Macrophar

เลซิติน (Lecithin) คุณประโยชน์หลากหลายดีต่อสุขภาพ

Have Any Questions?

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit.

เลซิติน (Lecithin) คุณประโยชน์หลากหลายดีต่อสุขภาพ

เลซิติน (Lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค (Phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหารจะมีลักษณะแข็งและขาดความยืดหยุ่นถ้าไม่มีเลซิติน นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท ในร่างกายมนุษย์และยังพบตามแหล่งธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์โดยจะพบมากในไข่แดงสมองหัวใจถั่วเหลืองเมล็ดทานตะวันถั่วลิสงจมูกข้าวสาลีเป็นต้น ส่วนใหญ่อาหารเหล่านี้มักจะให้โคเลสเตอรอลสูงด้วย เลซิตินเองมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำเลซิตินมาใช้ในการควบคุมโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงบำรุงสมองกันอย่างแพร่หลายนั้นเอง

เลซิติน (Lecithin)

เลซิตินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารที่ให้เลซิตินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิตินผสมอยู่ด้วย เลซิตินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย

เลซิติน (Lecithin)

1.ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลสูงในเลือดป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด

เลซิตินทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายไขมันในหลอดเลือดทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆไม่จับกันเป็นก้อน จนไปอุดตันผนังหลอดเลือด และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด เลซิตินจึงเป็นสารอาหารที่สามารถป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด จึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตัน รวมถึงสมองและหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญ และการขับถ่ายไขมันคอเลสเตอรอลผ่านทางอุจจาระ อีกทั้งยังช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวมในเลือด (Total Cholesterol)

มีการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและผู้มีภาวะระดับโคเลสเตอรอลสูงพบว่า เลซิตินจะลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล สามารถลดระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ อีกทั้งช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) ได้อีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด อันนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหัวใจวายเฉียบพลัน

2.ช่วยการทำงานของตับ

ในสารอาหารเลซิตินจะมีสารสำคัญ คือ ฟอสฟาทิดิล โคลีน (Phosphatidyl choline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นตับให้เผาผลาญ และทำงานได้ดีขึ้น ช่วยบำรุงเซลล์ตับ ป้องกันตับอักเสบ ป้องกันตับแข็ง พร้อมช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติจากสารเคมีและสารพิษต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ และยา

ทั้งนี้ได้มีการศึกษาในลิงบาบูน พบว่าเลซิตินสามารถป้องกันการเกิดโรคตับแข็งเนื่องจากการรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยเลซิตินจะไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์คอลลาจีเนสในตับ จึงลดการสร้างผังผืดในตับ ลดการสะสมของไขมันในตับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันบริเวณตับ จึงไม่เกิดอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์และป้องกันภาวะจากการอักเสบของตับ

3.ลดภาวะไขมันพอกตับ

โคลีน (Choline) คืออีกหนึ่งสารสำคัญที่อยู่ในเลซิติน ทำหน้าที่คอยเร่งการทำงานของระบบเผาผลาญไขมันที่ตับ ให้ไขมันถูกดึงไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น ไม่เกิดการสะสม และลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุในการเกิดไขมันพอกตับ 

4.ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีมีสาเหตุมาจาก ในน้ำดีมีปริมาณของไขมันโคเลสเตอรอลสูงจนเกินไป เลซิตินมีคุณสมบัติเป็นตัวช่วยเพิ่มความสามารถในการทำละลายของน้ำดี ทำให้สารแขวนลอยในน้ำดีไม่จับตัวเป็นก้อนจนกลายเป็นนิ่ว เพิ่มการหลั่งและการไหลเวียนของน้ำดี ป้องกันการอุดตันที่ท่อน้ำดี และลดค่าดัชนีไขมันอิ่มตัว

5.ช่วยการย่อยอาหารลดน้ำหนัก

เลซิตินมีคุณสมบัติในการช่วยละลายไขมัน วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค จึงช่วยลดการสะสมของไขมัน และช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ดียิ่งขึ้น

6.บำรุงสมองเสริมความจำ

ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างความจำ และลดอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น เนื่องจากโครงสร้างของเลซิติน มีสารประกอบที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ โคลีน (Choline) ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่สำคัญของสมอง ที่ชื่อว่า สารอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ดังนั้นหากร่างกายได้รับเลซิตินในปริมาณที่เพียงพอก็จะช่วยป้องกันและรักษาอาการผิดปกติของระบบประสาทบางประเภทได้

ทางการแพทย์จึงมีการนำเลซิตินมาใช้ในการบำบัดโรคทางสมองต่างๆในปัจจุบัน เช่น โรคพาร์คินสัน และโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทขาดสารอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) หรือในคนชราที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม โดยพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำเสื่อมบางรายจะมีอาการดีขึ้น เมื่อรับประทานเลซิตินวันละ 25 กรัม ติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นพบว่า เมื่อได้รับโคลีนเป็นเวลา 6 เดือน จะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา จะช่วยพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำเพิ่มขึ้นได้

เลซิติน (Lecithin)

การเลือกกินเลซิตินก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเลซิตินที่ดีนั้น จะต้องเป็นเลซิตินบริสุทธิ์ สกัดจากถั่วเหลือง หรือพบจากแหล่งสะสมอื่นตามธรรมชาติ เช่น ไข่แดง เมล็ดทานตะวัน ตับ และบริเวอร์ยีสต์ (ยีสต์ที่เพาะไว้เพื่อใช้เป็นอาหารเสริมโดยเฉพาะ) ที่ไม่ผ่านการฟอกสี ผ่านความร้อน เช่น ทอด ย่าง ต้ม หรือสารอันตรายต่อตับ ที่สำคัญหากต้องการได้รับเลซิตินที่เพียงพอต่อการบำรุงร่างกาย สมอง หรือตับ แนะนำให้กินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มเติม และควรเลือกจากแหล่งที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยาระดับสากลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก GMP ของประเทศไทย เพื่อความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.phyathai.com/article_detail/2000/th/รู้หรือไม่? _ไม่อยากสมองเสื่อม…ต้องเสริมด้วย_ “เลซิติน
https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1280/lecithin-เลซิติน


Tags :
Uncategorized
Share This :