ่นมลพิษที่ติดค้างในผิว รูขุมขนตามที่ต่างๆให้มากที่สุด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว ผิวอักเสบและผดผื่นได้ ทา Moisturizer หรือครีมบำรุงผิวเพิ่มความชุ่มชื้นที่ผสมสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น Vitamin C (วิตามินซี), Vitamin E (วิตามินอี), Astaxanthin (แอสต้าแซนติน), Coenzyme Q10 (โคเอนไซม์คิวเท็น), Ceramide (เซลาไมด์) เพื่อควบคุมความมันและการอุดตันของผิว รับประทานอาหารเสริมปกป้องผิวจากแสงแดด มลภาวะ และลดการอักเสบให้ผิว ฝุ่นละออง PM2.5 เป็นมลพิษต่ออากาศและร่างกาย ควรป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ คือ หน้ากาก N95 ส่วนหน้ากากประเภทอื่นนั้น ช่วยป้องกันได้เพียงส่วนหนึ่ง และควรใส่ให้ถูกวิธี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน รวมถึงการทำความสะอาดผิวอย่างถูกต้องโดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพผิวหน้าอ่อนโยนไม่ระคายเคืองผิวล้างออกได้ง่าย และควรเช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางค์ก่อนล้างหน้า, มีการทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันป้องกัน UVA, UVB, Visible Light และ Infrared เพื่อช่วยลดการเกิดริ้วรอย ฝ้า จุดด่างดำรวมถึงมะเร็งผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นได้นอกจากนี้ควรใช้ครีมบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer)อย่างต่อเนื่อง แต่วิธีที่ดีสุด คือ การแก้ที่ต้นเหตุ ดังนั้น มาร่วมด้วยช่วยกันคืนอากาศบริสุทธิ์ โดยการเดินทางโดยรถสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ที่ก่อให้เกิดมลพิษจากท่อไอเสีย ลดการเผาไหม้ตามที่ต่างๆ เช่น เผาป่า เผาภูเขา เผาขยะ รวมถึงควันบุหรี่ด้วยเพื่อควบคุมเจ้าฝุ่นร้าย PM2.5 ไม่ให้เกินมาตรฐานกันเถอะ  

ทำไมเด็กต้องทาน Zinc ทานแล้วได้อะไร ?

ซิงค์

“Zinc (ซิงค์) หรือ สังกะสี” เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วน ทั้งการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน และผิวหนัง มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของ พืช สัตว์และมนุษย์  ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง Zinc (ซิงค์) ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่มี Zinc (ซิงค์) เป็นส่วนประกอบโดยเฉลี่ยในปริมาณ 15 mg ต่อวัน แหล่งอาหารที่มีปริมาณ Zinc (ซิงค์) สูง ได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม เมล็ดทานตะวัน เห็ด เนื้อหมู ไข่ ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ปลา จมูกข้าวสาลี แป้งงา เมล็ดฝักทอง ธัญพืช เครื่องเทศ ผักโขม เป็นต้น การเสริม Zinc (ซิงค์) ในเด็ก อายุมากกว่า 12 เดือน จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อได้ โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะท้องเสีย Zinc (ซิงค์) ช่วยลดความรุนแรงของโรคและทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว Zinc (ซิงค์) สำคัญอย่างไรกับร่างกาย ? Zinc มีความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต พัฒนาการของเด็กทั้งในด้านพฤติกรรมและความสามารถในการเรียนรู้การทำงานของระบบสืบพันธุ์การผลิตอสุจิการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินและไทรอยด์ การรับรส แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ การกระตุ้นปฏิกิริยาชีวเคมี (Catalytic reaction function) zinc มีส่วนช่วยในการทำงานของเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีบทบาทในขบวนการเมตาบอลิสมของโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก โครงสร้างของโปรตีน (Structural protein function) zinc มีส่วนช่วยให้โปรตีนจัดโครงสร้างเป็นรูป 3 มิติโดยจับกับกรดอะมิโนเช่น ซีสเตอิน (cysteine) หรือ ฮีสติดีน (histidine) เรียกว่า “zinc finger” หรือ“zinc motif” สามาร5ช่วยให้โปรตีนจับกับสารพันธุกรรมเพื่อกระตุ้นกระบวนการแสดงออกทางพันธุกรรมต่างๆ การควบคุมการทำงาน (Regulatory function) ควบคุมการแสดงออกของสารพันธุกรรมโดยตรงผ่านบริเวณที่เรียกว่า metal response element (MRE) บน DNA ทำให้สามารถจับปรับการสร้างโปรตีนขนถ่ายธาตุ zinc (Zinc transporter) โดยเฉพาะ metallothionein ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมการดูดซึม zinc บริเวณลำไส้เล็ก นอกจากนี้แร่สังกะสีนี้ยังมีความจำเป็นต่อการทำงานของเอนไซม์กว่า 300 ชนิด ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการเผาผลาญ การย่อยอาหาร การทำงานของระบบประสาท ตลอดไปจนถึง การพัฒนาและการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซิงค์จึงจัดได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากเป็นอันดับ 2 รองจากธาตุเหล็ก จะเกิดอะไรหากร่างกายไม่ได้รับซิงค์ในปริมาณที่เหมาะสม? กรณีที่ได้รับซิงก์มากเกินไป– มากเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน: ส่งผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด– มากเกินกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน: เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ เกร็งบริเวณกล้ามเนื้อท้อง และเกิดอาการผิดปกติ ในระบบทางเดินอาหาร– มากเกินกว่า 1.5 เท่าของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน: หากเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน สังกะสีจะเข้าไปลดการดูดซึมทองแดงและธาตุเหล็ก ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง กรณีที่ได้รับซิงก์น้อยเกินไป ร่างกายจะแสดงออกมาด้วยอาการทางผิวหนัง – ขนตามร่างกายร่วง ผิวหนังเป็นรอยเขียวฟกช้ำได้ง่าย– แผลเรื้อรังไม่ยอมหายสักที มีการอักเสบระคายเคืองที่ผิวหนัง– ผิวแห้งลอกไม่มีความชุ่มชื้น ผิวหยาบกร้าน โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อพับ– ประสาทการรับรสเริ่มด้อยประสิทธิภาพ– แผลหายช้า– สำหรับหญิงที่ให้นมบุตร การขาดธาตุสังกะสีจะส่งผลไปถึงการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกน้อย การขาดซิงค์ในเด็กอย่างรุนแรงจะทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกายบกพร่อง รวมถึงพัฒนาการทางเพศล่าช้า ผื่นผิวหนัง ท้องร่วงเรื้อรัง แผลหายช้า และพบปัญหาทางพฤติกรรม การเสริมซิงค์ไม่ได้แค่ป้องกันโรคใดโรคหนึ่ง แต่ประโยชน์ของซิงค์นั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะในช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ลดความรุนแรง ระยะเวลาการเป็นหวัด ลดการอักเสบที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของอาการท้องเสียในเด็กได้ การทานซิงค์ในปริมาณที่เพียงพอ อาจช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

ช่องคลอดแห้ง คัน ระคายเคือง ใช้อะไรรักษาดี ?

