Macrophar

ผมร่วง ผมบาง ไม่อยากศีรษะล้าน อย่ามองข้าม

เส้นผมสุขภาพดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้..แต่หากมีปัญหาผมร่วงไม่ว่าจากสาเหตุใด คงทำให้สูญเสียความมั่นใจได้เช่นกัน หลายคนต้องเจอกับ”ปัญหาผมร่วง” ผิดปกติอยู่บ่อยครั้ง หวีผมแล้วผมหลุดออกมา หรือเวลาสระผมแล้วผมร่วงไปติดที่ท่อเต็มไปหมดจนน้ำไม่ระบาย หรือนั่นคือสัญญาณของโรคหรือเปล่า ? หรือจริงๆแล้วการที่ผมร่วงเยอะเราขาดวิตามิน แร่ธาตุ หรือมาจากสาเหตุไหนกันแน่ รีบมาดูกันเลยดีกว่า เพื่อความสบายใจและรีบแก้ไขก่อนที่จะร่วงหนักไปมากกว่านี้ สาเหตุผมร่วงมาจากอะไรได้บ้าง ?  ผมร่วงจากพันธุกรรมภาวะนี้ คือภาวะผมร่วง หัวล้านที่เกิดขึ้นในเพศชายเป็นหลัก แต่ก็มีบ้างที่จะเกิดขึ้นในเพศหญิง โดยเราจะเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะผมร่วงแบบแอนโดรจีนิค เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน หรือฮอร์เมนเพศชายที่พบได้ทั้งชายหญิง ไปเป็นฮอร์โมน DHT (Dihyodrotestoserone) ที่เป็นอันตรายต่อรากผมอย่างมาก ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะมีอยู่ในเพศหญิงน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับเพศชาย แต่หากเมื่อใดที่ร่างกายเกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงลดลง เช่น ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ก็จะทำให้ฮอร์โมน DHT ตัวนี้เด่นชัดขึ้นมา และแสดงอาการที่เหมือนกับที่เกิดในเพศชายได้นั่นเอง ผมร่วงจากอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจภาวะความเจ็บปวดนั้น จะทำให้รากกผมเข้าสู่ระยะพักตัว ซึ่งถือเป็นการปรับตัวของระบบร่างกาย ที่จะพักการทำงานในส่วนที่ไม่จำเป็นออกก่อนเพื่อโฟกัสในการรักษาตัวของร่างกายได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งผมจะกลับมางอกกลับมาใหม่ได้เองในระยะเวลา 6 เดือน ผมร่วงจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลเกิดในหญิงที่คุมกำเนิดด้วยวิธีการกิน ฉีด ฝัง ยาคุมกำเนิด การรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยฮอร์โมนทดแทน วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ซึ่งการที่ฮอร์โมนต่างๆ เกิดการไม่สมดุลแบบนี้ จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักตัวได้ไวขึ้น ผมจึงหลุดร่วงมากขึ้น ผมร่วงจากการตั้งครรภ์และหลังคลอดในขณะที่ตั้งครรภ์ […]

Zinc (ซิงค์) ช่วยพัฒนาการการเจริญเติบโต และเสริมภูมิคุ้มกันเด็กจริงไหม ?

ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ และสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมดังนั้นทารกจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างเพียงพอเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ สมบูรณ์  บทบาทของ zinc ต่อการเจริญเติบโต กระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter)  กระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้เด็กกินอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นการแบ่งตัวของเซล์กระดูก มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone)  ควบคุมการแสดงออกของยีน เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่เป็นเอนไซม์และฮอร์โมนในขบวนการต่างๆของร่างกาย บทบาทของ zinc ต่อสมองและพัฒนาการ ทารกมีการเจริญเติบโตของสมองและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยสมองจะมี zinc ในปริมาณมาก zinc เป็นตัวจับกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง รวมทั้งโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท หลายชนิดที่เกี่ยวซ้องกับการจดจำและการเรียนรู้ บทบาทของ zinc ต่อระบบภูมิคุ้มกัน Zinc ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของเชลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ (cell division) และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ (cell differentiation) อยู่ตลอดเวลา มีความเกี่ยวข้องกับการหลั่ง cytokines บางชนิดที่ก่อให้เกิดกลไกการอักเสบ (inflammation) ในร่างกาย จะเห็นได้ว่า zinc […]

