Macrophar

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคท้องเสีย (Diarrhea)

อาการของระบบอาหารนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่กับเด็กนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่อันตรายได้ ระบบทางเดินอาหารนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงตามภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะจากอาหารหรือวิถีชีวิต การสัมผัสกับสิ่งที่ร่างกายไม่คุ้นเคย เช่น ไวรัสหรือแบคทีเรีย สามารถทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินอาหารได้หลายอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องบิด หรือที่พบได้มาก คือ อาการอุจจาระร่วง อะไรคืออาการอุจจาระร่วง? อุจจาระร่วง คือ อาการที่อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำที่เกิดขึ้นบ่อย ฉับพลัน โดยอย่างน้อย คือ สามครั้งต่อวัน มันมีอาการปวดท้อง ปวดบิด คลื่นไส้ มีลมในท้อง หรือท้องอืด อาการอุจจาระร่วงที่หายภายในไม่กี่วัน เรียกว่า อุจจาระร่วงเฉียบพลัน สำหรับในกรณีที่เป็นนานมากกว่านั้น คือ อุจจาระร่วงเรื้อรัง สามารถเป็นได้นานถึงสัปดาห์หรือเดือน ซึ่งเป็นอาการที่นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและควรที่จะต้องได้รับการดูแล อาการอุจจาระร่วงนั้นเป็นเรื่องที่พบบ่อย ผู้ใหญ่ประเทศสหรัฐอเมริกันเกือบทุกคนมักจะมีอุจจาระร่วงประมาณ 4 ครั้งต่อปี เด็กจะป่วยเป็นอุจจาระร่วงมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ครั้งจนถึงอายุ 5 ปี หลายอย่างสามารถกระตุ้นอุจจาระร่วงได้ ได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ ผลข้างเคียงจากยา โรคลำไส้บางชนิด เช่น Celiac disease, Crohn’s disease […]

ป้องกันการเกิดสิว

สิว (Acne) เป็นการอักเสบของผิวหนังที่มีการอุดตันของน้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วบริเวณรูขุมขน เกิดเป็นจุดเล็ก ๆ ที่อักเสบ บวมแดง หรือมีหนอง ส่วนมากจะเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก ไหล่ หรือหลัง การเกิดสิวพบมากในช่วงวัยรุ่นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยทั่วไปสิวมักจะหายไปหรือทุเลาลงเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาการของสิว ลักษณะและอาการที่ปรากฏขึ้นอยู่กับประเภทของสิวแต่ละชนิดและความรุนแรงของการอักเสบด้วย ซึ่งได้แก่ สิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวตุ่ม สิวหัวหนอง สิวก้อนลึก และสิวซีสต์ โดยอาการที่พบ เช่น ตุ่มอักเสบมีหนองสีขาว มีจุดหัวสิวสีดำ มีตุ่มแดงเล็ก ๆ มีตุ่มนูนเป็นผดแดง มีตุ่มเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัง และเกิดความเจ็บปวดบริเวณที่เป็นสิว สาเหตุของการเกิดสิว สิวเกิดจากการอุดตันที่รูขุมขนบริเวณผิวหนัง ปัจจัยหลักในการเกิดสิว คือ ร่างกายผลิตน้ำมันที่ชั้นผิวหนังมากเกินไป เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วไปอุดตันรูขุมขน และการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตในช่วงวัยรุ่นก็อาจทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน แม้ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนที่พิสูจน์ได้ว่าปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการเกิดสิว เช่น การกินอาหาร หรือการมีสุขลักษณะที่ไม่ดี แต่การดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย ย่อมเกิดประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวม การวินิจฉัยสิว ตรวจดูบริเวณผิวหนังที่เกิดสิว ว่าเป็นสิวชนิดใด มีความรุนแรงของการอักเสบในระดับใด วิเคราะห์จากลักษณะภายนอกที่พบ ระยะเวลาที่สิวอักเสบ และความเจ็บปวดที่เกิดจากการอักเสบของสิว โดยสามารถตรวจดูเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หรือไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยก่อนวางแผนการรักษาต่อไป การรักษาสิว สามารถรักษาได้ด้วยตนเองโดยใช้ยาหรือครีมตามร้านขายยาที่มีใบรับรอง โดยให้เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญช่วยแนะนำได้ […]