ช่องคลอดแห้ง คัน

ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) หรือภาวะช่องคลอดและปากช่องคลอดแห้ง (Vulvovaginal atrophy-VVA) เกิดขึ้นเมื่อเมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดน้อยลง ส่งผลให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น จนอาจทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ สาเหตุหลักมาจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) บริเวณเนื้อเยื่อช่องคลอดลดลงเนื่องจากเข้าสู่ภาวะวัยทอง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกวัยที่อยู่ในภาวะขาดเอสโตรเจน  วัยทอง คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วันหมดประจำเดือน โดยทั่วไปจะวินิจฉัยเมื่อประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 12 เดือน ทั่วไปอายุเฉลี่ยของการหมดประจำเดือนอยู่ที่ 52 ปี วัยทองเป็นช่วงเวลาที่การทำงานของรังไข่ลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดต่ำลง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (labia) และช่องคลอด (vagina) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ท่อปัสสาวะ (urethra) และกระเพาะปัสสาวะ (bladder) อาการของภาวะช่องคลอดแห้ง ผู้มีภาวะช่องคลอดแห้งอาจเกิดอาการตลอดเวลา หรือบางรายอาจมีอาการเป็นระยะหรือเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น โดยอาการที่พบคือ  ระคายเคืองคันรวมถึงแสบร้อนบริเวณช่องคลอด  แสบขัดขณะปัสสาวะอาจมีปัสสาวะบ่อยปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่  เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์  ความต้องการทางเพศลดลงหรือถึงจุดสุดยอดได้ยากขึ้น ในผู้หญิงบางราย ช่องคลอดอักเสบมีปัญหาตกขาวบ่อยมีกลิ่นเหม็นเป็นๆหายๆเนื่องจากพอเข้าวัยทองจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงทำให้ผนังบาง ความยืดหยุ่นลดลง ภาวะความเป็นกรดลดลง กลายเป็นสภาวะด่างมากขึ้น ร่วมกับเซลล์ที่ผนังช่องคลอดลอก ทำให้ช่องคลอดมีความเป็นด่างมากขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่แบคทีเรียชนิดดี lactobacilli ที่คอยปกป้องช่องคลอดนั้นอยู่ไม่ได้  ทำให้มีการเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคต่างๆ ทำให้ช่องคลอดติดเชื้อได้ง่ายและบ่อยมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นหากช่องคลอดแห้ง แม้ช่องคลอดแห้งมักไม่ค่อยพบอาการแทรกซ้อนร้ายแรง แต่เนื่องจากขาดเมือกหล่อลื่น ทำให้ผนังช่องคลอดระคายเคืองและเกิดแผลบ่อย จึงทำให้มีความเสี่ยงติดแบคทีเรียหรือเชื้อราในบริเวณช่องคลอดง่ายขึ้น รวมถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอีกด้วย นอกจากนี้ภาวะช่องคลอดแห้งทำให้รู้สึกเจ็บแสบเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จนอาจกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง และต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ สาเหตุของภาวะช่องคลอดแห้ง ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลงตามวัย ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจากผลข้างเคียงของยา เช่น ยารักษาโรคความดันเลือดสูง ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคภูมิแพ้ รวมถึงเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง การฉีดยาเพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอกมดลูกก่อนการผ่าตัด อาจส่งผลให้ช่องคลอดแห้งได้ ภาวะช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ความต้องการทางเพศต่ำหรือมีปัญหาทางเพศอื่นๆ อาจส่งผลให้ทำเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง ในทางกลับกัน ภาวะช่องคลอดแห้งก็อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลงได้เช่นกัน อาการระคายเคืองช่องคลอดเนื่องจากแพ้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น รวมถึงแพ้ผ้าอนามัย และกางเกงใน การสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ ทำให้ช่องคลอดเสียความเป็นกรดและแห้ง เกิดผื่นผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหรือลดปัญหาช่องคลอดแห้ง  รับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยเฉพาะถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ใช้เจลหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ เลี่ยงการใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดช่องคลอด ควรล้างช่องคลอดให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดา ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ไม่สวนล้างช่องคลอด  ดูแลความสะอาดของกางเกงใน หากใช้แผ่นอนามัยควรเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่ปล่อยให้หมักหมมหรืออับชื้น หากพบผื่นหรือสิ่งผิดปกติบริเวณช่องคลอดควรปรึกษาแพทย์ อย่าอายหรือปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรัง การเพิ่มกิจกรรมทางเพศด้วยความรักและภาษากาย กระตุ้นให้มีน้ำหล่อลื่นออกมาให้ช่องคลอดชุ่มชื้นขึ้น ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดปัญหาได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารโนน็อกซินอล 9 (Nonoxynol-9) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะช่องคลอดแห้ง ใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน เหมาะสำหรับผู้มีภาวะวัยทอง ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทาในช่องคลอด ซึ่งพบว่าได้ผลดีทั้งชนิดเม็ด ครีม รวมถึงยาสำหรับสอดช่องคลอด ทั้งนี้การใช้ยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากการใช้ยาจะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือดเพิ่มด้วย ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) ช่วยปกป้องและเคลือบผนังช่องคลอดให้ชุ่มชื้น ซึ่งมีทั้งแบบเป็นน้ำ เจล หรือเม็ดสอดช่องคลอด เนื่องจากไม่มีฮอร์โมนจึงไม่มีผลต่อร่างกาย จึงสามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน และบางผลิตภัณฑ์จะมีอาหารเลี้ยงเชื้อของแบคทีเรียชนิดดี lactobacilli ทำให้ตกขาวลดลงและลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์  ใช้เจลหล่อลื่น (Lubricant) สำหรับผู้มีปัญหาเฉพาะกรณีเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยทาบริเวณช่องคลอด หรืออวัยวะเพศชาย โดยใช้ชั่วคราวก่อนมีเพศสัมพันธ์ การให้วิตามินกับอาหารเสริม ยังไม่มีการศึกษาพิสูจน์ชัดเจนถึงการใช้ วิตามิน E และวิตามิน D ว่าได้ผลในการรักษาภาวะช่องคลอดแห้ง การใช้เลเซอร์ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ในการใช้เลเซอร์ในการรักษาแบบฟื้นฟู โดยเครื่องจะปล่อยแสงเลเซอร์ออกมาแบบ 360 องศา ไปกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสท์ ช่วยทำให้ผลิตและจัดเรียงเส้นใยคอลลาเจนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เซลล์ช่องคลอดผลิตสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้นตามมา ซึ่งสามารถทำเลเซอร์ได้โดยไม่เจ็บ ไม่ต้องดมยาสลบ และใช้เวลาไม่นาน หลังทำสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทอง นอกจากปัญหาทางใจทางอารมณ์ที่ส่งผลให้ผู้หญิงหลายคนหงุดหงิดหรือเก็บกด ซึมเศร้าแล้ว วัยทองยังมีผลกับร่างกายหลายอย่าง ภาวะช่องคลอดแห้งและปากช่องคลอดแห้ง อาจดูเหมือนผิวแห้ง แต่ก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่กวนใจคนวัยทองอย่างมาก และยังส่งผลต่อหลายระบบ เนื่องจากผนังช่องคลอดรองรับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะด้วย จึงทำให้มีอาการทั้งแห้ง ระคายเคือง แสบร้อน ปัสสาวะขัด และรวมถึงกิจกรรมกับสามี การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงด้วยความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะเกี่ยวกับวัยทอง โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรค ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือกมากมายสำหรับผู้ป่วย ทั้งแบบใช้ยาหรือไม่ใช่ยาในการการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละคน หรือหากผู้ป่วยมีการตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงตรวจภายในจะช่วยลดผลกระทบทั้งของตัวเองและชีวิตคู่ได้เป็นอย่างดี สำหรับอาการภาวะช่องคลอดแห้งนั่นเอง ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ช่องคลอดแห้งhttps://www.phyathai.com/article_detail/2457/th/ยังไม่ใช่วัยทอง_แต่ทำไมน้องสาวแห้ง

