Macrophar

ไม่ดื่มเหล้า ก็ตับแข็งได้ รู้ยัง ?

ไม่ดื่มเหล้าก็ตับแข็งได้

ถ้าพูดถึง ตับแข็ง หลายคนคงจะเข้าใจว่าเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป แต่จริงๆแล้วมีอีกหลายสาเหตุมากที่สามารถทำให้เกิดตับแข็งได้ ไม่ว่าจะเป็นไขมันสะสมในตับ หรือระบบภูมิคุ้มกันไม่ปกติ โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ได้รับความเสียหายมากเกินไป ก็จะกลายเป็นเหมือนแผลเป็นที่เป็นพังผืดถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตับ เป็นอวัยวะในร่างกายทำหน้าที่กรองและกำจัดสารพิษ เชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้นยังสร้างน้ำดี และมีส่วนสำคัญให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ แต่ถ้ามีสาเหตุที่ทำลายตับ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ดีของตับถูกทำลายเกิดแผลเป็น เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นซ้ำๆ จะมีพังผืดขึ้นมาแทนที่เนื้อตับจึงสูญเสียความยืดหยุ่นและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ภาวะตับแข็ง ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โรคตับแข็ง หรือ Liver cirrhosis เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของตับ โดยเนื้อตับจะถูกทำลาย และไปดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับสูญเสียการทำงานลงไป เพราะเลือดจะมีเลี้ยงเนื้อตับน้อยลง นอกจากนี้ ภาวะตับแข็งยังอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้ความดันในเส้นเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกง่าย ม้ามโต ขาบวม มีน้ำในช่องท้อง มีการเปลี่ยนแปลงตามผิวหนังคือมีจุดเล็กๆ แดงๆ เกิดขึ้น มีเส้นเลือดผิดปกติเกิดขึ้นในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งถ้าเส้นเลือดเหล่านี้แตกก็อาจทำให้ถ่ายอุจจาระปนเลือดได้ หากปล่อยไว้นานก็จะกลายเป็นตับแข็งระยะสุดท้าย และพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้เช่นกัน สาเหตุที่เกิดตับแข็ง นอกจากการดื่มเหล้า 1.การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือไวรัสตับอักเสบซี จนทำให้ตับอักเสบเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะกลายเป็น โรคตับแข็ง ในที่สุด โดยไวรัสตับอักเสบบีและซีนั้น เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันทางเลือดและเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเป็นพาหะนั้นมักจะเกิดโดยไม่รู้ตัว2.เกิดจากโรคที่ภูมิคุ้มกันมีการทำลายเนื้อตับ3.เกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคอ้วน, ไขมันในเลือดสูง4.การรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน ยารักษาวัณโรคบางชนิด5.โรคทางพันธุกรรมบางโรคทำให้เกิด ตับแข็ง เช่น ทาลัสซีเมีย,hemochromatosis, Wilson’s disease, galactosemia6.ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ทำให้เส้นเลือดคั่งที่ตับ เลือดไหลเวียนในตับน้อยลง เนื้อตับขาดภาวะออกซิเจนจนตายลง7.พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในเลือดอาจทำให้เกิดตับแข็ง ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะปรากฏอาการเริ่มแรกในช่วงอายุระหว่าง 40 – 60 ปี แต่ถ้าพบในคนอายุน้อย มักมีสาเหตุจากตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอาการค่อนข้างรุนแรง 6 เคล็บลับ ช่วยถนอมตับให้แข็งแรง 1.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคตับ เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน ตับอักเสบเรื้อรังและโรคตับแข็ง เพราะแอลกอฮอล์จะเข้าไปทำร้ายเซลล์ของตับ กระตุ้นให้มีไขมันสะสมในตับ จนเกิดการอักเสบ และเกิดพังผืดส่งผลให้เกิดตับแข็ง การทำงานของตับลดลง ตับวาย และนำไปสู่มะเร็งตับ2.