ฟ้าทะลายโจร ช่วยรักษาอาการป่วยใดได้บ้าง

ฟ้าทะลายโจรเป็นชื่อสมุนไพรที่เราคุ้นหูกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมาที่มีข่าวว่าอาจจะสามารถใช้รักษาหรือป้องกันโรค Covid-19 ได้ ทำให้คนส่วนใหญ่สนใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ยาฟ้าทะลายโจรมารับประทาน วันนี้เราจะมาทบทวนอีกครั้งว่าฟ้าทะลายโจรสามารถใช้รักษาอาการป่วยใดได้บ้าง และมีวิธีการใช้อย่างไร ข้อมูลสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees ถิ่นกำเนิด แถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ใบและลำต้นส่วนเหนือดิน สารสำคัญออกฤทธิ์ สารกลุ่ม Diterpenoid lactones เช่น andrographolide เป็นต้น สรรพคุณและขนาดรับประทาน (รูปแบบยาแคปซูลหรือยาเม็ดที่มีผงยาฟ้าทะลายโจร) ลดไข้ รับประทานครั้งละ 1 – 1.5 กรัม วันละ 3 – 4 ครั้ง บรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการไอเนื่องจากหวัด รับประทานครั้งละ 1 – 1.5 กรัม วันละ 4 ครั้ง บรรเทาอาการท้องเสียแบบถ่ายเป็นน้ำ รับประทานครั้งละ 0.5 – 2 กรัม วันละ 4 […]

ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับคืออะไร

ยาแก้ท้องเสียที่จัดอยู่ในกลุ่มสารดูดซับ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีตัวยาต่างกันดังนี้ Dioctahedral smectite Activated charcoal Kaolin โดยยากลุ่มสารดูดซับจะออกฤทธิ์ดูดซับเชื้อโรคและสารพิษที่อยู่ในทางเดินอาหาร เพื่อขับออกจากร่างกาย เนื่องจากอาการท้องเสียโดยส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบขับถ่ายในร่างกาย ประสิทธิภาพของตัวยา อย่างไรก็ตามตัวยาทั้ง 3 ตัวที่ได้กล่าวไปก็มีข้อแตกต่างในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพในผู้ป่วยของแต่ละตัวยาที่แตกต่างกัน ตัวยา Dioctahedral smectite เป็นตัวยาเดียวที่มีผลยืนยันประสิทธิภาพการใช้รักษาท้องเสียในเด็ก ตามคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาตัวยาดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทานภายใต้ชื่อการค้า Dehecta ใน 1 ซองบรรจุยาน้ำ 20 ml (มีตัวยา Dioctahedral smectite 3g) เพื่อความสะดวกในการพกพาและนำมาใช้เมื่อมีอาการท้องเสีย สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การใช้ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับ สำหรับคำแนะนำการใช้ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับ แนะนำให้ดื่มน้ำตามหลังรับประทานยาเพราะยาอาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก และที่สำคัญคือถ้าผู้ป่วยมียาที่ต้องรับประทานร่วมกัน หรือยารักษาโรคประจำตัว จะต้องรับประทานยาแก้⁠ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับห่างจากยาอื่น 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ตัวยาไปดูดซับยาอื่น ทั้งนี้ก่อนการใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาขนาดและวิธีใช้ยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน เพื่อความมั่นใจและประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1) สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. (n.d.). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก พ.ศ.2562. 2) ภญ.สิริมา วรนาวิน. (ม.ป.ป.). การใช้ยาแก้ท้องเสียให้ถูกต้อง. เข้าถึงได้จาก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรง⁠พยาบาลรามาธิบดี: ลิงค์

เมื่อลูกท้องเสีย..จะให้กินอาหารอะไรได้บ้าง

เด็กเล็กเป็นวัยที่เกิดท้องเสียได้มากที่สุด เนื่องจากภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่เต็มที่ หรือมักจะหยิบอาหารรับประทาน หรือ⁠มี⁠พฤติกรรมการหยิบจับของเล่นแล้วเอาเข้าปาก และการคลานโดยที่ยังไม่รู้จักการป้องกันตัวเองจากสิ่งสกปรก เมื่อเด็กมีอาการท้องเสียสิ่งสำคัญคือการให้ทยอยจิบน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการ⁠ขับ⁠ถ่าย และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อแนะนำการใช้ยาตามอาการให้เหมาะสม สำหรับการรับประทานอาหารในเด็กที่ท้องเสียโดยแพทย์มีคำแนะนำ ดังนี้ เด็กเล็กที่รับประทานนมแม่ให้รับประทานตามปกติ ให้รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะกับช่วงวัย โดยให้เลือกอาหารที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม ไม่จำเป็นต้องงดนมผสม ให้รับประทานได้ตามปกติ แต่อาจจะแบ่งเป็นทีละน้อยและรับประทานบ่อยๆ สำหรับนมสูตรปราศจากแลคโตสจะเหมาะกับเด็กที่มีอาการท้องเสียรุนแรง หรือเด็กที่มีภาวะ lactose intolerance สำหรับยาแก้ท้องเสียที่สามารถรับประทานได้ในเด็ก ได้แก่ตัวยา Dioctahedral smectite โดยออกฤทธิ์ช่วยดูดซับเชื้อโรคทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น สามารถให้รับประทานในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปโดยมีผลการศึกษาประสิทธิภาพว่าช่วยให้หายท้องเสียได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta ซึ่งมีตัวยา Dioctahedral smectite อยู่⁠ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน รสวานิลลา-สตรอว์เบอร์รี่ แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1) วิทยาศัย, ผ. (n.d.). โรคท้องเสียในเด็ก. Retrieved from กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี: ลิงค์ 2) สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. (n.d.). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก พ.ศ.2562.