เคล็ด(ไม่)ลับ แก้ไอ แก้เจ็บคอด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ

แก้ไอ อาการไอ

อาการ เจ็บคอ คือการรู้สึกระคายเคืองในลำคอ เพราะมี “การอักเสบของเนื้อเยื่อลำคอ” เช่น ผนังช่องคอ ต่อมทอนซิล หรือ กล่องเสียง โดยอาการจะเป็นมากขึ้น เวลากลืน ส่วนใหญ่การอักเสบนี้ มักเกิดจาก… การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ บ่อยครั้งอาจเกิดจากการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาการเจ็บคอเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และพบได้บ่อยใน เด็ก วัยรุ่น และคนวัยหนุ่มสาว ส่วนในเพศชายและเพศหญิงมีอัตราการเกิดใกล้เคียงกัน และสามารถเกิดอาการเจ็บคอได้ตลอดทั้งปี สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการเจ็บคอที่หลายคนมักเข้าใจผิด คือ อาการดังกล่าวไม่จำเป็นเกิดขึ้นจากการเป็นหวัดเสมอไป เพราะอาการเจ็บจอสามารถเกิดได้ทั้งการติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อได้เช่นกัน ซึ่งมีการแบ่งสาเหตุของการอาการเจ็บคอแบ่งเป็นสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ คือ 1.สาเหตุของอาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ อาการเจ็บคอสามารถเกิดได้จากการ”ติดเชื้อไวรัส” เช่น ไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคคออักเสบ โรคกล่องเสียงอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบเป็นต้น และจะมีอาการแดงที่ช่องคอเล็กน้อย ทำให้เกิดอาการอักเสบและเจ็บคอ นอกจากนี้มีไข้ มีน้ำมูกใส คัดจมูกบ้าง ทั้งนี้อาการเจ็บคอที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสจะสามารถหายเองได้ภายใน 3-7 วัน ไม่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ โดยโรคคออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอที่พบได้บ่อยที่สุด อาการเจ็บคอที่เกิดจากการ”ติดเชื้อแบคทีเรีย” เช่น โรคต่อมทอนซิลอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ โรคคอตีบส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บคอ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล บริเวณผนังลำคอด้านหลัง ลิ้นไก่ จะมีอาการอักเสบบวมแดงจนทำให้รู้สึกเจ็บคอมากกว่า 2.สาเหตุของอาการเจ็บคอที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เกิดจากการพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไปกระตุ้น ให้เกิดอาการเจ็บคอขึ้น หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การใช้เสียงที่ติดต่อกันนานๆ หรือการตะโกน จนทำให้เกิดการอักเสบและนำไปสู่การเจ็บคอ นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคกรดไหลย้อน ทำให้เยื่อบุช่องคอเกิดการอักเสบ มีอาการเจ็บคอเป็นๆ หายๆ ได้ อาการไอคืออะไร? “อาการไอ” เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค อาการไอ..เริ่มจากการที่มีสิ่งกระตุ้นการไอหรือมีสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้ระคายเคืองในบริเวณระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โพรงจมูก กล่องเสียง หลอดลม หรือปอด ขณะที่ในอากาศมีสารก่อความระคายเคืองที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจปะปนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควัน มลภาวะในอากาศ ขนสัตว์ การสูบบุหรี่ ละอองเกสร ร่างกายจึงมีวิธีกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไปเพื่อลดอันตรายของทางเดินหายใจลง โดยปกติระบบทางเดินหายใจจะมีเยื่อเมือกที่ผลิตของเหลวขึ้นมาช่วยเพิ่มความชุ่มให้กับทางเดินหายใจ แต่เมื่อเกิดการติดเชื้อร่างกายจะสร้างของเหลวมากขึ้นจนกลายเป็นเสมหะ เพื่อช่วยดักจับเชื้อโรคหรือสิ่งระคายเคืองออกไป โดยการไอจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเสมหะในทางเดินหายใจและปอดออกมานั่นเอง จึงทำให้บางคนมีอาการไอมีเสมหะร่วมด้วย อาการไอแบ่งออกได้ 2 แบบ 1.ไอแห้ง จะมีอาการคัน ระคายเคืองภายในลำคอ และไม่มีสารคัดหลั่งอื่นๆหรือเสมหะออกมาก 2.ไอมีเสมหะ จะมีของเหลงหรือเมือกเหนียวออกมา โดยของเหลวนี้จะเรียกว่า เสมหะ  ซึ่งร่างกายสร้างขึ้นเพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่ติดค้างภายในลำคอ      แต่ไม่ว่าจะเป็นการไอในลักษณะใด เมื่อเริ่มมีอาการไอ มักจะมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย เป็นอาการเจ็บหรือรู้สึกระคายเคืองในลำคอ เพราะมีการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณลำคอ เช่น ต่อมทอนซิล เพดานอ่อน กล่องเสียง หรือโคนลิ้น เป็นต้น ส่งผลทำให้ยากต่อการกลืนน้ำหรืออาหารเพราะจะทำให้รู้สึกเจ็บ โดยทั่วไปอาการไอและเจ็บคอสามารถหายได้เองไม่เกิน 3 สัปดาห์ ถ้าหากอาการไอรบกวนการใช้ชีวิต มีวิธีที่จะช่วยรักษาและบรรเทาอาการไอ และอาการเจ็บคอได้ ดังนี้ 1.ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ : อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุลำคอที่กำลังอักเสบ และยังช่วยลดอาการเจ็บคอและระคายคอ นอกจากนี้ความร้อนจากน้ำอุ่นยังช่วยละลายเสมหะได้ด้วย การจิบน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและมะนาวทำให้รู้สึกชุ่มคอและบรรเทาอาการระคายคอ 2.เพิ่มความชื้นในอากาศ : การนอนห้องแอร์หรืออยู่ในห้องแอร์ทั้งวัน ยิ่งทำให้มีอาการไอกำเริบมากขึ้น เนื่องจากภายในห้องมีความชื้นต่ำ อากาศแห้งสูง จึงกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดลมจึงเกิดอาการไอมากขึ้น ดังนั้นควรรักษาระดับความชื้นภายในห้องอย่างเหมาะสม เลือกใช้เครื่องทำความชื้น ก็จะสามารถช่วยให้ระบบทางเดินหายใจชุ่มชื้นขึ้นได้ 3.หลีกเลี่ยงไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองเยอะ : หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัด มีฝุ่นละอองหรือมลพิษต่างๆ เพราะในสถานที่เหล่านี้มีสารที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองทางจมูกและลำคอ เมื่อสูดดมฝุ่น ควันเข้าไปจึงทำให้เกิดการระคายเคืองขึ้นไป ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้ จะสามารถช่วยลด และป้องกันไม่ให้หายใจเอาฝุ่น ควัน เข้าไปในร่างกาย 4.งดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ : การสูบบุหรี่นอกจากจะทำให้เกิดการระคายคอ เจ็บคอ ยังก่อโรคอื่นๆ อีกมากมาย และไม่ควรอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ 5.ยาบรรเทาอาการไอ ระคายคอ เจ็บคอ : การรักษาอาการไอ ระคายคอ เจ็บคอนั้น มีทั้งยาแก้ไอที่ได้จากสารเคมี ที่มีตัวยาเพื่อประสิทธิภาพการรักษาอาการไอ เช่น ออกฤกธิ์กดอาการไอ แต่มีข้อเสียซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงในการใช้ยาได้อย่างอาการง่วงนอนได้ และยาแก้ไอที่ได้จากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการไอ ระคายคอได้ดีไม่แพ้กัน วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ มีหลากหลายชนิด เช่น  กระชายขาว, มะขามป้อม, ชะเอมเทศ  เป็นต้น โดยมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสในลำคอ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอทำให้รู้สึกชุ่มคอเพิ่มขึ้นด้วย ชะเอมเทศมีฤทธิ์ต้านการระคายเคือง ขับเสมหะ และช่วยลดความถี่ในการไอได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากชะเอมเทศนั้นสามารถช่วยลดอาการอักเสบของเยื่อเมือกบริเวณหลอดลม ลดการระคายเคือง และมีฤทธิ์ระงับอาการไอทั้งแบบเฉพาะที่และแบบที่ไปกดที่ศูนย์ควบคุมการไอ และมีการศึกษาพบว่าชะเอมเทศยังสามารถช่วยลดอาการเจ็บคอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ แก้อาการคอแห้งและช่วยขับเสมหะได้อีกด้วย กระชายขาวสารสำคัญในกระชายขาวมีชื่อว่า Panduratin A (แพนดูลาตินเอ) สามารถที่จะช่วยยับยั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ รวมถึงยังสามารถช่วยลดอาการเหงือกอักเสบ หรือมีเเผลในช่องปากได้ มะขามป้อมมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการไอ ระงับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อช่วยบรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ ช่วยทำให้ชุ่มคอ และสามรถช่วยต้านการอักเสบได้อีกด้วย  แม้จะมีรู้วิธีรักษาอาการไอ และเจ็บคอ รวมไปถึงสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาในเบื้องต้นแล้ว ก็อย่าลืมว่าหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี คือ การใส่ใจสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ควบคู่กับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD/https://medthai.com/%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%87%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%ad/– ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ยาและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เล่ม 2. 2536– สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. บัญชียาจากสมุนไพร ใน บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2555. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