งดการสูบบุหรี่บุหรี่ไม่ได้ทำลายเพียงแค่ปอด แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อตับอีกด้วย ในผู้ที่สูบบุหรี่ประจำทุกวัน ตับต้องทำงานหนักเพื่อกรองสารพิษอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตับอ่อนแอและเกิดปัญหาตามมาได้ง่าย3.ไม่รับประทานยาเกินความจำเป็นเนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการกำจัดยาออกจากร่างกาย ซึ่งหากร่างกายได้รับยาบางชนิดในปริมาณสูง หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ตับก็จะไม่สามารถทำลายได้ทัน เหลือเป็นส่วนเกินและมีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับจนกลายเป็นภาวะตับวายได้4.ควบคุมน้ำหนักตัวการมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานนั้นไม่ได้ส่งผลต่อรูปร่างเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลเสียต่อตับด้วย เพราะถ้ามีไขมันในร่างกายมากเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไขมันพอกตับได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน แป้ง และน้ำตาล ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไป5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอการนอนหลับให้เพียงพอและเป็นเวลา จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้เลือดไปซ่อมแซมและบำรุงตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีผลการศึกษา พบว่าผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อภาวะไขมันเกาะตับ (Non Alcoholic Fatty Live Disease; NAFLD) ถึง 1.2 เท่า6.เสริมด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงตับสารอาหารบำรุงตับ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญในการปกป้องตับให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ ช่วยขับสารพิษและบำรุงตับ สารอาหารที่เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการดูแลตับ อย่างเช่น– แอล-กลูตาไธโอน (L-glutathione) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญยังช่วยตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกายด้วย– โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate) ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ตกค้างภายในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของตับ ถ้าขาดโคลีน จะทำให้ตับไม่สามารถกำจัดไขมันออกได้ ผลคือจะเกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งสามารถจะนำไปสู่ภาวะเซลล์ของตับเสื่อม ตับแข็ง และมะเร็งตับได้– แดนดิไลออน (Dandelion) ช่วยชะล้างสารพิษให้ตับและไตสามารถขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้น เป็นแหล่งวิตามินธรรมชาติ ช่วยบำรุงสายตาและมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง รักษาอาการดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเข้ม บำรุงตับ ทำให้ตับทำงานได้อย่างปกติ– พริกไทยดำ (Black Pepper) ช่วยกำจัดเซลล์ไขมันที่อยู่ในร่างกาย โดยทำให้เซลล์ไขมันเก่า ที่สะสมอยู่ในร่างกายตาย พร้อมกับ ควบคุมการเกิดขึ้นใหม่ของเซลล์ไขมัน และยังช่วยให้ตับสามารถทำลายสารพิษได้มากขึ้น นอกจากการทานอาหารหรือผักผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อตับแล้ว การมีตัวช่วยล้างสารพิษที่สะสมอยู่ในตับเพื่อฟื้นฟูเซลล์ตับและเสริมประสิทธิภาพของตับในการกำจัดสารพิษก็เป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะ “ตับ” เป็นอวัยวะที่มีเพียงชิ้นเดียวในร่างกาย และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ดูแล บำรุง และป้องกันให้ดีก่อนตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.sikarin.com/health/liver-cirrhosishttps://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2015/cirrhosis-treatment-best-jci-hospital-bangkok-thailand

