เลซิติน (Lecithin) คุณประโยชน์หลากหลายดีต่อสุขภาพ

เลซิติน (Lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค (Phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหารจะมีลักษณะแข็งและขาดความยืดหยุ่นถ้าไม่มีเลซิติน นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท ในร่างกายมนุษย์และยังพบตามแหล่งธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์โดยจะพบมากในไข่แดงสมองหัวใจถั่วเหลืองเมล็ดทานตะวันถั่วลิสงจมูกข้าวสาลีเป็นต้น ส่วนใหญ่อาหารเหล่านี้มักจะให้โคเลสเตอรอลสูงด้วย เลซิตินเองมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำเลซิตินมาใช้ในการควบคุมโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงบำรุงสมองกันอย่างแพร่หลายนั้นเอง เลซิตินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารที่ให้เลซิตินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิตินผสมอยู่ด้วย เลซิตินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย 1.ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลสูงในเลือดป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด เลซิตินทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายไขมันในหลอดเลือดทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆไม่จับกันเป็นก้อน จนไปอุดตันผนังหลอดเลือด และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด เลซิตินจึงเป็นสารอาหารที่สามารถป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด จึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตัน รวมถึงสมองและหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญ และการขับถ่ายไขมันคอเลสเตอรอลผ่านทางอุจจาระ อีกทั้งยังช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวมในเลือด (Total Cholesterol) มีการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและผู้มีภาวะระดับโคเลสเตอรอลสูงพบว่า เลซิตินจะลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล สามารถลดระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ อีกทั้งช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) ได้อีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด อันนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหัวใจวายเฉียบพลัน 2.ช่วยการทำงานของตับ ในสารอาหารเลซิตินจะมีสารสำคัญ คือ ฟอสฟาทิดิล โคลีน (Phosphatidyl choline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นตับให้เผาผลาญ และทำงานได้ดีขึ้น ช่วยบำรุงเซลล์ตับ ป้องกันตับอักเสบ ป้องกันตับแข็ง พร้อมช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติจากสารเคมีและสารพิษต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ และยา ทั้งนี้ได้มีการศึกษาในลิงบาบูน พบว่าเลซิตินสามารถป้องกันการเกิดโรคตับแข็งเนื่องจากการรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยเลซิตินจะไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์คอลลาจีเนสในตับ จึงลดการสร้างผังผืดในตับ ลดการสะสมของไขมันในตับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันบริเวณตับ จึงไม่เกิดอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์และป้องกันภาวะจากการอักเสบของตับ 3.ลดภาวะไขมันพอกตับ โคลีน (Choline) คืออีกหนึ่งสารสำคัญที่อยู่ในเลซิติน ทำหน้าที่คอยเร่งการทำงานของระบบเผาผลาญไขมันที่ตับ ให้ไขมันถูกดึงไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น ไม่เกิดการสะสม และลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุในการเกิดไขมันพอกตับ 4.ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดีมีสาเหตุมาจาก ในน้ำดีมีปริมาณของไขมันโคเลสเตอรอลสูงจนเกินไป เลซิตินมีคุณสมบัติเป็นตัวช่วยเพิ่มความสามารถในการทำละลายของน้ำดี ทำให้สารแขวนลอยในน้ำดีไม่จับตัวเป็นก้อนจนกลายเป็นนิ่ว เพิ่มการหลั่งและการไหลเวียนของน้ำดี ป้องกันการอุดตันที่ท่อน้ำดี และลดค่าดัชนีไขมันอิ่มตัว 5.ช่วยการย่อยอาหารลดน้ำหนัก เลซิตินมีคุณสมบัติในการช่วยละลายไขมัน วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค จึงช่วยลดการสะสมของไขมัน และช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ดียิ่งขึ้น 6.