Macrophar

ท้องเสียพร้อมกับมีไข้ จะใช่ Covid-19 หรือเปล่านะ

จากสถานการณ์ของโรคติดต่อ Covid-19 ที่อาจจะทำให้มีอาการปอดอักเสบรุนแรง ทำให้หลายคนที่มีการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ไอ รวมถึงอาการท้องเสีย วิตกกังวลว่าตนเองจะเจ็บป่วยจากเชื้อ Covid-19 หรือไม่ โดยสรุปล่าสุดขององค์การอนามัยโลก โรค Covid-19 ผู้ป่วยมักจะมีอาการ ดังนี้ – อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้ (> 37.3 °C) ไอแห้ง อ่อนเพลีย – อาการที่พบได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามตัว คัดจมูก น้ำมูกไหล สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส ดังนั้นถ้าเราพบว่ามีอาการท้องเสียร่วมกับมีไข้ แล้วเกิดกังวลว่าจะเป็น Covid-19 ให้เริ่มจากทำแบบประเมินความเสี่ยงของโรค Covid-19 เนื่องจาก Covid-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมด้วย นอกจากนี้อาการไข้ ยังเป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีอาการท้องเสียทั้งจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ถ้าทำแบบประเมินความ⁠เสี่ยงแล้วอยู่ในระดับต่ำ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อรับประทานยาบรรเทาอาการท้องเสียที่เหมาะสม และเนื่องจากท้องเสีย เป็นโรคที่พบได้กับทุกวัย และไม่สามารถคาดการณ์ที่จะเกิดเวลาได้ เราอาจจะมียาแก้ท้องเสียสำรองไว้ที่บ้าน เพื่อบรรเทาอาการให้ทันท่วงที เช่น เกลือแร่ ORS และยาแก้ท้องเสีย เช่น […]

ท้องเสีย..แต่ทำไมไม่ได้ยาปฏิชีวนะ

โรคท้องเสีย หมายถึงอาการถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อ⁠โรคปน⁠เปื้อน หรือรับประทานอาหารรส⁠จัด หรือเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หลายครั้งโรคท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดัง⁠นั้นจึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะซึ่งออกฤทธิ์สำหรับโรคติดเชื้อแบคทีเรีย โดยแพทย์หรือเภสัชกรจะซักอาการของโรค เช่น ถ้าอาการถ่ายท้องเสียไม่มีมูกเลือดปน ไม่มีไข้⁠สูง และมีอา⁠เจียนร่วมด้วย มักจะเป็นอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาเมื่อมีอาการดังกล่าว ให้ผู้ป่วยดื่มเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยแร่ธาตุที่สูญเสียจากการขับถ่าย และรับประทานยาแก้ท้องเสียเพื่อช่วยให้หายได้เร็วขึ้น เช่น ตัวยา Dioctahedral smectite ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับเชื้อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta มีตัวยา Dioctahedral smectite ซอง⁠ละ 3 กรัม อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าท้องเสียแต่เภสัชไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ อาจจะได้ยาอื่นทดแทนซึ่งเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมปรึกษาได้ที่เภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน แหล่งข้อมูลอ้างอิง กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (n.d.). ท้องเสียอย่างไรต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ. Retrieved from http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=62&content_id=1321 ท้องเสียเฉียบพลัน จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่. (n.d.). Retrieved from เกร็ดความรู้สู่ประชาชน โดยนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=2 สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. […]

