Macrophar

รู้จักโอเมก้า-3  ไขมันดีที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้

ในยุคที่คนให้ความสำคัญกับ “การดูแลสุขภาพเชิงลึก” มากกว่าการรักษาเพียงปลายเหตุ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกสำคัญที่คนรุ่นใหม่เลือกใช้ แต่คำถามที่ยังค้างคาใจหลายคนคือ “เราควรเริ่มจากอะไร?” และ “ปลอดภัยจริงไหม?” หนึ่งในคำตอบที่วงการแพทย์ทั่วโลกให้การยอมรับมากที่สุด คือ “โอเมก้า-3” โดยเฉพาะในรูปแบบของ Fish Oil (น้ำมันปลา) ซึ่งไม่ใช่แค่กระแสนิยม แต่คือสารอาหารที่วิจัยมาแล้วนับพันชิ้นว่าเกี่ยวข้องกับ การทำงานของหัวใจสมองระบบภูมิคุ้มกันและการลดการอักเสบภายในร่างกาย ทำความรู้จัก “โอเมก้า-3” ให้ลึกกว่าเดิม โอเมก้า-3 คือกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acids) ที่ร่างกาย จำเป็นต้องใช้ แต่ ไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ซึ่งโอเมก้า-3 หลัก ๆ ที่สำคัญมีอยู่ 3 ชนิด คือ ร่างกายสามารถแปลง ALA เป็น EPA และ DHA ได้บ้าง แต่ในสัดส่วนที่น้อยมาก (น้อยกว่า 10%) ดังนั้นการบริโภค EPA และ DHA จากปลาหรืออาหารเสริมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง 1. หัวใจและหลอดเลือด : เพราะโรคหัวใจไม่ใช่เรื่องของ “ผู้สูงอายุ” เท่านั้น จากสถิติของกรมควบคุมโรค โรคหัวใจยังคงเป็น สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย และเริ่มพบในคนอายุน้อยลงทุกปีสาเหตุหลักมาจาก พฤติกรรมการกินการใช้ชีวิตและภาวะไขมันในเลือดสูง โอเมก้า-3 มีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการดูแลระบบหัวใจ ช่วยลดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ไขมันดี) และลด LDL (ไขมันเลว) ลดความดันโลหิต ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และลดการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหัวใจ 2. สมองและความจำ : ไขมันดีที่สมองขาดไม่ได้ รู้ไหมว่า สมองของมนุษย์ประกอบด้วยไขมันมากถึง 60% และ DHA คือไขมันตัวสำคัญที่มีอยู่มากในเนื้อเยื่อสมอง โดยเฉพาะในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความจำ และการควบคุมอารมณ์ การขาด DHA จึงมีผลโดยตรงต่อสมรรถภาพทางสมอง และยังสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ เช่น สมาธิสั้นในเด็ก (ADHD) อัลไซเมอร์ ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติของอารมณ์ในผู้ใหญ่ ในทางกลับกัน การเสริมโอเมก้า-3 เป็นประจำจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำ ลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า ทำให้โฟกัสงานได้ดีขึ้น และชะลอการเสื่อมของสมองในระยะยาว 3. การอักเสบเรื้อรัง : ศัตรูเงียบของร่างกายที่หลายคนมองข้าม หลายโรคที่เราพบในชีวิตประจำวัน เช่น ปวดข้อ ปวดเข่า โรคผิวหนังเรื้อรัง ลำไส้แปรปรวน (IBS) ภูมิแพ้ หรือแม้แต่โรคอ้วน ล้วนมีรากฐานจากสิ่งที่เรียกว่า “การอักเสบเรื้อรัง” ซึ่งไม่ได้แสดงอาการทันที แต่ค่อย ๆ ทำลายระบบภายในอย่างต่อเนื่อง โอเมก้า-3 มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเข้าไปลดระดับสารก่อการอักเสบในร่างกาย เช่น Cytokines และ Prostaglandins ทำให้เนื้อเยื่อกลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล 4. ผิวหนังและความชุ่มชื้น : ความงามจากภายใน หลายคนไม่รู้ว่าโอเมก้า-3 มีผลต่อผิวหนังเช่นเดียวกับหัวใจและสมอง ช่วยในเรื่องลดการอักเสบของผิว เช่น ผื่น แพ้ แดง ช่วยให้ผิวไม่แห้งลอกง่าย เพิ่มความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ และชะลอการเกิดริ้วรอยจากภายใน 5. ดวงตาและการมองเห็น : ลดอาการล้าตาจากหน้าจอ ในยุคที่คนทำงานหน้าจอวันละ 8–10 ชั่วโมง การมองเห็นเริ่มมีปัญหาเร็วกว่าที่เคย โอเมก้า-3 โดยเฉพาะ DHA มีบทบาทสำคัญในการป้องกันอาการตาแห้ง ตาล้า และป้องกันจอประสาทตาเสื่อมในระยะยาว สุขภาพดีไม่ใช่เรื่องของโชคดี แต่คือผลลัพธ์ของการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ โอเมก้า-3 ไม่ใช่ยาวิเศษ แต่คือ “สารอาหารที่ร่างกายคุณต้องการ” ในทุกช่วงอายุ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและดูแลร่างกายเชิงลึกตั้งแต่วันนี้ จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงโรคเรื้อรัง ซึมเศร้า ความจำเสื่อม ปวดข้อ หรือแม้แต่ความอ่อนล้าทางจิตใจ ที่ไม่ควรมองข้าม ลองเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ อย่าง D’LeVer Fish Oil สกัดจากปลาทะเลน้ำลึกมีปริมาณ EPA และ DHA สูงในแคปซูลเดียว เหมาะกับทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะวัยเรียน วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ

ดูแลหัวใจ เติมพลังให้ร่างกายด้วย D’LeVer Co Q-10 เพื่อสุขภาพที่ดี

โคเอนไซม์คิวเท็น (CoQ10) หรือที่รู้จักกันในชื่อยูบิควิโนน (Ubiquinone) เป็นสารประกอบที่พบได้ตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการผลิตพลังงานของเซลล์ เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่หล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งที่มาของโคเอนไซม์คิวเท็น ร่างกายมนุษย์สามารถผลิตโคเอนไซม์คิวเท็นได้เองตามธรรมชาติ แต่ปริมาณการผลิตจะลดลงตามวัย นอกจากนี้ยังสามารถพบโคเอนไซม์คิวเท็นได้ในอาหารบางชนิด เช่น ข้อควรระวัง:

วัดความดันโลหิตอย่างไร ให้ถูกต้อง

สำหรับผู้ที่จะวัดความดันโลหิตเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำ โดยมีคำแนะนำจากสมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ดังนี้ ไม่ดื่มชาหรือกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ ก่อนทำการวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการปวดปัสสาวะควรแนะนำให้ไปปัสสาวะก่อน นั่งพักบนเก้าอี้ในห้องที่เงียบสงบเป็นเวลา 5 นาที หลังพิงพนักเพื่อไม่ต้องเกร็งหลัง เท้า 2 ข้างวางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ห้าง ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้าและขณะวัดความดันโลหิต วางแขนซ้ายหรือขวาที่จะทำการวัดอยู่บนโต๊ะโดยให้บริเวณที่จะพัน arm cuff อยู่ระดับเดียวกับระดับหัวใจ ไม่เกร็งแขนหรือกำมือในขณะทำการวัดความดันโลหิต ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

วัดความดันโลหิตที่บ้าน วัดเวลาไหน ? ช่วย⁠คุม⁠ความ⁠ดัน⁠ได้⁠ดี⁠ขึ้น

การวัดความดันโลหิตที่บ้านมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วย รับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง และทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้การวัดความดันโลหิตที่บ้านในการช่วยการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรค⁠ความดันโลหิตสูง โดยแนะนำให้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพา ทำงานอัตโนมัติวัดบริเวณต้นแขนและ⁠ควร⁠เป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากสถาบันกำหนดมาตรฐาน ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องชนิดที่วัดบริเวณข้อมือหรือปลายนิ้ว ยกเว้น⁠ในกรณีที่การวัดความดันโลหิตบริเวณต้นแขนทำได้ลำบาก เช่น ในผู้ป่วยที่อ้วนมาก เป็นต้น แนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้านวันละ 2 ช่วงเวลา โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้ วัดความดันโลหิตในท่านั่ง เท้าทั้งสองวางราบกับพื้นและวัดความดันโลหิตหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 2 นาที วัดความดันโลหิตวันละ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยแต่ละช่วงเวลาให้วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 นาที ควรวัดติดต่อกัน 7 วันหรืออย่างน้อย 3 วัน ช่วงเช้าควรวัดความดันโลหิตภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน และหลังจากปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว ควร⁠วัด⁠ความ⁠ดันโลหิตก่อนรับประทานอาหารเช้า และก่อนรับประทานยาลดความดันโลหิต (ถ้ามี) รอบค่ำ ควรวัดก่อนเข้านอน ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

