Macrophar

การดูแลรักษาสิว

วัยรุ่นแต่ละคนย่อมมีปัญหาสิวที่แตกต่างกัน สิวจะปรากฏอาการในผู้หญิงช่วงอายุ 14-17 ปี และในผู้ชายช่วงอายุ 16-19 ปี หากนิยามความหมายของสิว สิวคือการอักเสบของหน่วยรูขน ทั้งนี้การรักษามักจะดูตามระดับความรุนแรงของสิวได้แก่ – สิวเล็กน้อย (mild acne) มีหัวสิวไม่อักเสบ (comedone) เป็นส่วนใหญ่ หรือมีสิวอักเสบ (papule และ pustule) ไม่⁠เกิน 10 จุด มักใช้เพียงยาทาที่ออกฤทธิ์ลดสิวอุดตัน ยาทาฆ่าเชื้อสิวและลดการอักเสบ – สิวปานกลาง (moderate acne) มี papule และ pustule ขนาดเล็กจำนวนมากกว่า 10 จุดและ/หรือ มี nodule น้อย⁠กว่า 5 จุด กรณีนี้อาจใช้ยาทาสำหรับสิวร่วมกับยารับประทานกลุ่มปฏิชีวนะ – สิวรุนแรง (severe) มี papule และ pustule มากมาย มี nodule หรือ cyst เป็นจำนวนมากหรือมี nodule […]

ท้องเสียพร้อมกับมีไข้ จะใช่ Covid-19 หรือเปล่านะ

จากสถานการณ์ของโรคติดต่อ Covid-19 ที่อาจจะทำให้มีอาการปอดอักเสบรุนแรง ทำให้หลายคนที่มีการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ไอ รวมถึงอาการท้องเสีย วิตกกังวลว่าตนเองจะเจ็บป่วยจากเชื้อ Covid-19 หรือไม่ โดยสรุปล่าสุดขององค์การอนามัยโลก โรค Covid-19 ผู้ป่วยมักจะมีอาการ ดังนี้ – อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้ (> 37.3 °C) ไอแห้ง อ่อนเพลีย – อาการที่พบได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามตัว คัดจมูก น้ำมูกไหล สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส ดังนั้นถ้าเราพบว่ามีอาการท้องเสียร่วมกับมีไข้ แล้วเกิดกังวลว่าจะเป็น Covid-19 ให้เริ่มจากทำแบบประเมินความเสี่ยงของโรค Covid-19 เนื่องจาก Covid-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมด้วย นอกจากนี้อาการไข้ ยังเป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีอาการท้องเสียทั้งจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ถ้าทำแบบประเมินความ⁠เสี่ยงแล้วอยู่ในระดับต่ำ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อรับประทานยาบรรเทาอาการท้องเสียที่เหมาะสม และเนื่องจากท้องเสีย เป็นโรคที่พบได้กับทุกวัย และไม่สามารถคาดการณ์ที่จะเกิดเวลาได้ เราอาจจะมียาแก้ท้องเสียสำรองไว้ที่บ้าน เพื่อบรรเทาอาการให้ทันท่วงที เช่น เกลือแร่ ORS และยาแก้ท้องเสีย เช่น […]

ท้องเสีย..แต่ทำไมไม่ได้ยาปฏิชีวนะ

โรคท้องเสีย หมายถึงอาการถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อ⁠โรคปน⁠เปื้อน หรือรับประทานอาหารรส⁠จัด หรือเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หลายครั้งโรคท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดัง⁠นั้นจึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะซึ่งออกฤทธิ์สำหรับโรคติดเชื้อแบคทีเรีย โดยแพทย์หรือเภสัชกรจะซักอาการของโรค เช่น ถ้าอาการถ่ายท้องเสียไม่มีมูกเลือดปน ไม่มีไข้⁠สูง และมีอา⁠เจียนร่วมด้วย มักจะเป็นอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาเมื่อมีอาการดังกล่าว ให้ผู้ป่วยดื่มเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยแร่ธาตุที่สูญเสียจากการขับถ่าย และรับประทานยาแก้ท้องเสียเพื่อช่วยให้หายได้เร็วขึ้น เช่น ตัวยา Dioctahedral smectite ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับเชื้อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta มีตัวยา Dioctahedral smectite ซอง⁠ละ 3 กรัม อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าท้องเสียแต่เภสัชไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ อาจจะได้ยาอื่นทดแทนซึ่งเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมปรึกษาได้ที่เภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน แหล่งข้อมูลอ้างอิง กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (n.d.). ท้องเสียอย่างไรต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ. Retrieved from http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=62&content_id=1321 ท้องเสียเฉียบพลัน จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่. (n.d.). Retrieved from เกร็ดความรู้สู่ประชาชน โดยนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=2 สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. […]