ไม่ดื่มเหล้า ก็ตับแข็งได้ รู้ยัง ?

ไม่ดื่มเหล้าก็ตับแข็งได้

ถ้าพูดถึง ตับแข็ง หลายคนคงจะเข้าใจว่าเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป แต่จริงๆแล้วมีอีกหลายสาเหตุมากที่สามารถทำให้เกิดตับแข็งได้ ไม่ว่าจะเป็นไขมันสะสมในตับ หรือระบบภูมิคุ้มกันไม่ปกติ โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ได้รับความเสียหายมากเกินไป ก็จะกลายเป็นเหมือนแผลเป็นที่เป็นพังผืดถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตับ เป็นอวัยวะในร่างกายทำหน้าที่กรองและกำจัดสารพิษ เชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้นยังสร้างน้ำดี และมีส่วนสำคัญให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ แต่ถ้ามีสาเหตุที่ทำลายตับ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ดีของตับถูกทำลายเกิดแผลเป็น เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นซ้ำๆ จะมีพังผืดขึ้นมาแทนที่เนื้อตับจึงสูญเสียความยืดหยุ่นและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ภาวะตับแข็ง ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โรคตับแข็ง หรือ Liver cirrhosis เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของตับ โดยเนื้อตับจะถูกทำลาย และไปดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับสูญเสียการทำงานลงไป เพราะเลือดจะมีเลี้ยงเนื้อตับน้อยลง นอกจากนี้ ภาวะตับแข็งยังอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้ความดันในเส้นเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกง่าย ม้ามโต ขาบวม มีน้ำในช่องท้อง มีการเปลี่ยนแปลงตามผิวหนังคือมีจุดเล็กๆ แดงๆ เกิดขึ้น มีเส้นเลือดผิดปกติเกิดขึ้นในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งถ้าเส้นเลือดเหล่านี้แตกก็อาจทำให้ถ่ายอุจจาระปนเลือดได้ หากปล่อยไว้นานก็จะกลายเป็นตับแข็งระยะสุดท้าย และพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้เช่นกัน สาเหตุที่เกิดตับแข็ง นอกจากการดื่มเหล้า 1.การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือไวรัสตับอักเสบซี จนทำให้ตับอักเสบเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะกลายเป็น โรคตับแข็ง ในที่สุด โดยไวรัสตับอักเสบบีและซีนั้น เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันทางเลือดและเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเป็นพาหะนั้นมักจะเกิดโดยไม่รู้ตัว2.เกิดจากโรคที่ภูมิคุ้มกันมีการทำลายเนื้อตับ3.เกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคอ้วน, ไขมันในเลือดสูง4.การรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน ยารักษาวัณโรคบางชนิด5.โรคทางพันธุกรรมบางโรคทำให้เกิด ตับแข็ง เช่น ทาลัสซีเมีย,hemochromatosis, Wilson’s disease, galactosemia6.ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ทำให้เส้นเลือดคั่งที่ตับ เลือดไหลเวียนในตับน้อยลง เนื้อตับขาดภาวะออกซิเจนจนตายลง7.พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในเลือดอาจทำให้เกิดตับแข็ง ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะปรากฏอาการเริ่มแรกในช่วงอายุระหว่าง 40 – 60 ปี แต่ถ้าพบในคนอายุน้อย มักมีสาเหตุจากตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอาการค่อนข้างรุนแรง 6 เคล็บลับ ช่วยถนอมตับให้แข็งแรง 1.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคตับ เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน ตับอักเสบเรื้อรังและโรคตับแข็ง เพราะแอลกอฮอล์จะเข้าไปทำร้ายเซลล์ของตับ กระตุ้นให้มีไขมันสะสมในตับ จนเกิดการอักเสบ และเกิดพังผืดส่งผลให้เกิดตับแข็ง การทำงานของตับลดลง ตับวาย และนำไปสู่มะเร็งตับ2.งดการสูบบุหรี่บุหรี่ไม่ได้ทำลายเพียงแค่ปอด แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อตับอีกด้วย ในผู้ที่สูบบุหรี่ประจำทุกวัน ตับต้องทำงานหนักเพื่อกรองสารพิษอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตับอ่อนแอและเกิดปัญหาตามมาได้ง่าย3.ไม่รับประทานยาเกินความจำเป็นเนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการกำจัดยาออกจากร่างกาย ซึ่งหากร่างกายได้รับยาบางชนิดในปริมาณสูง หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ตับก็จะไม่สามารถทำลายได้ทัน เหลือเป็นส่วนเกินและมีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับจนกลายเป็นภาวะตับวายได้4.ควบคุมน้ำหนักตัวการมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานนั้นไม่ได้ส่งผลต่อรูปร่างเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลเสียต่อตับด้วย เพราะถ้ามีไขมันในร่างกายมากเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไขมันพอกตับได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน แป้ง และน้ำตาล ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไป5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอการนอนหลับให้เพียงพอและเป็นเวลา จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้เลือดไปซ่อมแซมและบำรุงตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีผลการศึกษา พบว่าผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อภาวะไขมันเกาะตับ (Non Alcoholic Fatty Live Disease; NAFLD) ถึง 1.2 เท่า6.เสริมด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงตับสารอาหารบำรุงตับ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญในการปกป้องตับให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ ช่วยขับสารพิษและบำรุงตับ สารอาหารที่เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการดูแลตับ อย่างเช่น– แอล-กลูตาไธโอน (L-glutathione) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญยังช่วยตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกายด้วย– โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate) ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ตกค้างภายในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของตับ ถ้าขาดโคลีน จะทำให้ตับไม่สามารถกำจัดไขมันออกได้ ผลคือจะเกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งสามารถจะนำไปสู่ภาวะเซลล์ของตับเสื่อม ตับแข็ง และมะเร็งตับได้– แดนดิไลออน (Dandelion) ช่วยชะล้างสารพิษให้ตับและไตสามารถขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้น เป็นแหล่งวิตามินธรรมชาติ ช่วยบำรุงสายตาและมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง รักษาอาการดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเข้ม บำรุงตับ ทำให้ตับทำงานได้อย่างปกติ– พริกไทยดำ (Black Pepper) ช่วยกำจัดเซลล์ไขมันที่อยู่ในร่างกาย โดยทำให้เซลล์ไขมันเก่า ที่สะสมอยู่ในร่างกายตาย พร้อมกับ ควบคุมการเกิดขึ้นใหม่ของเซลล์ไขมัน และยังช่วยให้ตับสามารถทำลายสารพิษได้มากขึ้น นอกจากการทานอาหารหรือผักผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อตับแล้ว การมีตัวช่วยล้างสารพิษที่สะสมอยู่ในตับเพื่อฟื้นฟูเซลล์ตับและเสริมประสิทธิภาพของตับในการกำจัดสารพิษก็เป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะ “ตับ” เป็นอวัยวะที่มีเพียงชิ้นเดียวในร่างกาย และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ดูแล บำรุง และป้องกันให้ดีก่อนตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.sikarin.com/health/liver-cirrhosishttps://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2015/cirrhosis-treatment-best-jci-hospital-bangkok-thailand