วัดความดันโลหิตอย่างไร ให้ถูกต้อง

สำหรับผู้ที่จะวัดความดันโลหิตเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำ โดยมีคำแนะนำจากสมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ดังนี้ ไม่ดื่มชาหรือกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ ก่อนทำการวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการปวดปัสสาวะควรแนะนำให้ไปปัสสาวะก่อน นั่งพักบนเก้าอี้ในห้องที่เงียบสงบเป็นเวลา 5 นาที หลังพิงพนักเพื่อไม่ต้องเกร็งหลัง เท้า 2 ข้างวางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ห้าง ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้าและขณะวัดความดันโลหิต วางแขนซ้ายหรือขวาที่จะทำการวัดอยู่บนโต๊ะโดยให้บริเวณที่จะพัน arm cuff อยู่ระดับเดียวกับระดับหัวใจ ไม่เกร็งแขนหรือกำมือในขณะทำการวัดความดันโลหิต ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

วัดความดันโลหิตที่บ้าน วัดเวลาไหน ? ช่วย⁠คุม⁠ความ⁠ดัน⁠ได้⁠ดี⁠ขึ้น

การวัดความดันโลหิตที่บ้านมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วย รับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง และทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้การวัดความดันโลหิตที่บ้านในการช่วยการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรค⁠ความดันโลหิตสูง โดยแนะนำให้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพา ทำงานอัตโนมัติวัดบริเวณต้นแขนและ⁠ควร⁠เป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากสถาบันกำหนดมาตรฐาน ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องชนิดที่วัดบริเวณข้อมือหรือปลายนิ้ว ยกเว้น⁠ในกรณีที่การวัดความดันโลหิตบริเวณต้นแขนทำได้ลำบาก เช่น ในผู้ป่วยที่อ้วนมาก เป็นต้น แนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้านวันละ 2 ช่วงเวลา โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้ วัดความดันโลหิตในท่านั่ง เท้าทั้งสองวางราบกับพื้นและวัดความดันโลหิตหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 2 นาที วัดความดันโลหิตวันละ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยแต่ละช่วงเวลาให้วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 นาที ควรวัดติดต่อกัน 7 วันหรืออย่างน้อย 3 วัน ช่วงเช้าควรวัดความดันโลหิตภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน และหลังจากปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว ควร⁠วัด⁠ความ⁠ดันโลหิตก่อนรับประทานอาหารเช้า และก่อนรับประทานยาลดความดันโลหิต (ถ้ามี) รอบค่ำ ควรวัดก่อนเข้านอน ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