How to..ดื่มหนักแต่ไม่อยากแฮงค์ ง่ายๆตามนี้เลย

จบงานปาร์ตี้หรือช่วงเทศกาลทีไร เป็นต้อง เมาค้าง ทุกที แต่สำหรับนักปาร์ตี้แล้ว บรรยากาศในวงเหล้า เคล้าเสียงเพลง และสังคมหมู่เพื่อน คือ เสน่ห์อย่างหนึ่งของการสังสรรค์มากกว่ารสชาติของแอลกอฮอล์ขมๆ เสียอีก เมื่อความสนุกสนานเริ่มขึ้น แอลกอฮอล์จะช่วยเติมเต็มให้ค่ำคืน หอมหวนและอบอวลไปด้วยความสุขเพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง และคลายกล้ามเนื้อ เมื่อได้รับปริมาณเล็กน้อยจึงช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แอลกอฮอล์มีชื่อทางเคมีว่า  Ethanol หรือ Ethyl Alcohol จัดเป็นสารกดประสาทชนิดหนึ่ง เมื่อดื่มไปแล้ว ร่างกายเราจะทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดออกไป  แต่ผลกระทบอาจจะไม่ใช่แค่รอตับกำจัดแค่นั้น แต่ระหว่างที่รอ แอลกอฮอล์จะส่งผลมากมายต่อร่างกาย  เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หากว่าเราปล่อยให้ท้องว่าง ระดับน้ำตาลในเลือดจะน้อยอยู่แล้วเป็นทุนเดิม หากเผลอดื่มแอลกฮอล์ไปทีละมากๆ จะยิ่งถูกฮอร์โมนอินซูลินออกมาขโมยน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง จึงเกิดอาการคล้ายน้ำตาลตก และจะเริ่มมีอาการมึนๆ งงๆ ตามมา และมึนเมาได้ไวกว่าคนที่รองท้องมาด้วยอาหาร หรือทานของแกล้มไปด้วย  เมาค้างหรืออาการแฮงค์ (Hang Over) คือกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โดยอาการเมาค้างจะเกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงซึ่งตรงกับช่วงเช้าอีกวันหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในคืนก่อน ทั้งนี้ ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไปก็ส่งผลให้เกิดอาการเมาค้างที่แตกต่างกัน หากร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มาก ก็จะทำให้เกิดอาการเมาค้างมากขึ้นตามไปด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการเมาค้างคือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยฤทธิ์แอลกอฮอล์ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการอักเสบในร่างกาย บางคนสามารถเกิดอาการเมาค้างได้แม้ดื่มไม่มาก ส่วนบางคนอาจต้องดื่มในปริมาณมากถึงจะเกิดอาการ […]

รู้หรือไม่ ? ทานกินผัก-ผลไม้วันละ 400 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรค

“ผักผลไม้” ยิ่งกินยิ่งดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าในหนึ่งวัน ควรกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม โดยแบ่งเป็นผัก 3 ส่วนและ ผลไม้ 2 ส่วน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) 6 โรคได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลต่อกับการเป็นโรคในกลุ่ม NCDs ซึ่งการกินผัก และผลไม้ไม่เพียงพอ ก็เป็นอีกหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรค นอกจากนี้ยังทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลงอีกด้วย การบริโภคผักและผลไม้ ผักและผลไม้..เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน ใยอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยบำรุงระบบภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างสมดุล โดยเฉพาะ Vitamin B6, Folic, B12, C และสารสำคัญในผักผลไม้ เช่น เบต้าแคโรทีน มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ต้านเชื้อแบคทีเรีย การรับประทานผักผลไม้อย่าสม่ำเสมอ เหมาะกับคนที่ไม่สบายบ่อย และยังช่วยให้ไม่ป่วยง่ายอีกด้วยการกินผัก และผลไม้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรเลือกกินผัก […]

ท้องเสีย…กินยาอะไรได้บ้างนะ ?