ท้องเสียบ่อย เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

ท้องเสีย

โรคท้องเสีย (diarrhea) นับเป็นเป็นโรคที่พบบ่อย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อและชนิดของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน หรือการประกอบกิจวัตรประจำวัน หากร่างกายยิ่งมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ “ท้องเสีย” คืออะไร ? หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง (หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากอย่างน้อย 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง) หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หากท้องเสียมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ เรียกว่าท้องเสียแบบเฉียบพลัน แต่หากนานกว่านั้นจะเรียกว่า ท้องเสียแบบเรื้อรัง ท้องเสีย แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามระยะเวลาที่เกิดโรค 1. ท้องเสียเฉียบพลัน (acute diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียน้อยกว่า 14 วัน เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือโปรโตซัว หรืออาจเกิดจากอาหารเป็นพิษเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน preformed toxin ของเชื้อแบคทีเรีย 2. ท้องเสียต่อเนื่อง (persistent diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียตั้งแต่ 14 ถึง 30 วัน สาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อโปรโตซัว รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย และยังอาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวนหลังการติดเชื้อ (post-infection irritable bowel syndrome) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease, IBD) 3. ท้องเสียเรื้อรัง (chronic diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียมากกว่า 30 วัน อาจเกิดได้จากการติดเชื้อ หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น ความบกพร่องของระบบทางเดินอาหาร เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ควรส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษา สาเหตุของท้องเสียเฉียบพลัน 1.การติดเชื้อไวรัส เช่น norovirus (พบได้ในผู้ป่วยทุกวัย มีอาการ ไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ) , rotavirus (พบบ่อยใยเด็ก ร้อยละ 90 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี)2.การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Vibrio cholera, Escherichia coli, Shigella spp., Salmonella spp., Campylobacter jejuni3.การติดเชื้อโปรโตซัว เช่น Giardia intestinalis และ Cryptosporidium parvum4.ยาหรือสมุนไพรบางชนิด เช่น ยาระบาย ยาสะเทินกรดที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม ยาปฏิชีวนะบางชนิด metformin และ colchicine5.การระคายเคืองหรือการกระตุ้นจากอาหารบางชนิด เช่น อาหารรสจัด หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร6.เกิดจากการรับประทานสารพิษ (toxin) ที่เจือปนอยู่ในอาหาร โดยเฉพาะ preformed toxin จากเชื้อแบคทีเรีย7.อาหารเป็นพิษ (food poisoning) จากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน preformed toxin จากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium perfringens, Staphylococcus aureus หรือ Bacillus cereus อาจมีอาการปวดเกร็งช่องท้อง (abdominal pain) ร่วมด้วยได้ โดยทั่วไปอาการมักเกิดภายใน 2-7 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน อาการมักไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองใน 48-72 ชั่วโมง 1. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเด่น ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษดังได้กล่าวข้างต้น จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ การรักษาหลัก คือ การให้สารน้ำทดแทนทางปาก (oral rehydration therapy, ORT) และพิจารณาให้ยารักษาตามอาการร่วมด้วยได้ เช่น ยาต้านอาการอาเจียน ยาบรรเทาอาการท้องเสีย และยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง 2. ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงเด่นโดยมีลักษณะอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ จะให้การรักษา ดังนี้ – ผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงน้อย สามารถหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ การรักษาหลัก คือ การให้สารน้ำทดแทนทางปาก และพิจารณาให้ยารักษาตามอาการร่วมด้วยได้ เช่น ยาบรรเทาอาการท้องเสีย ได้แก่ diosmectite และยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง ได้แก่ hyoscin– ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง ควรพิจารณาถึงประวัติเดินทางหรือท่องเที่ยว หากอาการท้องเสียสัมพันธ์กับช่วงที่เดินทาง ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยสารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อที่คาดว่าเป็นสาเหตุ (รายละเอียดในหัวข้อโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการเดินทาง) และอาจพิจารณาให้ loperamide ร่วมด้วยเพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว หากไม่มีประวัติท่องเที่ยว ควรพิจารณาถึงอาการไข้ของผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ หรือไข้ต่ำ (น้อยกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) โดยทั่วไปสามารถหายได้เอง จึงไม่จาเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ และให้การรักษาด้วยการให้สารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับพิจารณาให้ยารักษาตามอาการ ส่วนผู้ป่วยที่มีไข้สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 38.5 องศาเซลเซียส) หากมีอาการไม่เกิน 72 ชั่วโมง อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการให้สารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยารักษาตามอาการ และติดตามผลการรักษา ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการนานเกิน 72 ชั่วโมง ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นนี้อาจดำเนินไปเป็นอาการอุจจาระร่วงที่เป็นมูกหรือปนเลือดได้ เนื่องจากอาจเกิดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ตามมา จึงควรส่งตัวไปยังสถานพยาบาลเพื่อทำการตรวจเชื้อสาเหตุและให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมกรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย 3. ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงเด่นโดยมีลักษณะอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด ซึ่งบ่งชี้การอักเสบ และมีการทำลายเยื่อบุที่ลำไส้ ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินอาการอื่นๆ ที่แสดงถึงภาวะอักเสบ โดยเฉพาะอาการไข้ หากผู้ป่วยไม่มีไข้หรือมีเพียงไข้ต่ำๆ ควรส่งต่อไปยังสถานพยาบาลทันทีเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด โดยเฉพาะการตรวจหาสารพิษ STEC เนื่องจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ STEC หากได้รับยาปฏิชีวนะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด HUS ดังได้กล่าวในตอนต้น ส่วนผู้ป่วยที่มีไข้สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 38.5 องศาเซลเซียส) ควรซักประวัติเรื่องการเดินทางหรือท่องเที่ยว และอาจพิจารณาการให้ยาปฏิชีวนะ – กรณีไม่มีประวัติเดินทางในช่วงที่เกิดอุจจาระร่วง เชื้อที่คาดว่าก่อโรคและเป็นเป้าหมายในการรักษา ได้แก่ Shigella spp. ยาปฏิชีวนะที่แนะนา คือ ยากลุ่ม fluoroquinolones (FQ) โดยแนะนาให้ใช้ norfloxacin เป็นยาเลือกอันดับแรก เนื่องจาก FQ ชนิดอื่น ควรเก็บสำรองไว้ใช้ในโรคติดเชื้ออื่นที่รักษาได้ยาก เช่น วัณโรคดื้อยา– กรณีมีประวัติเดินทางในช่วงที่เกิดอุจจาระร่วง ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยสารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อที่คาดว่าเป็นสาเหตุ และอาจพิจารณาให้ loperamide ร่วมด้วยเพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามหากมีอาการท้องเสียนานเกิน 3 วัน มีไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส มีอาการขาดน้ำ ถ่ายมีเลือดปนร่วมกับอาการปวดท้องเกร็ง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น เช่น ตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อ, ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุ, การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษา ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.phuketinternationalhospital.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-diarrhea/https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2

