Macrophar

บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน

บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน

การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่มีแนวทางการรักษา ดังนี้

บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน

หลายคนคงเคยคุ้นเคยกับโรค Office syndrome ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะหมายถึง อาการปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในการทำงานที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เช่น การนนั่งทำงานคอมพิวเตอร์ โดยไม่ขยับหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ

อาการปวดจะเริ่มจากเพียงเล็กน้อยให้เริ่มรู้สึกไม่สบายตัวจนถึงปวดมากจนรบกวนการปฏิบัติงาน ซึ่งถ้าไม่รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ อาการปวดจะรุนแรงขึ้นหรือลามไปบริเวณใกล้เคียง บางคนอาจจะมีอาการชาหรืออาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ

การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่มีแนวทางการรักษา ดังนี้

  • รับประทานยาแก้ปวด ที่นิยมใช้ได้แก่ ยาพาราซีตามอล ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) ซึ่งการรับประทานยาจะแนะนำให้ใช้เฉพาะช่วงที่มีอาการปวด ไม่แนะนำให้รับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา จึงควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • การใช้ยาแก้ปวดแบบเฉพาะที่ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้

2.1) มีตัวยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยพัฒนาเป็นรูปแบบยาใช้เฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของข้อและกล้ามเนื้อ และลดการเกิดผลข้างเคียงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาในรูปแบบรับประทาน รวมถึงเป็นทางเลือกโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กหรือสูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยารับประทาน ยากลุ่มนี้จะแนะนำให้ทาหรือพ่นยาในบริเวณที่มีอาการปวด โดยไม่ต้องถูนวด เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์เฉพาะที่

2.2) กลุ่มน้ำมันหอมระเหย ซึ่งออกฤทธิ์ที่ให้ความรู้สึกร้อนหรือเย็น โดยมีหลักการเลือกคล้ายกับการประคบร้อนหรือเย็นเมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เช่น สำหรับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันจะแนะนำเป็นตัวยาออกฤทธิ์เย็น เช่น menthol ขณะที่ตัวยาออกฤทธิ์ร้อน เช่น methyl salicylate จะแนะนำเพื่อบรรเทาปวดแบบเรื้อรัง รวมไปถึงอาจจะขึ้นกับความชอบส่วนบุคคลด้วย

การเลือกยาแก้ปวดแบบใช้เฉพาะที่บางครั้งอาจจะพิจารณาเลือกตามรูปแบบของตัวยา เช่น ครีม เจล สเปรย์ และยาน้ำ รวมถึงบางผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ได้สะดวก สามารถทาหรือฉีดพ่นได้โดยตัวยาไม่เลอะมือ เพื่อป้องการการใช้มือสัมผัสผิวหน้าซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

  • การรักษาโดยวิธีการแพทย์ทางเลือก เช่น การนวด ฝังเข็ม กายภาพบำบัด เป็นต้น

นอกจากนี้สิ่งสำคัญในการบรรเทาอาการปวดจาก office syndrome คือการจัดอิริยาบถในการทำงานให้เหมาะสม เช่นระดับความสูงของโต๊ะ เก้าอี้ และตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ รวมถึงการพักยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอทุก 1 – 2 ชั่วโมง ซึ่งได้รับการยืนยันทางการแพทย์ว่าช่วยป้องกันอาการปวดเรื้อรังจาก office syndrome

ข้อมูลอ้างอิง

Tags :
Articles,กล้ามเนื้อและกระดูก
Share This :