Macrophar

บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน

การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่มีแนวทางการรักษา ดังนี้ บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน หลายคนคงเคยคุ้นเคยกับโรค Office syndrome ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะหมายถึง อาการปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในการทำงานที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เช่น การนนั่งทำงานคอมพิวเตอร์ โดยไม่ขยับหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ อาการปวดจะเริ่มจากเพียงเล็กน้อยให้เริ่มรู้สึกไม่สบายตัวจนถึงปวดมากจนรบกวนการปฏิบัติงาน ซึ่งถ้าไม่รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ อาการปวดจะรุนแรงขึ้นหรือลามไปบริเวณใกล้เคียง บางคนอาจจะมีอาการชาหรืออาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่มีแนวทางการรักษา ดังนี้ รับประทานยาแก้ปวด ที่นิยมใช้ได้แก่ ยาพาราซีตามอล ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) ซึ่งการรับประทานยาจะแนะนำให้ใช้เฉพาะช่วงที่มีอาการปวด ไม่แนะนำให้รับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา จึงควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร การใช้ยาแก้ปวดแบบเฉพาะที่ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้ 2.1) มีตัวยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยพัฒนาเป็นรูปแบบยาใช้เฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของข้อและกล้ามเนื้อ และลดการเกิดผลข้างเคียงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาในรูปแบบรับประทาน รวมถึงเป็นทางเลือกโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กหรือสูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยารับประทาน ยากลุ่มนี้จะแนะนำให้ทาหรือพ่นยาในบริเวณที่มีอาการปวด โดยไม่ต้องถูนวด เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ 2.2) กลุ่มน้ำมันหอมระเหย ซึ่งออกฤทธิ์ที่ให้ความรู้สึกร้อนหรือเย็น โดยมีหลักการเลือกคล้ายกับการประคบร้อนหรือเย็นเมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เช่น สำหรับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันจะแนะนำเป็นตัวยาออกฤทธิ์เย็น เช่น menthol ขณะที่ตัวยาออกฤทธิ์ร้อน เช่น methyl […]

การใช้ยาชะลอความเสื่อมของข้อ เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis, OA) เป็นโรคเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะข้อเข่าซึ่งเป็นข้อที่มีการใช้งานมาก และต้องรับน้ำหนักตัวของเรา เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ ทำให้เมื่อมีการขยับข้อจะเกิดการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ รวมถึงน้ำในไขข้อที่เป็นตัวช่วยในการหล่อลื่นข้อลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเข่าเมื่อมีการเดินหรือเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาแก้ปวดหรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) นอกจากนี้ยังมียาเสริมการรักษา เรียกว่ากลุ่มยาชะลอความเสื่อมของข้อ (Symptomatic Slow Acting Drug of Osteoarthritis, SYSADOA) โดยยากลุ่มนี้จะแนะนำให้ใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากยาจะค่อยๆ ออกฤทธิ์กระตุ้นการสร้างส่วนที่สึกหรอ เช่น กระดูกอ่อน หรือน้ำเลี้ยงไขข้อ ขึ้นกับกลไกของตัวยา เช่น ยากลูโคซามีน จะแนะนำให้รับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 8 สัปดาห์ เพื่อประเมินผลการรักษา อย่างไรก็ตามแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นการใช้ยาอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ยาชะลอความเสื่อมของข้อ จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคข้อเข่าเสื่อมไม่ให้เข้าสู่ระยะที่รุนแรง เมื่อมีภาวะข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อเดินหรือขยับ อาจจะไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้สุด ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก นอกจากนี้ยาชะลอความเสื่อมของข้อ ยังช่วยลดการกินยาแก้ปวด ลดค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรครุนแรง สุดท้ายนอกจากการใช้ยา การแนะนำลดน้ำหนัก การบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า และปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวันให้กับผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการและชะลอความเสื่อมของโรคได้ แหล่งอ้างอิง กวินวงศ์โกวิท, ศ. น. ว., n.d. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. [Online] Available […]