Check list ยาประจำทริป ที่ต้องพกตอนเดินทาง

เวลาเดินทางไปท่องเที่ยว ไม่ว่าจะในประเทศ หรือต่างประเทศ นอกจากจะจัดกระเป๋าเดินทาง เตรียมเอกสารสำคัญ อุปกรณ์ต่างๆแล้ว “ยา” ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมไปให้พร้อม เพราะหากเกิดป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ ระหว่างทางจะได้รักษาได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นยาสามัญ ยาโรคประจำตัว ควรเตรียมไปให้พร้อม เพราะการซื้อยาในต่างประเทศค่อนข้างลำบาก และในบางประเทศยังต้องใช้ใบรับรองแพทย์อีกด้วย  หลายคนคงเริ่มสงสัย แล้วยาอะไรที่ควรนำติดตัวไปบ้าง ที่จะช่วยเซฟตัวเราระหว่างการเดินทาง วันนี้ MacroPhar มีคำตอบมาบอกแล้ว มาเริ่มเช็คลิสต์รายชื่อยาที่เราต้องเตรียมไปกัน ยาประจำทริปควรต้องมียาอะไรบ้าง? 1.ยารักษาโรคประจำตัว หากมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนสิ่งที่ห้ามลืม คือ ยารักษาโรคประจำตัว เพราะการเดินทางไปในที่ต่างถิ่นการรักษาอาจจะเป็นไปได้ยาก อาจจะทำให้เกิดควาอันตรายเมื่อโรคประจำตัวกำเริบ  ** การนำยาไปต่างประเทศบางครั้งอาจจะโดนตรวจสอบ แนะนำให้ใช้ยาที่มีฉลากที่แสดงภาษาอังกฤษประกอบ หรือมีใบรับรองโรคประจำตัวติดไปด้วย และยาจะต้องอยู่ในแพ็คเกจลักษณะที่ถูกต้อง 2.ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การออกทริปเดินทางท่องเที่ยว บางครั้งอาจจะเดินเยอะ นั่งเยอะ หรือแบกของหนัก จนเกิดอาการปวดเมื่อยไปทั้งตัว ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ยานวดเป็นตัวช่วยที่ดี ในการบรรเทา คลายการอักเสบ เป็นสิ่งที่ควรมีติดการเดินทางเอาไว้   แต่ยาแก้ปวดเมื่อย ไม่ควรทายในขณะท้องว่าง เพราะยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์กัดกระเพาะ ควรทานหลังอาหารแล้วดื่มน้ำด้วยทุกครั้ง อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงได้  3.ยาแก้หวัด ลดไข้ ลดน้ำมูก  การเดินทางแต่ละครั้ง อาจจะเจออากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จากร้อนไปหนาว หนาวไปร้อน ทำให้สภาพร่างกายปรับอุณหภูมิตามไม่ทัน เสี่ยงต่อการเป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน และมีน้ำมูกได้ ยาที่ช่วยแก้ปวดหัว รักษาหวัด ยาลดน้ำมูก จึงถือได้ว่า เป็นยามาตรฐานสำหรับเวลาเดินทางไปที่ต่าง ๆ ซึ่งยาที่ควรพกติดตัวเอาไว้ เช่น Paracetamol, Carbocysteine, Cetirizine เป็นต้น 4.ยาแก้ท้องเสีย การเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทำให้มีโอกาสได้ลิ้มลองอาหารที่หลากหลายรูปแบบ อาจทำให้เกิดการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด แน่นท้อง อาเจียน อาหารเป็นพิษ ระหว่างทริปได้ ควรพกยาสำหรับอาการเหล่านี้ติดตัวไว้ เพื่อความมั่นใจหายกังวัลตลอดการเดินทาง 5.ยาแก้เมายานพาหนะ อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ถ้าเกิดเดินทางท่องเที่ยวแล้วเป็นขึ้นมาหมดสนุกลงได้อย่างง่ายๆ หากใครเป็นคนที่เมารถ เมาเรือง่ายแต่เป็นสายท่องเที่ยว ก็อย่าลืมพกยาแก้เมายานพาหนะติดตัวไว้ เพื่อคลายบรรเทา ให้เดินทางอย่างสนุกตลอดทริปกันด้วยนะ ทริคพกยาไปต่างประเทศ แบบไม่กังวลใจ 1.ยาที่อนุญาตให้พกติดตัวไปได้ จะต้องนำยาที่อยู่ในแพ็คเกจลักษณะที่ถูกต้องไป  ไม่แกะแยกออกเป็นแผง หรือแยกเป็นเม็ด เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและอธิบายให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของแต่ละประเทศให้เข้าใจว่านั่นคือยารักษาโรคประจำตัว หากแกะแยกออกเป็นแผง หรือแยกเป็นเม็ดแล้ว ผู้ตรวจอาจไม่ทราบว่ายาชนิดนั้นคืออะไร อาจทำให้ไม่สามารถนำเข้าไปได้ 2.ยาที่ถูกห้ามนำเข้าประเทศนั้น ๆ หากจำเป็นต้องใช้ยาที่เป็นยาต้องห้ามแล้ว ปรึกษาคุณหมอก็ไม่มียาตัวไหนที่สามารถแทนได้ วิธีการ คือ ให้กรอกแบบฟอร์มขออนุญาตการนำยาเข้าประเทศนั้น และสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ เอกสารการรับรองแพทย์ หากมีโรคประจำตัว ยาที่รักษาไม่ใช่ยาสามัญทั่วไป ควรให้แพทย์เขียนระบุว่า เป็นโรคอะไร และจำเป็นต้องใช้ยาอะไรบ้าง ยังมียาสามัญประจำทริปอีกหลายประเภทที่ควรเตรียมเอาไว้ก่อนออกเดินทาง ขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนตัว เช่น ยาทาแผลยาแก้แพ้ สำหรับผู้ที่มีเป็นโรคภูมิแพ้ หรือ สาว ๆ ที่แผนท่องเที่ยวตรงกับช่วงที่มีประจำเดือน ก็ควรจะพก ยาแก้ปวดประจำเดือนเตรียมพร้อมเอาไว้ด้วย หรืออาจจะใช้วิธีกินยาเลื่อนประจำเดือนก็ได้เช่นกัน การเดินทางท่องเที่ยวคงไม่สนุก ถ้าจะต้องหยุดเดินทางต่อเพราะอาการเจ็บป่วย ดังนั้นการพกพายาที่จำเป็นไปด้วยระหว่างออกเดินทาง จะช่วยให้เป็นทริปที่สนุกสนานตลอดทริป และเพื่อความอุ่นใจในการเดินทาง ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://hd.co.th/common-drugs-for-trips-have-stuckhttps://www.doctoranywhere.co.th/post/items-for-vacation-1?lang=th

เมื่อเจ็บเข่า ปวดเข่า จะออกกำลังกายอย่างไรดี ?