บำรุงสมองเสริมความจำ ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างความจำ และลดอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น เนื่องจากโครงสร้างของเลซิติน มีสารประกอบที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ โคลีน (Choline) ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่สำคัญของสมอง ที่ชื่อว่า สารอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ดังนั้นหากร่างกายได้รับเลซิตินในปริมาณที่เพียงพอก็จะช่วยป้องกันและรักษาอาการผิดปกติของระบบประสาทบางประเภทได้ ทางการแพทย์จึงมีการนำเลซิตินมาใช้ในการบำบัดโรคทางสมองต่างๆในปัจจุบัน เช่น โรคพาร์คินสัน และโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทขาดสารอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) หรือในคนชราที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม โดยพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำเสื่อมบางรายจะมีอาการดีขึ้น เมื่อรับประทานเลซิตินวันละ 25 กรัม ติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นพบว่า เมื่อได้รับโคลีนเป็นเวลา 6 เดือน จะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา จะช่วยพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำเพิ่มขึ้นได้ การเลือกกินเลซิตินก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเลซิตินที่ดีนั้น จะต้องเป็นเลซิตินบริสุทธิ์ สกัดจากถั่วเหลือง หรือพบจากแหล่งสะสมอื่นตามธรรมชาติ เช่น ไข่แดง เมล็ดทานตะวัน ตับ และบริเวอร์ยีสต์ (ยีสต์ที่เพาะไว้เพื่อใช้เป็นอาหารเสริมโดยเฉพาะ) ที่ไม่ผ่านการฟอกสี ผ่านความร้อน เช่น ทอด ย่าง ต้ม หรือสารอันตรายต่อตับ ที่สำคัญหากต้องการได้รับเลซิตินที่เพียงพอต่อการบำรุงร่างกาย สมอง หรือตับ แนะนำให้กินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มเติม และควรเลือกจากแหล่งที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยาระดับสากลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก GMP ของประเทศไทย เพื่อความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาว ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.phyathai.com/article_detail/2000/th/รู้หรือไม่? _ไม่อยากสมองเสื่อม…ต้องเสริมด้วย_ “เลซิตินhttps://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1280/lecithin-เลซิติน
Zinc (ซิงค์) ช่วยพัฒนาการการเจริญเติบโต และเสริมภูมิคุ้มกันเด็กจริงไหม ?

ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ และสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมดังนั้นทารกจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างเพียงพอเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ สมบูรณ์ บทบาทของ zinc ต่อการเจริญเติบโต กระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) กระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้เด็กกินอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นการแบ่งตัวของเซล์กระดูก มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ควบคุมการแสดงออกของยีน เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่เป็นเอนไซม์และฮอร์โมนในขบวนการต่างๆของร่างกาย บทบาทของ zinc ต่อสมองและพัฒนาการ ทารกมีการเจริญเติบโตของสมองและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยสมองจะมี zinc ในปริมาณมาก zinc เป็นตัวจับกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง รวมทั้งโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท หลายชนิดที่เกี่ยวซ้องกับการจดจำและการเรียนรู้ บทบาทของ zinc ต่อระบบภูมิคุ้มกัน Zinc ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของเชลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ (cell division) และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ (cell differentiation) อยู่ตลอดเวลา มีความเกี่ยวข้องกับการหลั่ง cytokines บางชนิดที่ก่อให้เกิดกลไกการอักเสบ (inflammation) ในร่างกาย จะเห็นได้ว่า zinc มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในหลายๆ ด้าน โดยจากการศึกษา พบว่า การให้ zinc