ทำไมต้องมีกลิ่นปากหลังตื่นนอน

กลิ่นปากเป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจ กังวลว่าคนรอบข้างจะรับรู้ถึงปัญหานี้ ครั้งกลิ่นปากเกิดจากปัญหาสุขภาพในช่องปาก เช่น การมีฟันผุ แผลในปาก โรคเหงือกอักเสบ และรวมไปถึงภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อยด้วย ภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อย มีสาเหตุได้ ดังต่อไปนี้ พฤติกรรมการดื่มน้ำน้อยในระหว่างวัน การรับประทานยาบางกลุ่ม เช่น ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก โดยอาการปากแห้งจะดีขึ้นหลังจากหยุดยา ความเครียด หรือวิตกกังวล ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นการผลิตน้ำลายลดลง อายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือการมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ ภาวะน้ำลายน้อยเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกลิ่นปากได้ เนื่องจากโดยปกติน้ำลายจะเป็นตัวช่วยถ่ายสิ่งตกค้างในช่องปากรวมถึงให้ลงสู่ระบบย่อยอาหาร ไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับการที่เรามีกลิ่นปากหลังจากตื่นนอนนั้น เนื่องมาจากตอนนอนร่างกายจะผลิตน้ำลายเพียงครึ่งหนึ่งของตอนกลางวัน รวมถึงการที่เราไม่ได้ดื่มน้ำติดต่อกัน 6 – 7 ชั่วโมง ทำให้เมื่อตื่นเราจะรู้สึกว่ามีกลิ่นปากซึ่งมาจากการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากนั่นเอง สำหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อย และกังวลว่าจะมีกลิ่นปาก สามารถป้องกันหรือลดการเกิดกลิ่นปากได้ ดังนี้ ดื่มน้ำ อย่างสม่ำเสมอ วันละ 8 – 10 แก้ว รับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน หากิจกรรมดูแลตนเองเพื่อคลายความเครียด หรือวิตกกังวล ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพในช่องปากที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้ง เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื่นในช่องปาก แหล่งที่มา · โอปิลันธน์, ท., […]

อากาศเปลี่ยนทีไร ทำเราป่วยทุกที

ฮัดชิ้ว! ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มลพิษทางอากาศก็เยอะ จนหลายคนต้องล้มป่วยเพราะร่างกายปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้เกิดอาการแพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจามอยู่บ่อย ๆ  และยังเป็นไข้กันอีก การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้กำเริบ รวมถึงอาการจากโรคหวัด ภูมิแพ้ มีน้ำมูก ให้รับประทานยาแก้แพ้(Anti-histamine) โดยยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 จะสามารถบรรเทาอาการทั้งน้ำมูกไหลและแก้คัดจมูกร่วมด้วยแต่มีผลทำให้ง่วงซึม ไอเนื่องจากหวัด หากมีอาการไอแห้งให้รับประทานยาที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอ แต่ถ้ามีเสมหะร่วมด้วยสามารถรับประทานยากดศูนย์ควบคุมการไอควบคู่กับยาแก้ไอแบบมีเสมหะ หรือจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ มีไข้ ตัวร้อน สามารถใช้ตัวยาParacetamol ซึ่งเป็นยาลดไข้ที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หลายครั้งการป่วยเป็นหวัด จะมีหลายอาการเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันสามารถเลือกยาที่พัฒนาในรูปแบบตัวยาผสม เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทานยารวมถึงขนาดของตัวยาสำคัญต่อเม็ด โดยเฉพาะเด็กอายุ ต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งต้องคำนวณขนาดของตัวยาบาง  ตัวตามน้ำหนักตัว เพื่อให้ได้รับยาในขนาดที่เหมาะสมนอกจากนี้รูปแบบยาที่แตกต่างกัน เช่น ยารูปแบบแคปซูลนิ่ม ซึ่งภายในจะบรรจุตัวยาเป็นของเหลว จะช่วยให้การดูดซึมเพื่อออกฤทธิ์ได้รวดเร็วกว่ารูปแบบยาเม็ดอย่าลืมคอยสังเกตตัวเอง และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีต่าง ๆหรือ อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ รวมถึงใช้น้ำเกลือทำความสะอาดโพรงจมูกเป็นประจำและที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา ด้วยความห่วงใยจากบริษัท แมคโครฟาร์ #MacroPhar

ปรับสมดุลคนทำงานออฟฟิศ พิชิต 2 ม. (เมื่อยตัว เมื่อยตา)

กรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำเพื่อปรับสมดุลร่างกายในระหว่างการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน ดังนี้ ปัจจุบันปัญหาโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดเนื่องจากการทำงาน (Work – related musculoskeletal disorders) โดยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องจากสภาพการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรค และการเกิดโรคในระยะยาว หากไม่มีการปรับปรุง ได้แก่ ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่านั่ง การยกของ การทำกิจกรรมในท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบท การเคลื่อนไหว แบบซ้ำๆ มีแนวโน้มทำให้เกิดการบาดเจ็บสะสมได้ ก า ร บ ริห า ร จัด ก า ร แ ล ะ จิต สัง ค ม – การบริหารจัดการทีดี เช่น การสับเปลี่ยนหมุนเวียนตำแหน่ง การกำหนดภาระหน้าที่ ระยะเวลาในการทำงาน และช่วงเวลาพัก จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการได้รับบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้ ทั้งนี้สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำเพื่อปรับสมดุลร่างกายในระหว่างการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน ดังนี้ […]

บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน

การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่มีแนวทางการรักษา ดังนี้ บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน หลายคนคงเคยคุ้นเคยกับโรค Office syndrome ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะหมายถึง อาการปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในการทำงานที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เช่น การนนั่งทำงานคอมพิวเตอร์ โดยไม่ขยับหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ อาการปวดจะเริ่มจากเพียงเล็กน้อยให้เริ่มรู้สึกไม่สบายตัวจนถึงปวดมากจนรบกวนการปฏิบัติงาน ซึ่งถ้าไม่รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ อาการปวดจะรุนแรงขึ้นหรือลามไปบริเวณใกล้เคียง บางคนอาจจะมีอาการชาหรืออาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่มีแนวทางการรักษา ดังนี้ รับประทานยาแก้ปวด ที่นิยมใช้ได้แก่ ยาพาราซีตามอล ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) ซึ่งการรับประทานยาจะแนะนำให้ใช้เฉพาะช่วงที่มีอาการปวด ไม่แนะนำให้รับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา จึงควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร การใช้ยาแก้ปวดแบบเฉพาะที่ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้ 2.1) มีตัวยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยพัฒนาเป็นรูปแบบยาใช้เฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของข้อและกล้ามเนื้อ และลดการเกิดผลข้างเคียงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาในรูปแบบรับประทาน รวมถึงเป็นทางเลือกโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กหรือสูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยารับประทาน ยากลุ่มนี้จะแนะนำให้ทาหรือพ่นยาในบริเวณที่มีอาการปวด โดยไม่ต้องถูนวด เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ 2.2) กลุ่มน้ำมันหอมระเหย ซึ่งออกฤทธิ์ที่ให้ความรู้สึกร้อนหรือเย็น โดยมีหลักการเลือกคล้ายกับการประคบร้อนหรือเย็นเมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เช่น สำหรับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันจะแนะนำเป็นตัวยาออกฤทธิ์เย็น เช่น menthol ขณะที่ตัวยาออกฤทธิ์ร้อน เช่น methyl […]

การใช้ยาชะลอความเสื่อมของข้อ เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis, OA) เป็นโรคเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะข้อเข่าซึ่งเป็นข้อที่มีการใช้งานมาก และต้องรับน้ำหนักตัวของเรา เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ ทำให้เมื่อมีการขยับข้อจะเกิดการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ รวมถึงน้ำในไขข้อที่เป็นตัวช่วยในการหล่อลื่นข้อลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเข่าเมื่อมีการเดินหรือเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาแก้ปวดหรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) นอกจากนี้ยังมียาเสริมการรักษา เรียกว่ากลุ่มยาชะลอความเสื่อมของข้อ (Symptomatic Slow Acting Drug of Osteoarthritis, SYSADOA) โดยยากลุ่มนี้จะแนะนำให้ใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากยาจะค่อยๆ ออกฤทธิ์กระตุ้นการสร้างส่วนที่สึกหรอ เช่น กระดูกอ่อน หรือน้ำเลี้ยงไขข้อ ขึ้นกับกลไกของตัวยา เช่น ยากลูโคซามีน จะแนะนำให้รับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 8 สัปดาห์ เพื่อประเมินผลการรักษา อย่างไรก็ตามแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นการใช้ยาอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ยาชะลอความเสื่อมของข้อ จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคข้อเข่าเสื่อมไม่ให้เข้าสู่ระยะที่รุนแรง เมื่อมีภาวะข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อเดินหรือขยับ อาจจะไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้สุด ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก นอกจากนี้ยาชะลอความเสื่อมของข้อ ยังช่วยลดการกินยาแก้ปวด ลดค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรครุนแรง สุดท้ายนอกจากการใช้ยา การแนะนำลดน้ำหนัก การบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า และปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวันให้กับผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการและชะลอความเสื่อมของโรคได้ แหล่งอ้างอิง กวินวงศ์โกวิท, ศ. น. ว., n.d. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. [Online] Available […]