เจ็บเข่า ปวดเข่า ออกกำลังกาย

เมื่อเกิดอาการเจ็บข้อเข่าสามารถออกกำลังกายได้แต่ควรออกกำลังกายให้ถูกประเภทโดยเน้นการออกกำลังกายที่จะช่วยบริหารเข่าหรือเพิ่มกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพก ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรออกกำลังกายในท่าที่ลงน้ำหนักกับข้อเข่ามากเกินไปทั้งนี้การออกกำลังกายจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบหัวเข่า สามารถลดอาการเจ็บปวด เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มการเคลื่อนไหวข้อเข่า ช่วยยืดกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยืดข้อต่อ และเยื่อหุ้มรอบข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าสามารถเคลื่อนไหวได้คล่อง  โดยการออกกำลังกายทั่วไปที่สามารถทำได้คือการว่ายน้ำเดินหรือเดินในน้ำก็ได้แต่ถ้าอยู่ที่บ้าน ต้องการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นขาเพื่อลดอาการเจ็บเข่าสามารถทำได้ดังนี้ 1.ท่านั่งเหยียดขา (Knee Full Extension Exercise) ท่านี้เป็นการบริหารกล้ามเนื้อต้นขา สามารถทำได้โดยนั่งลงบนเก้าอี้ เก้าอี้จะต้องมีความสูงเท่ากับขาส่วนล่าง เมื่อนั่งจะทำให้ต้นขาขนานกับพื้น  นั่งตัวตรงที่ขอบเก้าอี้ วางขาบนพื้นให้ขาส่วนล่างตั้งฉากกับพื้น เริ่มเหยียดขาให้ตรง โดยยกขาส่วนล่างให้ขนานกับพื้นให้ได้มากที่สุด  ค้างไว้ประมาณ 5 – 10 วินาทีต่อเซ็ต ทำประมาณ 10 เซ็ตต่อครั้ง  2. ท่าปั่นจักรยานอากาศ (Leg Cycle Exercise) ท่านี้จะช่วยบริหารเข่า กล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อหน้าท้อง  นอนหงายบนเตียง เพื่อไม่ให้เจ็บหลัง แล้วกางแขนทั้งสองข้างออกดันเตียงไว้ เพื่อการทรงตัว  ยกขาขึ้นทำท่าเหมือนกำลังปั่นจักรยาน (ขณะออกกำลังกายควรเน้นให้ขาทั้งสองข้างได้ยืดจนสุด และงอเข้ามาประมาณ 90 องศา เพื่อเป็นการบริหารเข่า) ทำประมาณ 30 ครั้ง/เซต ทั้งหมด 3 เซต เมื่อทำจนคล่องแล้วจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนเซ็ตขึ้น ข้อแนะนำ  การปั่นจักรยานอากาศ ถ้าต้องการลดต้นขาแนะนำให้ปั่นเร็วๆจนรู้สึกเมื่อยหรือมีเหงื่อออกบริเวณขา อย่างน้อย 80 ครั้งขึ้นไปหรือ 20-30 นาทีต่อวัน  การปั่นจักรยานอากาศ ควรฝึกเป็นประจำทุกวัน สามารถเพิ่มถึง 500-1000 ครั้ง/วัน หากทำท่าปั่นจักรยานอากาศไม่ไหว สามารถลดการออกแรงที่เข่า ด้วยท่าดังต่อไปนี้  นอนหงายราบกับพื้น แล้วนำผ้าหรือหมอนรองไว้ใต้เข่าสูงพอประมาณ ขยับขาส่วนล่างให้ขึ้นและลงเพื่อให้กล้ามเนื้อเข่าเกิดการเคลื่อนไหว  นอนคว่ำ หน้าขาเหยียดตรงทั้งสองข้าง จากนั้นงอเข่า ดึงให้ส้นเท้าเข้าหากันมากที่สุด ค้างไว้ 5-10 วินาที ทำสลับข้างกัน โดยทำข้างละ 10 ครั้ง 3.ท่าสควอช (Squat)  ท่านี้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของช่วงล่างของร่างกาย เช่น ช่วงเอว สะโพก ต้นขา นอกจากนี้แล้วท่าสควอซ (Squat) ยังสามารถช่วยให้เราทำกิจวัตประจำวันได้ดีขึ้นด้วย เช่น เวลานั่งและลุก หรือ นั่งหยิบของ ดังนั้นท่านี้จะช่วยลดการบาดเจ็บเวลาผู้ป่วยเจ็บที่หัวเข่าได้ กางขาทั้ง 2 ข้างให้ระยะห่างเท่าช่วงไหล่ของคุณ ย่อเข่าลง ใดยขณะที่คุณย่อเข่าจะต้องไม่ให้หัวเข่าเลยปลายเท้า ย่อลงไปให้ได้มุมเข่า 90 องศา สามารถยื่นแขนมาข้างหน้าเพื่อทรงตัวได้แล้วลุกขึ้น เกร็งหน้าท้องไว้ด้วย จุดส้นเท้าเป็นจุดที่รับน้ำหนัก  ค้างท่านั้นประมาณ 10 วินาที จากนั้นยืดตัวขึ้น นับเป็น 1 ครั้ง ข้อแนะนำ  ขณะออกกำลังกายท่าสควอซ (Squat) หลังต้องตรง อยู่ในแนวปกติ ไม่ก้มตัว ย่อตัวลงโดยที่ให้ลำตัวขึ้นและลงในแนวดิ่ง ทำขึ้น-ลงช้าๆ กรณีรู้สึกเจ็บอาจจะพิงกำแพง เพื่อลดการบาดเจ็บ 4.