ทำไมต้องมีกลิ่นปากหลังตื่นนอน

กลิ่นปากเป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจ กังวลว่าคนรอบข้างจะรับรู้ถึงปัญหานี้ ครั้งกลิ่นปากเกิดจากปัญหาสุขภาพในช่องปาก เช่น การมีฟันผุ แผลในปาก โรคเหงือกอักเสบ และรวมไปถึงภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อยด้วย ภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อย มีสาเหตุได้ ดังต่อไปนี้ พฤติกรรมการดื่มน้ำน้อยในระหว่างวัน การรับประทานยาบางกลุ่ม เช่น ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก โดยอาการปากแห้งจะดีขึ้นหลังจากหยุดยา ความเครียด หรือวิตกกังวล ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นการผลิตน้ำลายลดลง อายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือการมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ ภาวะน้ำลายน้อยเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกลิ่นปากได้ เนื่องจากโดยปกติน้ำลายจะเป็นตัวช่วยถ่ายสิ่งตกค้างในช่องปากรวมถึงให้ลงสู่ระบบย่อยอาหาร ไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับการที่เรามีกลิ่นปากหลังจากตื่นนอนนั้น เนื่องมาจากตอนนอนร่างกายจะผลิตน้ำลายเพียงครึ่งหนึ่งของตอนกลางวัน รวมถึงการที่เราไม่ได้ดื่มน้ำติดต่อกัน 6 – 7 ชั่วโมง ทำให้เมื่อตื่นเราจะรู้สึกว่ามีกลิ่นปากซึ่งมาจากการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากนั่นเอง สำหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อย และกังวลว่าจะมีกลิ่นปาก สามารถป้องกันหรือลดการเกิดกลิ่นปากได้ ดังนี้ ดื่มน้ำ อย่างสม่ำเสมอ วันละ 8 – 10 แก้ว รับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน หากิจกรรมดูแลตนเองเพื่อคลายความเครียด หรือวิตกกังวล ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพในช่องปากที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้ง เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื่นในช่องปาก แหล่งที่มา · โอปิลันธน์, ท., […]

อากาศเปลี่ยนทีไร ทำเราป่วยทุกที

ฮัดชิ้ว! ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มลพิษทางอากาศก็เยอะ จนหลายคนต้องล้มป่วยเพราะร่างกายปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้เกิดอาการแพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจามอยู่บ่อย ๆ  และยังเป็นไข้กันอีก การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้กำเริบ รวมถึงอาการจากโรคหวัด ภูมิแพ้ มีน้ำมูก ให้รับประทานยาแก้แพ้(Anti-histamine) โดยยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 จะสามารถบรรเทาอาการทั้งน้ำมูกไหลและแก้คัดจมูกร่วมด้วยแต่มีผลทำให้ง่วงซึม ไอเนื่องจากหวัด หากมีอาการไอแห้งให้รับประทานยาที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอ แต่ถ้ามีเสมหะร่วมด้วยสามารถรับประทานยากดศูนย์ควบคุมการไอควบคู่กับยาแก้ไอแบบมีเสมหะ หรือจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ มีไข้ ตัวร้อน สามารถใช้ตัวยาParacetamol ซึ่งเป็นยาลดไข้ที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หลายครั้งการป่วยเป็นหวัด จะมีหลายอาการเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันสามารถเลือกยาที่พัฒนาในรูปแบบตัวยาผสม เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทานยารวมถึงขนาดของตัวยาสำคัญต่อเม็ด โดยเฉพาะเด็กอายุ ต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งต้องคำนวณขนาดของตัวยาบาง  ตัวตามน้ำหนักตัว เพื่อให้ได้รับยาในขนาดที่เหมาะสมนอกจากนี้รูปแบบยาที่แตกต่างกัน เช่น ยารูปแบบแคปซูลนิ่ม ซึ่งภายในจะบรรจุตัวยาเป็นของเหลว จะช่วยให้การดูดซึมเพื่อออกฤทธิ์ได้รวดเร็วกว่ารูปแบบยาเม็ดอย่าลืมคอยสังเกตตัวเอง และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีต่าง ๆหรือ อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ รวมถึงใช้น้ำเกลือทำความสะอาดโพรงจมูกเป็นประจำและที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา ด้วยความห่วงใยจากบริษัท แมคโครฟาร์ #MacroPhar

ปรับสมดุลคนทำงานออฟฟิศ พิชิต 2 ม. (เมื่อยตัว เมื่อยตา)

กรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำเพื่อปรับสมดุลร่างกายในระหว่างการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน ดังนี้ ปัจจุบันปัญหาโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดเนื่องจากการทำงาน (Work – related musculoskeletal disorders) โดยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องจากสภาพการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรค และการเกิดโรคในระยะยาว หากไม่มีการปรับปรุง ได้แก่ ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่านั่ง การยกของ การทำกิจกรรมในท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบท การเคลื่อนไหว แบบซ้ำๆ มีแนวโน้มทำให้เกิดการบาดเจ็บสะสมได้ ก า ร บ ริห า ร จัด ก า ร แ ล ะ จิต สัง ค ม – การบริหารจัดการทีดี เช่น การสับเปลี่ยนหมุนเวียนตำแหน่ง การกำหนดภาระหน้าที่ ระยะเวลาในการทำงาน และช่วงเวลาพัก จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการได้รับบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้ ทั้งนี้สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำเพื่อปรับสมดุลร่างกายในระหว่างการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน ดังนี้ […]

บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน

การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่มีแนวทางการรักษา ดังนี้ บรรเทาอาการปวดแบบไม่ใช้ยารับประทาน หลายคนคงเคยคุ้นเคยกับโรค Office syndrome ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะหมายถึง อาการปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในการทำงานที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เช่น การนนั่งทำงานคอมพิวเตอร์ โดยไม่ขยับหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ อาการปวดจะเริ่มจากเพียงเล็กน้อยให้เริ่มรู้สึกไม่สบายตัวจนถึงปวดมากจนรบกวนการปฏิบัติงาน ซึ่งถ้าไม่รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ อาการปวดจะรุนแรงขึ้นหรือลามไปบริเวณใกล้เคียง บางคนอาจจะมีอาการชาหรืออาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่มีแนวทางการรักษา ดังนี้ รับประทานยาแก้ปวด ที่นิยมใช้ได้แก่ ยาพาราซีตามอล ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) ซึ่งการรับประทานยาจะแนะนำให้ใช้เฉพาะช่วงที่มีอาการปวด ไม่แนะนำให้รับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา จึงควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร การใช้ยาแก้ปวดแบบเฉพาะที่ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้ 2.1) มีตัวยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยพัฒนาเป็นรูปแบบยาใช้เฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของข้อและกล้ามเนื้อ และลดการเกิดผลข้างเคียงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาในรูปแบบรับประทาน รวมถึงเป็นทางเลือกโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กหรือสูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยารับประทาน ยากลุ่มนี้จะแนะนำให้ทาหรือพ่นยาในบริเวณที่มีอาการปวด โดยไม่ต้องถูนวด เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ 2.2) กลุ่มน้ำมันหอมระเหย ซึ่งออกฤทธิ์ที่ให้ความรู้สึกร้อนหรือเย็น โดยมีหลักการเลือกคล้ายกับการประคบร้อนหรือเย็นเมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เช่น สำหรับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันจะแนะนำเป็นตัวยาออกฤทธิ์เย็น เช่น menthol ขณะที่ตัวยาออกฤทธิ์ร้อน เช่น methyl […]

การใช้ยาชะลอความเสื่อมของข้อ เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis, OA) เป็นโรคเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะข้อเข่าซึ่งเป็นข้อที่มีการใช้งานมาก และต้องรับน้ำหนักตัวของเรา เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ ทำให้เมื่อมีการขยับข้อจะเกิดการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ รวมถึงน้ำในไขข้อที่เป็นตัวช่วยในการหล่อลื่นข้อลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเข่าเมื่อมีการเดินหรือเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาแก้ปวดหรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) นอกจากนี้ยังมียาเสริมการรักษา เรียกว่ากลุ่มยาชะลอความเสื่อมของข้อ (Symptomatic Slow Acting Drug of Osteoarthritis, SYSADOA) โดยยากลุ่มนี้จะแนะนำให้ใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากยาจะค่อยๆ ออกฤทธิ์กระตุ้นการสร้างส่วนที่สึกหรอ เช่น กระดูกอ่อน หรือน้ำเลี้ยงไขข้อ ขึ้นกับกลไกของตัวยา เช่น ยากลูโคซามีน จะแนะนำให้รับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 8 สัปดาห์ เพื่อประเมินผลการรักษา อย่างไรก็ตามแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นการใช้ยาอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ยาชะลอความเสื่อมของข้อ จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคข้อเข่าเสื่อมไม่ให้เข้าสู่ระยะที่รุนแรง เมื่อมีภาวะข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อเดินหรือขยับ อาจจะไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้สุด ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก นอกจากนี้ยาชะลอความเสื่อมของข้อ ยังช่วยลดการกินยาแก้ปวด ลดค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรครุนแรง สุดท้ายนอกจากการใช้ยา การแนะนำลดน้ำหนัก การบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า และปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวันให้กับผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการและชะลอความเสื่อมของโรคได้ แหล่งอ้างอิง กวินวงศ์โกวิท, ศ. น. ว., n.d. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. [Online] Available […]