แผลในปาก แสนแสบกับแผล (ไม่) เก่า แผลแบบไหนต้องไปหาหมอ

“อกพี่กลัดหนอง พี่หมองดั่งคลองแสนแสบ เจ็บจำดั่งหนามยอกแปลบๆ แสบแสนจะทน..” นี่คือเพลงแสนแสบ ของครูชาลี อินทรวิจิตร ประกอบภาพยนตร์เรื่องแผลเก่า แต่บางคนมีทั้งแผลเก่า และแผลใหม่ ในช่องปาก เป็นบ่อยเข้า จะยังเรียกว่าเป็นแค่ร้อนในแผลในปาก หรือจะมีโรคอื่นอันตรายกว่านั้น วันนี้เรามีข้อสังเกต เพื่อเฝ้าระวังแผลในปากที่ควรจะต้องพบแพทย์ ลักษณะของแผลในปากแบบทั่วไป ขนาดของแผล โดยทั่วไปจะไม่เกิน 1 ซม. แต่บางครั้งอาจจะมีแผลขนาดใหญ่กว่า 1 ซม. แต่จะไม่ใช่แผลลึก ระยะเวลาของแผล ใช้เวลา 1 – 2 สัปดาห์ ก็จะหายสนิท สาเหตุกระตุ้น เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การกัดโดนกระพุ้งแก้ม หรือการขูดเกี่ยวระหว่างแปรงฟัน หรือจากอุปกรณ์จัดฟัน หรือการรับประทานอาหารฤทธิ์ร้อน เป็นต้น อาการแผลในปากโดยทั่วไปสามารถบรรเทาได้ โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ การใช้ยาสเตียรอยด์ทาเฉพาะที่ และการรับประทานยาสมุนไพรเพื่อลดอาการร้อนใน ถ้าหากมีอาการแผลอักเสบรุนแรง หรือเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ เพราะอาจจะมีโรคอื่นร้ายแรง เช่น มะเร็งช่องปาก ซึ่งจะมีความแตกต่างจากลักษณะแผล หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผล แผลในปากเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวด และเป็นอุปสรรค ทั้งการกิน และการพูดคุย […]

ดูแลตัวเอง เมื่อเริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม

โรคเข่าเสื่อมเกิดจากการสลายของกระดูกอ่อนที่คั่นระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ทำให้กระดูกทั้งสองท่อนเสียดสีกันขณะมีการเคลื่อนไหวและเกิดเป็นอาการปวด บางครั้งมีอาการอักเสบของเยื่อบุข้อ ทำให้น้ำเยื่อบุข้อมีการสร้างมากขึ้น เกิดอาการข้อบวม อาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ อาการปวดข้อเข่า โดยจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ในผู้ที่อาการรุนแรงจะมีข้อผิดรูป เข่าบวมโต ขาโก่ง คำแนะนำสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการเข่าเสื่อม บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า โดยสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำของ สสส. และ โรงพยาบาลศิริราช หลีกเลี่ยงอิริยาบทต่างๆ ที่เป็นตัวเร่งส่งเสริมให้เกิดความเสื่อมในข้อเข่า ได้แก่ ท่านั่งยองๆ เช่น การใช้ส้วมซึม การนั่งซักผ้าด้วยเก้าอี้นั่งแบบเตี้ย ท่านั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ เช่น การนั่งสวดมนต์ นั่งรีดผ้า ท่าคุกเข่า เช่น การนั่งถูพื้น ลดน้ำหนักตัว เพื่อช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่า สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาข้อเข่า แนะนำให้ออกกำลังกายที่ไม่มีการกระแทกหรือลงน้ำหนักอย่างรุนแรงที่ข้อ ปั่นจักรยานบนเครื่อง เต้นลีลาศ รำมวยจีน ว่ายน้ำ ออกกำลังกายในน้ำ ลดอาการปวด เช่น ใช้ความร้อนประคบ ใช้ยาแก้ปวดแบบใช้ภายนอก รับประทานยาแก้ปวด ในผู้ป่วยที่มีอาการเข่าเสื่อมที่มากขึ้นให้ปรึกษาแพทย์ โดยอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาเพื่อชะลอความเสื่อมของโรคควบคู่ยาแก้ปวด แหล่งที่มา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, 2019. [ออนไลน์] Available at: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/985 คุปต์นิรัติศัยกุล, […]