ท้องเสียบ่อย เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

ท้องเสีย

โรคท้องเสีย (diarrhea) นับเป็นเป็นโรคที่พบบ่อย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อและชนิดของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน หรือการประกอบกิจวัตรประจำวัน หากร่างกายยิ่งมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ “ท้องเสีย” คืออะไร ? หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง (หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากอย่างน้อย 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง) หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หากท้องเสียมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ เรียกว่าท้องเสียแบบเฉียบพลัน แต่หากนานกว่านั้นจะเรียกว่า ท้องเสียแบบเรื้อรัง ท้องเสีย แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามระยะเวลาที่เกิดโรค 1. ท้องเสียเฉียบพลัน (acute diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียน้อยกว่า 14 วัน เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือโปรโตซัว หรืออาจเกิดจากอาหารเป็นพิษเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน preformed toxin ของเชื้อแบคทีเรีย 2. ท้องเสียต่อเนื่อง (persistent diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียตั้งแต่ 14 ถึง 30 วัน สาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อโปรโตซัว รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย และยังอาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวนหลังการติดเชื้อ (post-infection irritable bowel syndrome) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease, IBD) 3. ท้องเสียเรื้อรัง (chronic diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียมากกว่า 30 วัน อาจเกิดได้จากการติดเชื้อ หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น ความบกพร่องของระบบทางเดินอาหาร เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ควรส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษา สาเหตุของท้องเสียเฉียบพลัน 1.การติดเชื้อไวรัส เช่น norovirus (พบได้ในผู้ป่วยทุกวัย มีอาการ ไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ) , rotavirus (พบบ่อยใยเด็ก ร้อยละ 90 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี)2.การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Vibrio cholera, Escherichia coli, Shigella spp., Salmonella spp., Campylobacter jejuni3.การติดเชื้อโปรโตซัว เช่น Giardia intestinalis และ Cryptosporidium parvum4.ยาหรือสมุนไพรบางชนิด เช่น ยาระบาย ยาสะเทินกรดที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม ยาปฏิชีวนะบางชนิด metformin และ colchicine5.การระคายเคืองหรือการกระตุ้นจากอาหารบางชนิด เช่น อาหารรสจัด หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร6.เกิดจากการรับประทานสารพิษ (toxin) ที่เจือปนอยู่ในอาหาร โดยเฉพาะ preformed toxin จากเชื้อแบคทีเรีย7.อาหารเป็นพิษ (food poisoning) จากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน preformed toxin จากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium perfringens, Staphylococcus aureus หรือ Bacillus cereus อาจมีอาการปวดเกร็งช่องท้อง (abdominal pain) ร่วมด้วยได้ โดยทั่วไปอาการมักเกิดภายใน 2-7 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน อาการมักไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองใน 48-72 ชั่วโมง 1. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเด่น ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษดังได้กล่าวข้างต้น จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ การรักษาหลัก คือ การให้สารน้ำทดแทนทางปาก (oral rehydration therapy, ORT) และพิจารณาให้ยารักษาตามอาการร่วมด้วยได้ เช่น ยาต้านอาการอาเจียน ยาบรรเทาอาการท้องเสีย และยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง 2. ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงเด่นโดยมีลักษณะอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ จะให้การรักษา ดังนี้ – ผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงน้อย สามารถหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ การรักษาหลัก คือ การให้สารน้ำทดแทนทางปาก และพิจารณาให้ยารักษาตามอาการร่วมด้วยได้ เช่น ยาบรรเทาอาการท้องเสีย ได้แก่ diosmectite และยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง ได้แก่ hyoscin– ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง ควรพิจารณาถึงประวัติเดินทางหรือท่องเที่ยว หากอาการท้องเสียสัมพันธ์กับช่วงที่เดินทาง ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยสารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อที่คาดว่าเป็นสาเหตุ (รายละเอียดในหัวข้อโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการเดินทาง) และอาจพิจารณาให้ loperamide ร่วมด้วยเพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว หากไม่มีประวัติท่องเที่ยว ควรพิจารณาถึงอาการไข้ของผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ หรือไข้ต่ำ (น้อยกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) โดยทั่วไปสามารถหายได้เอง จึงไม่จาเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ และให้การรักษาด้วยการให้สารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับพิจารณาให้ยารักษาตามอาการ ส่วนผู้ป่วยที่มีไข้สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 38.5 องศาเซลเซียส) หากมีอาการไม่เกิน 72 ชั่วโมง อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการให้สารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยารักษาตามอาการ และติดตามผลการรักษา ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการนานเกิน 72 ชั่วโมง ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นนี้อาจดำเนินไปเป็นอาการอุจจาระร่วงที่เป็นมูกหรือปนเลือดได้ เนื่องจากอาจเกิดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ตามมา จึงควรส่งตัวไปยังสถานพยาบาลเพื่อทำการตรวจเชื้อสาเหตุและให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมกรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย 3. ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงเด่นโดยมีลักษณะอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด ซึ่งบ่งชี้การอักเสบ และมีการทำลายเยื่อบุที่ลำไส้ ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินอาการอื่นๆ ที่แสดงถึงภาวะอักเสบ โดยเฉพาะอาการไข้ หากผู้ป่วยไม่มีไข้หรือมีเพียงไข้ต่ำๆ ควรส่งต่อไปยังสถานพยาบาลทันทีเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด โดยเฉพาะการตรวจหาสารพิษ STEC เนื่องจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ STEC หากได้รับยาปฏิชีวนะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด HUS ดังได้กล่าวในตอนต้น ส่วนผู้ป่วยที่มีไข้สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 38.5 องศาเซลเซียส) ควรซักประวัติเรื่องการเดินทางหรือท่องเที่ยว และอาจพิจารณาการให้ยาปฏิชีวนะ – กรณีไม่มีประวัติเดินทางในช่วงที่เกิดอุจจาระร่วง เชื้อที่คาดว่าก่อโรคและเป็นเป้าหมายในการรักษา ได้แก่ Shigella spp. ยาปฏิชีวนะที่แนะนา คือ ยากลุ่ม fluoroquinolones (FQ) โดยแนะนาให้ใช้ norfloxacin เป็นยาเลือกอันดับแรก เนื่องจาก FQ ชนิดอื่น ควรเก็บสำรองไว้ใช้ในโรคติดเชื้ออื่นที่รักษาได้ยาก เช่น วัณโรคดื้อยา– กรณีมีประวัติเดินทางในช่วงที่เกิดอุจจาระร่วง ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยสารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อที่คาดว่าเป็นสาเหตุ และอาจพิจารณาให้ loperamide ร่วมด้วยเพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามหากมีอาการท้องเสียนานเกิน 3 วัน มีไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส มีอาการขาดน้ำ ถ่ายมีเลือดปนร่วมกับอาการปวดท้องเกร็ง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น เช่น ตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อ, ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุ, การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษา ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.phuketinternationalhospital.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-diarrhea/https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2