ท่านอนราบยกขายืดตรง (Straight leg raises) เป็นท่าบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นขาด้านหน้าเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าเรื้อรัง นอนหงายราบและเหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง  ยกขา 1 ข้างขึ้นให้ได้ระดับ 45 องศาพร้อมกับหายใจออก โดยยังเหยียดขาตรงยกค้างไว้ 15 วินาที พร้อมกับหายใจเข้า ออกกำลังกายท่านี้ให้ครบ 10 ครั้ง จากนั้นสลับไปเป็นขาอีกข้าง ทำ 3-5 รอบต่อวัน ข้อแนะนำการปฎิบัติตัวในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันอาการปวดข้อเข่า ไม่นั่งพับเพียบ ยองๆขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเป็นเวลานานๆ ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางติดกับพื้นพอดี อย่าปล่อยให้น้ำหนักเยอะจนเกินไป ไม่อย่างงั้นข้อเข่าจะต้องทำงานโดยรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรลดน้ำหนักในคนที่อ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ถ้ามีอาการปวดเข่า ให้พักเข่าไว้อย่าเดินหรือยืนมาก หรือถ้าจำเป็นให้ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อเข่าไว้ให้กระชับจะช่วยลดการเสียดสีของข้อเข่า สวมใส่รองเท้าส้นเตี้ยที่กระชับและพอดีกับเท้า หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นผิวขรุขระ กรณีเกิดอาการเจ็บข้อเข่าปวดเข่าขณะออกกำลังกายควรประคบร้อนหรือประคบเย็น การประคบเย็นเหมาะกับอาการเคล็ด อาการฟกช้ำ หรืออาการปวดแบบเฉียบพลันทันที  การประคบร้อน เหมาะกับอาการปวดกล้ามเนื้อ อาการฟกช้ำที่ผ่านมาแล้วเกิน 48 ชั่วโมง หรืออาการบวมปวดตึงอย่างเรื้อรัง หากเจ็บข้อเข่า ปวดเข่า ให้พิจารณาดูก่อนว่าเกิดจากอะไร หากเกิดจากอุบัติเหตุส่วนใหญ่ก็จะต้องประคบเย็น หากเป็นอาการที่เป็นบ่อยๆ เกิดอย่างเรื้อรัง ก็ควรประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการ แต่ถ้ามีอาการปวดเข่าที่มากเกินไป ประคบร้อนเย็นแล้วไม่ดีขึ้น ทานยาแก้ปวดไม่หาย มีรอยฟกช้ำ บวมร้อน มีอาการปวดเรื้อรัง ควรมาพบแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุของอาการต่อไป การออกกำลังกายในกรณีเจ็บเข่า ให้เน้นที่การบริหารเข่าและไม่รุนแรงจนเกินไป ถ้าไม่ได้ออกกำลังกายเลยจะไม่มีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ทั้งเลือดที่ไปเลี้ยงตามข้อต่อและการแลกเปลี่ยนของเสียน้อยลง อาการบาดเจ็บอาจจะหายได้ช้าลง ดังนั้นคนที่บาดเจ็บ ควรจะมีการออกกำลังกายเบาๆเพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูบริเวณข้อต่อ โดยผู้ป่วยที่เจ็บกล้ามเนื้อจะใช้ระยะเวลาฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนที่เจ็บบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ รวมถึงอายุและสมรรถภาพร่างกายของแต่ละคนก็จะมีผลในการฟื้นตัวแตกต่างกันไปด้วย อาการปวดข้อ เจ็บข้อเข่า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาจจะเกิดจากโรค การเสื่อมตามวัย หรืออาการบาดเจ็บที่เข่า ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นควรสังเกตตัวเอง และรีบไปพบแพทย์ เพราะหากเกิดจากโรค หรือเป็นอาการเรื้อรังที่มีผลเสียรุนแรง จะสามารถรักษาได้ทัน ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/knee-painhttps://www.siphhospital.com/th/news/article/share/866