เสริมควบคู่ไปกับการรักษาการติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วยเด็กมีผลดีแตกต่างกันไปตามลักษณะการติดเชื้อ เช่น การศึกษาในกลุ่มเด็กที่ได้รับ zinc เสริมมีอุบัติการณ์ของ หูชั้นกลางอักเสบเป็นหนอง (suppurative otitis media) หลอดลมฝอยอักเสบ (bronchiolitis) และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนต่ำกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้รับ zinc และอีกการศึกษา พบว่า การให้zincในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันได้เป็นเวลา 0.5 วัน รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการเสริมzincมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับzinc ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีที่มีภาวะอุจจาระร่วงยืดเยื้อ (persistent diarrhea) การให้ zincเสริมช่วยลดระยะเวลาการเกิดอาการได้เป็นเวลา 0.68 วัน เป็นต้น Zinc เป็นแร่ธาตุหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของสมอง ทารกในครรภ์จะสะสม zinc ที่ได้รับจากมารดาไว้ในร่างกายผ่านทางรกหลังจากทารกเกิด zincในร่างกายของทารกจะถูกใช้ไปตามความต้องการใน แต่ละวัน นอกจากนี้ทารกได้รับ zinc เพิ่มจากอาหารซึ่งได้แก่ นมแม่ ซึ่งมีปริมาณzincเพียงพอต่อความต้องการของทารในวัยดังกล่าว และ zinc ในนมแม่อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายทารกสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้มาก (high bioavailability) นอกจากนั้น ในช่วงอายุนี้ ทารกยังมี zinc ที่สะสมไว้ที่ตับตั้งแต่ช่วงอยู่ในครรภ์มารดาด้วย เป็นแหล่งของสารอาหารที่สำคัญสำหรับทารกในช่วงอายุ 6 เดือนแรกของชีวิต zinc ในนมแม่ของทารกแรกเกิดครบกำหนดจะมีปริมาณแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุของทารก โดยระดับสังกะสีในนมแม่มีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 3 เดือนแรก หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลงในอัตราที่ช้าลง ปริมาณ zinc ในนมแม่ยังคงเพียงพอสำหรับความต้องการของทารกในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เมื่อทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ปริมาณ zinc ในนมแม่จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทารก รวมทั้งปริมาน zinc ที่สะสมไว้เริ่มหมดไป ทารกจึงจำเป็นต้องได้รับ zinc เพิ่มเติมจากการได้รับอาหารตามวัยสำหรับทารก (complementary food) อาหารตามวัยสำหรับทารกที่ทารกได้รับจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคม วัฒนธรรมและความเชื่อ แหล่งอาหารที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ชนิดของอาหารตามวัยมีความสำคัญ โดยอาหารตามวัยที่ทำมาจากพืชผัก เช่น ผักชนิดต่างๆ ธัญพืช ถั่ว เป็นต้น ไม่เป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับ zinc แม้ว่าพืชบางชนิดมีปริมาณ zinc มาก แต่พืชเหล่านั้นมีส่วนประกอบที่เป็นสารไฟเตท (phytate) ซึ่งยับยั้งการดูดซึม zinc ที่ลำไส้เล็ก ทำให้ผู้บริโภคพืชเหล่านั้นได้รับปริมาณzincน้อยลง ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์นับเป็นแหล่งอาหารที่มี zinc มาก และถูกดูดซึมได้ดี องค์การอนามัยโลก และ European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology and Nutrition(ESPGHAN) จึงได้แนะนำว่า เมื่อทารกพร้อมที่จะรับอาหารอื่นนอกจากนม ให้ทารกได้รับอาหารตามวัยประเภทเนื้อสัตว์ เป็นอาหารประเภทแรกๆ และควรได้รับเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกมีปัญหาขาดสารอาหารบางชนิด ซึ่งรวมถึง zinc และเหล็ก Zinc เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อทารก ทั้งในด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และภูมิคุ้มกัน ดังนั้น ทารกควรได้รับ zinc จากอาหารในปริมาณที่เพียงพอ โดยเริ่มต้นที่การได้รับนมแม่ การได้รับอาหารตามวัยที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นให้ทารกรับอาหารได้หลากหลาย บริโภคอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้องตามหลักโภชนาการในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้ทารกเติบโต มีพัฒนาการเหมาะสม และสติปัญญาที่ดีเต็มศักยภาพ รวมทั้งลดโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยต่างๆที่อาจเกิดขึ้น