ปัจจัยอะไรบ้าง? ที่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด

1. อายุ ปริมาณของไขมันในเลือดแปรตามอายุ พบว่าไขมันที่วัดได้จากเลือดสายสะดือของเด็กแรกเกิดตํ่ามากและ⁠จะ⁠เพิ่ม⁠ขึ้น⁠เร็ว⁠มากในวัยเด็ก แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะเพิ่มขึ้นทีละน้อย ระดับแอลดีแอลจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงอายุ 60 ปี 2. เพศ ความแตกต่างระหว่าเพศมีผลต่อระดับ ไตรกลีเซอไรด์มากกว่าระดับของโคเลสเตอรอล โดยพบว่าเพศชายมี⁠ระ⁠ดับ⁠ไตร⁠กลี⁠เซอ⁠ไรด์⁠สูงกว่าเพศหญิงทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20–39 ปี ระ⁠ดับ⁠ไตร⁠กลี⁠เซอ⁠ไรด์⁠ในเพศชายจะสูง⁠กว่า⁠เพศหญิงถึงร้อยละ 40 แต่ความแตกต่างจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น สำหรับระดับของโคเลสเตอรอลพบ⁠ว่า⁠แตก⁠ต่าง⁠กัน⁠ไม่⁠มาก แต่ระยะหนุ่มสาว ค่าของโคเลสเตอรอลในชายจะสูงกว่าหญิง จนเมื่อวัย 40-50 ปี หญิง⁠จะ⁠มี⁠ระ⁠ดับ⁠โค⁠เลส⁠เตอ⁠รอลสูงกว่าชาย 3. อาหาร ตามปกติร่างกายจะสามารถสร้างหรือผลิตสารโคเลสเตอรอลขึ้นในร่างกายได้เองเป็นส่วนใหญ่ และ⁠สาร⁠โค⁠เลส⁠เตอ⁠รอลที่มีอยู่ในร่างกายส่วนใหญ่ก็ได้จากส่วนที่ร่างกายสร้างขึ้นมากกว่าจากอาหารที่บริโภค แต่⁠อา⁠หาร⁠อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลระดับโคเลสเตอรอล 4. การออกกำลังกาย จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและเพิ่มเอชดีแอล อีกทั้งยังช่วยลดนํ้าหนักด้วย 5. บุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เอชดีแอลลดลงได้มากกว่าร้อยละ 15 และพบว่าการเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ระดับไขมันเอชดีแอลกลับสู่ระดับปกติ 6. กรรมพันธุ์ ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์เกิดจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรมในการสร้างหรือการเผา⁠ผลาญ⁠แอล⁠ดี⁠แอล จึงทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง 7. แอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำให้มีไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น 8. ความอ้วน ผู้ที่อ้วนจะมีระดับแอลดีแอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง 9. ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดจะทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญสูงมากขึ้น […]

มาทำความรู้จัก ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) หมายถึง – ภาวะที่มีโคเลสเตอรอล (Cholesterol) อยู่ในเลือดสูงมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) มากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นตํ่า (Low Density Lipoprotein : LDL) มากกว่า 160 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (High Density Lipoprotein : HDL) ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยต้องเจาะเลือดตรวจซํ้ากัน 2-3 ครั้ง ห่างกัน ครั้งละ 2-3 สัปดาห์และเป็นการเจาะเลือดในตอนเช้าหลังนอนพักผ่อนมาเต็มที่และงดอาหารเครื่องดื่มต่างๆเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ชั่วโมงแล้ว ภาวะดังกล่าวเป็นภาวะที่พบมากขึ้นในคนไทยที่มีการ⁠ดำ⁠เนิน⁠ชีวิตแบบเมือง คล้ายคนในประเทศตะวันตก ภาวะที่เกิดขึ้นนี้สัมพันธ์กับ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปัจจุบัน⁠เป็น⁠ที่⁠น่าวิตกมากสำหรับคนทั่วไป เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค⁠หลอด⁠เลือด⁠แข็ง⁠ตัว (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้นับเป็นโรคร้ายอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ที่มา: ความรู้เรื่องภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ Dyslipidemia. พีระ สมบัติดี,สายสมร พลดงนอก, […]

การดูแลรักษาสิว

วัยรุ่นแต่ละคนย่อมมีปัญหาสิวที่แตกต่างกัน สิวจะปรากฏอาการในผู้หญิงช่วงอายุ 14-17 ปี และในผู้ชายช่วงอายุ 16-19 ปี หากนิยามความหมายของสิว สิวคือการอักเสบของหน่วยรูขน ทั้งนี้การรักษามักจะดูตามระดับความรุนแรงของสิวได้แก่ – สิวเล็กน้อย (mild acne) มีหัวสิวไม่อักเสบ (comedone) เป็นส่วนใหญ่ หรือมีสิวอักเสบ (papule และ pustule) ไม่⁠เกิน 10 จุด มักใช้เพียงยาทาที่ออกฤทธิ์ลดสิวอุดตัน ยาทาฆ่าเชื้อสิวและลดการอักเสบ – สิวปานกลาง (moderate acne) มี papule และ pustule ขนาดเล็กจำนวนมากกว่า 10 จุดและ/หรือ มี nodule น้อย⁠กว่า 5 จุด กรณีนี้อาจใช้ยาทาสำหรับสิวร่วมกับยารับประทานกลุ่มปฏิชีวนะ – สิวรุนแรง (severe) มี papule และ pustule มากมาย มี nodule หรือ cyst เป็นจำนวนมากหรือมี nodule […]