ปัจจัยอะไรบ้าง? ที่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด

1. อายุ ปริมาณของไขมันในเลือดแปรตามอายุ พบว่าไขมันที่วัดได้จากเลือดสายสะดือของเด็กแรกเกิดตํ่ามากและ⁠จะ⁠เพิ่ม⁠ขึ้น⁠เร็ว⁠มากในวัยเด็ก แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะเพิ่มขึ้นทีละน้อย ระดับแอลดีแอลจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงอายุ 60 ปี 2. เพศ ความแตกต่างระหว่าเพศมีผลต่อระดับ ไตรกลีเซอไรด์มากกว่าระดับของโคเลสเตอรอล โดยพบว่าเพศชายมี⁠ระ⁠ดับ⁠ไตร⁠กลี⁠เซอ⁠ไรด์⁠สูงกว่าเพศหญิงทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20–39 ปี ระ⁠ดับ⁠ไตร⁠กลี⁠เซอ⁠ไรด์⁠ในเพศชายจะสูง⁠กว่า⁠เพศหญิงถึงร้อยละ 40 แต่ความแตกต่างจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น สำหรับระดับของโคเลสเตอรอลพบ⁠ว่า⁠แตก⁠ต่าง⁠กัน⁠ไม่⁠มาก แต่ระยะหนุ่มสาว ค่าของโคเลสเตอรอลในชายจะสูงกว่าหญิง จนเมื่อวัย 40-50 ปี หญิง⁠จะ⁠มี⁠ระ⁠ดับ⁠โค⁠เลส⁠เตอ⁠รอลสูงกว่าชาย 3. อาหาร ตามปกติร่างกายจะสามารถสร้างหรือผลิตสารโคเลสเตอรอลขึ้นในร่างกายได้เองเป็นส่วนใหญ่ และ⁠สาร⁠โค⁠เลส⁠เตอ⁠รอลที่มีอยู่ในร่างกายส่วนใหญ่ก็ได้จากส่วนที่ร่างกายสร้างขึ้นมากกว่าจากอาหารที่บริโภค แต่⁠อา⁠หาร⁠อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลระดับโคเลสเตอรอล 4. การออกกำลังกาย จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและเพิ่มเอชดีแอล อีกทั้งยังช่วยลดนํ้าหนักด้วย 5. บุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เอชดีแอลลดลงได้มากกว่าร้อยละ 15 และพบว่าการเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ระดับไขมันเอชดีแอลกลับสู่ระดับปกติ 6. กรรมพันธุ์ ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์เกิดจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรมในการสร้างหรือการเผา⁠ผลาญ⁠แอล⁠ดี⁠แอล จึงทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง 7. แอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำให้มีไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น 8. ความอ้วน ผู้ที่อ้วนจะมีระดับแอลดีแอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง 9. ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดจะทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญสูงมากขึ้น แต่ไม่สามารถนำแอลดีแอลไปใช้ได้ จึงทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น 10. สาเหตุอื่นๆ ห้องปฏิบัติการและวิธีวิเคราะห์ไขมันแตกต่างกันและความเจ็บป่วยก็มีผลทำให้เกิดการรบกวนต่อเม⁠ตา⁠บอ⁠ลิ⁠ซึม⁠ของระดับไขมันในเลือด ดังนั้นควรตรวจซํ้าอีกภายหลังจากหายป่วย 2-3 สัปดาห์ ที่มา: ความรู้เรื่องภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ Dyslipidemia. พีระ สมบัติดี, สายสมร พลดงนอก, ⁠สิทธิชัย เนตร⁠วิ⁠จิตร⁠พันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.ขอนแก่น : หน่วยสร้างเสริมสุขภาพงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์, 2558.

มาทำความรู้จัก ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) หมายถึง – ภาวะที่มีโคเลสเตอรอล (Cholesterol) อยู่ในเลือดสูงมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) มากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นตํ่า (Low Density Lipoprotein : LDL) มากกว่า 160 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (High Density Lipoprotein : HDL) ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยต้องเจาะเลือดตรวจซํ้ากัน 2-3 ครั้ง ห่างกัน ครั้งละ 2-3 สัปดาห์และเป็นการเจาะเลือดในตอนเช้าหลังนอนพักผ่อนมาเต็มที่และงดอาหารเครื่องดื่มต่างๆเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ชั่วโมงแล้ว ภาวะดังกล่าวเป็นภาวะที่พบมากขึ้นในคนไทยที่มีการ⁠ดำ⁠เนิน⁠ชีวิตแบบเมือง คล้ายคนในประเทศตะวันตก ภาวะที่เกิดขึ้นนี้สัมพันธ์กับ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปัจจุบัน⁠เป็น⁠ที่⁠น่าวิตกมากสำหรับคนทั่วไป เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค⁠หลอด⁠เลือด⁠แข็ง⁠ตัว (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้นับเป็นโรคร้ายอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ที่มา: ความรู้เรื่องภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ Dyslipidemia. พีระ สมบัติดี,สายสมร พลดงนอก, สิทธิชัย เนตรวิจิตรพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.ขอนแก่น : หน่วยสร้างเสริมสุขภาพงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์, 2558.