แผลในปาก แสนแสบกับแผล (ไม่) เก่า แผลแบบไหนต้องไปหาหมอ

“อกพี่กลัดหนอง พี่หมองดั่งคลองแสนแสบ เจ็บจำดั่งหนามยอกแปลบๆ แสบแสนจะทน..” นี่คือเพลงแสนแสบ ของครูชาลี อินทรวิจิตร ประกอบภาพยนตร์เรื่องแผลเก่า แต่บางคนมีทั้งแผลเก่า และแผลใหม่ ในช่องปาก เป็นบ่อยเข้า จะยังเรียกว่าเป็นแค่ร้อนในแผลในปาก หรือจะมีโรคอื่นอันตรายกว่านั้น วันนี้เรามีข้อสังเกต เพื่อเฝ้าระวังแผลในปากที่ควรจะต้องพบแพทย์ ลักษณะของแผลในปากแบบทั่วไป ขนาดของแผล โดยทั่วไปจะไม่เกิน 1 ซม. แต่บางครั้งอาจจะมีแผลขนาดใหญ่กว่า 1 ซม. แต่จะไม่ใช่แผลลึก ระยะเวลาของแผล ใช้เวลา 1 – 2 สัปดาห์ ก็จะหายสนิท สาเหตุกระตุ้น เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การกัดโดนกระพุ้งแก้ม หรือการขูดเกี่ยวระหว่างแปรงฟัน หรือจากอุปกรณ์จัดฟัน หรือการรับประทานอาหารฤทธิ์ร้อน เป็นต้น อาการแผลในปากโดยทั่วไปสามารถบรรเทาได้ โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ การใช้ยาสเตียรอยด์ทาเฉพาะที่ และการรับประทานยาสมุนไพรเพื่อลดอาการร้อนใน ถ้าหากมีอาการแผลอักเสบรุนแรง หรือเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ เพราะอาจจะมีโรคอื่นร้ายแรง เช่น มะเร็งช่องปาก ซึ่งจะมีความแตกต่างจากลักษณะแผล หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผล แผลในปากเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวด และเป็นอุปสรรค ทั้งการกิน และการพูดคุย […]

ดูแลตัวเอง เมื่อเริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม

โรคเข่าเสื่อมเกิดจากการสลายของกระดูกอ่อนที่คั่นระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ทำให้กระดูกทั้งสองท่อนเสียดสีกันขณะมีการเคลื่อนไหวและเกิดเป็นอาการปวด บางครั้งมีอาการอักเสบของเยื่อบุข้อ ทำให้น้ำเยื่อบุข้อมีการสร้างมากขึ้น เกิดอาการข้อบวม อาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ อาการปวดข้อเข่า โดยจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ในผู้ที่อาการรุนแรงจะมีข้อผิดรูป เข่าบวมโต ขาโก่ง คำแนะนำสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการเข่าเสื่อม บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า โดยสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำของ สสส. และ โรงพยาบาลศิริราช หลีกเลี่ยงอิริยาบทต่างๆ ที่เป็นตัวเร่งส่งเสริมให้เกิดความเสื่อมในข้อเข่า ได้แก่ ท่านั่งยองๆ เช่น การใช้ส้วมซึม การนั่งซักผ้าด้วยเก้าอี้นั่งแบบเตี้ย ท่านั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ เช่น การนั่งสวดมนต์ นั่งรีดผ้า ท่าคุกเข่า เช่น การนั่งถูพื้น ลดน้ำหนักตัว เพื่อช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่า สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาข้อเข่า แนะนำให้ออกกำลังกายที่ไม่มีการกระแทกหรือลงน้ำหนักอย่างรุนแรงที่ข้อ ปั่นจักรยานบนเครื่อง เต้นลีลาศ รำมวยจีน ว่ายน้ำ ออกกำลังกายในน้ำ ลดอาการปวด เช่น ใช้ความร้อนประคบ ใช้ยาแก้ปวดแบบใช้ภายนอก รับประทานยาแก้ปวด ในผู้ป่วยที่มีอาการเข่าเสื่อมที่มากขึ้นให้ปรึกษาแพทย์ โดยอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาเพื่อชะลอความเสื่อมของโรคควบคู่ยาแก้ปวด แหล่งที่มา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, 2019. [ออนไลน์] Available at: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/985 คุปต์นิรัติศัยกุล, […]