จบงานปาร์ตี้หรือช่วงเทศกาลทีไร เป็นต้อง เมาค้าง ทุกที แต่สำหรับนักปาร์ตี้แล้ว บรรยากาศในวงเหล้า เคล้าเสียงเพลง และสังคมหมู่เพื่อน คือ เสน่ห์อย่างหนึ่งของการสังสรรค์มากกว่ารสชาติของแอลกอฮอล์ขมๆ เสียอีก เมื่อความสนุกสนานเริ่มขึ้น แอลกอฮอล์จะช่วยเติมเต็มให้ค่ำคืน หอมหวนและอบอวลไปด้วยความสุขเพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง และคลายกล้ามเนื้อ เมื่อได้รับปริมาณเล็กน้อยจึงช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อร่างกายของเราอย่างไร ?
แอลกอฮอล์มีชื่อทางเคมีว่า Ethanol หรือ Ethyl Alcohol จัดเป็นสารกดประสาทชนิดหนึ่ง เมื่อดื่มไปแล้ว ร่างกายเราจะทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดออกไป แต่ผลกระทบอาจจะไม่ใช่แค่รอตับกำจัดแค่นั้น แต่ระหว่างที่รอ แอลกอฮอล์จะส่งผลมากมายต่อร่างกาย เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หากว่าเราปล่อยให้ท้องว่าง ระดับน้ำตาลในเลือดจะน้อยอยู่แล้วเป็นทุนเดิม หากเผลอดื่มแอลกฮอล์ไปทีละมากๆ จะยิ่งถูกฮอร์โมนอินซูลินออกมาขโมยน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง จึงเกิดอาการคล้ายน้ำตาลตก และจะเริ่มมีอาการมึนๆ งงๆ ตามมา และมึนเมาได้ไวกว่าคนที่รองท้องมาด้วยอาหาร หรือทานของแกล้มไปด้วย
เมาค้างหรืออาการแฮงค์ (Hang Over) คือกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โดยอาการเมาค้างจะเกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงซึ่งตรงกับช่วงเช้าอีกวันหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในคืนก่อน ทั้งนี้ ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไปก็ส่งผลให้เกิดอาการเมาค้างที่แตกต่างกัน หากร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มาก ก็จะทำให้เกิดอาการเมาค้างมากขึ้นตามไปด้วย

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการเมาค้างคือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยฤทธิ์แอลกอฮอล์ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการอักเสบในร่างกาย บางคนสามารถเกิดอาการเมาค้างได้แม้ดื่มไม่มาก ส่วนบางคนอาจต้องดื่มในปริมาณมากถึงจะเกิดอาการ โดยปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับเข้าไปนั้นส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย และทำให้เกิดอาการเมาค้างต่าง ๆ ดังนี้
1.ผลิตน้ำปัสสาวะมาก เมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไป แอลกอฮอล์จะกระตุ้นร่างกายให้ผลิตน้ำปัสสาวะมาก ทำให้ผู้ดื่มต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติจนนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ซึ่งมักปรากฏออกมาเป็นอาการกระหายน้ำ เวียนศีรษะ และมึนศีรษะ
2.เกิดการอักเสบของร่างกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางอย่างทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่า สารสื่อประสาท ซึ่งทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ มีความอยากอาหารลดลง หรือรู้สึกเบื่อกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นปกติ
3.ระคายเคืองผนังกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะกระตุ้นการสร้างกรดในกระเพาะอาหารให้เพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้ย่อยอาหารได้ยาก ซึ่งส่งผลให้ผู้ดื่มมักปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน
4.ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ตัวสั่น อารมณ์แปรปรวนไม่มั่นคง รวมทั้งเกิดอาการชักขึ้นได้
5.หลอดเลือดขยาย หากหลอดเลือดในร่างกายขยายออกอันเป็นผลจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกปวดศีรษะได้
6.นอนหลับไม่เพียงพอ ฤทธิ์แอลกอฮอล์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการนอนหลับ เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสารสื่อประสาท ทำให้ผู้ดื่มอาจนอนหลับไม่สนิทหรือนอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดอาการเพลีย เดินเซ และเหนื่อยล้า

1.ขิง มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้ ช่วยทำให้ฟื้นจากอาการปวดหัว และยังช่วยระบบขับถ่ายเอาแอลกอฮอล์ออกมาอีกด้วย เพียงแค่เตรียมน้ำขิงร้อนๆผสมน้ำผึ้งหรือน้ำมะนาว โดยนำน้ำผึ้ง 1 ถ้วย ผสมกับน้ำร้อนแล้วคนให้เข้ากัน
2.ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ไปเพิ่ม ALDH ช่วยกำจัดสารพิษที่เกิดจากแอลกอฮอล์, ลดระดับแอลกอฮอล์และสารพิษที่เกิดจากแอลกอฮอล์ (Acetaldehyde) ในเลือดได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับเอนไซม์ตับ (ALT, AST, ALP) ได้อีกด้วย
3.โกจิ เบอรี่ เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงตับ ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ ALDH ช่วยให้ตับขับสารพิษได้ดีขึ้น ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระเพื่อปกป้องตับจากการเกิดผังผืดที่ตับและตับแข็ง
4.แดนดิไลออน มีฤทธิ์ช่วยบำรุงตับ โดยกระตุ้นการสร้างน้ำดีที่ตับและเพิ่มการไหลน้ำดีไปยังถุงน้ำดี กระตุ้นการหดตัวและการคลายตัวของถุงน้ำดี ในขณะเดียวกันรากของแดนดิไลอ้อนมีสารโคลีนปริมาณสูง ส่งผลทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับและถุงน้ำดี ทำให้ภาวะโรคตับต่างๆ ดีขึ้น เช่น ท่อทางเดินน้ำดีอักเสบ, ตับอักเสบ, ดีซ่าน, ตับแข็ง
5.โคลีน เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงตับ ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปสะสมที่ตับและป้องกันการเกิดไขมันพอกตับ ฟื้นฟูการทำงานของตับ
ข้อควรรู้หนึ่งอย่างหลังดื่มเสร็จ หากมีอาการปวดหัวอย่ารับประทานยาเพื่อบรรเทาโดยทันที เพราะร่างกายมีปริมาณแอลกอฮอล์สะสมอยู่มาก เมื่อยาเจอกับแอลกอฮอล์อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป นอกจากส่งผลกระทบต่อสมองแล้ว ยังผลต่อตับ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันสะสมที่ตับ รวมทั้งเพิ่มโอกาสให้สารพิษที่ร่างกายได้รับมาสะสมในตับ หากดื่มบ่อยๆ อาจนำไปสู่ตับอักเสบ พังผืดที่ตับ ในที่สุด ก็จะกลายเป็นตับแข็งได้ หากไม่สามารถเลิกได้ ควรดื่มอย่างมีสติและพอประมาณ ไม่มากจนเกินไป นอกจากจะไม่ต้องเสียเวลาแก้เมาค้างแล้ว การเว้นวรรคให้ร่างกายได้พักผ่อนฟื้นฟูจะเป็นผลดีมากกว่า ที่สำคัญ หากเมาแล้วไม่ควรขับรถ ไม่ว่าจะดื่มมากหรือน้อยก็ตาม เพราะการขับรถทั้งที่มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ในเลือด อาจทำให้ผลการตัดสินใจต่าง ๆ ลดลง และเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายด้วย สุขภาพที่ดี เรากำหนดได้เอง จากการดื่มอย่างมีสติและพอประมาณ