ท้องเสีย

ท้องเสียเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากหลายสาเหตุและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในผู้ป่วยบางรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และทำงานของภูมคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นการรักษาอาการท้องเสียในช่วงเริ่มแรกโดยการใช้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เรียกว่า ORS และยาที่ใช้รักษาอาการท้องเสียอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ก็สามารถทำได้เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ 1. สารน้ำทดแทนทางปาก (ORS) การให้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เราเรียกกันบ่อยๆว่า ORS มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันหรือรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดจากท้องเสีย ซึ่งผู้ป่วยโรคท้องเสียทุกรายจะเกิดการสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ไม่ว่าจะมีอาการแสดงของการสูญเสียน้ำหรือไม่ ดังนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับสารน้ำทดแทน ซึ่งรูปแบบของสารน้ำทดแทนที่ใช้ขึ้นกับความรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากควรส่งต่อไปสถานพยาบาลเพื่อให้สารน้ำทดแทนในรูปฉีดเข้าหลอดเลือดดา ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการในระดับน้อยถึงปานกลาง ควรได้รับสารน้ำทดแทนทางปาก ซึ่งรูปแบบที่แนะนำและนิยมใช้ คือ สารละลายที่มีปริมาณน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์ตามที่องค์การอนามัยโลกกาหนด ซึ่งจะเรียกว่า oral rehydration solution (ORS) การให้ ORS  ในผู้ป่วยโรคท้องเสียถือว่ามีความสาคัญอย่าง จากการศึกษาทางคลินิก พบว่า การให้ ORS ในเด็กที่เกิดโรคท้องเสียช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ในการให้ ORS ต้องให้อย่างถูกต้องและเพียงพอ การรับประทาน […]

น้ำมันปลา (Fish Oil) และ น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ต่างกันอย่างไร ?

น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา

แม้ว่าเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งวิตามินหรืออาหารเสริม แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ในทุกวัน อาหารเสริมและวิตามินจึงกลายเป็นทางเลือกของคนที่ใส่ใจสุขภาพเพราะสะดวกสบาย ง่ายที่จะทำ ทั้งยังหาซื้อได้ทั่วไปอีกด้วย แต่อาหารเสริมนั้นก็มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีชื่อของ “น้ำมันปลา” และ “น้ำมันตับปลา” รวมอยู่ด้วย ด้วยชื่อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน จึงทำให้เกิดความสับสนกันอยู่บ่อยๆ ว่าทั้งสองอย่างนั้น คือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไขข้อสงสัย..น้ำมันปลา (Fish Oil) VS น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) น้ำมันปลา (Fish Oil) ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา โดยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น ซึ่งมีกรดไขมัน Omega-3  ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด อาทิ ปลาแองโชวี่ ปลาแมคเคอเรล หรือปลาทูน่ามีไขมัน เป็นต้น สารอาหารสำคัญของน้ำมันปลา (Fish Oil): […]

ทำไมเด็กต้องทาน Zinc ทานแล้วได้อะไร ?

ซิงค์

“Zinc (ซิงค์) หรือ สังกะสี” เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วน ทั้งการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน และผิวหนัง มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของ พืช สัตว์และมนุษย์  ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง Zinc (ซิงค์) ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่มี Zinc (ซิงค์) เป็นส่วนประกอบโดยเฉลี่ยในปริมาณ 15 mg ต่อวัน แหล่งอาหารที่มีปริมาณ Zinc (ซิงค์) สูง ได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม เมล็ดทานตะวัน เห็ด เนื้อหมู ไข่ ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ปลา จมูกข้าวสาลี แป้งงา เมล็ดฝักทอง ธัญพืช เครื่องเทศ ผักโขม เป็นต้น การเสริม Zinc (ซิงค์) ในเด็ก อายุมากกว่า 12 เดือน จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อได้ โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะท้องเสีย Zinc (ซิงค์) ช่วยลดความรุนแรงของโรคและทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว Zinc (ซิงค์) สำคัญอย่างไรกับร่างกาย ? Zinc มีความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต พัฒนาการของเด็กทั้งในด้านพฤติกรรมและความสามารถในการเรียนรู้การทำงานของระบบสืบพันธุ์การผลิตอสุจิการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินและไทรอยด์ การรับรส แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน […]

ช่องคลอดแห้ง คัน ระคายเคือง ใช้อะไรรักษาดี ?

ช่องคลอดแห้ง คัน

ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) หรือภาวะช่องคลอดและปากช่องคลอดแห้ง (Vulvovaginal atrophy-VVA) เกิดขึ้นเมื่อเมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดน้อยลง ส่งผลให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น จนอาจทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ สาเหตุหลักมาจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) บริเวณเนื้อเยื่อช่องคลอดลดลงเนื่องจากเข้าสู่ภาวะวัยทอง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกวัยที่อยู่ในภาวะขาดเอสโตรเจน  วัยทอง คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วันหมดประจำเดือน โดยทั่วไปจะวินิจฉัยเมื่อประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 12 เดือน ทั่วไปอายุเฉลี่ยของการหมดประจำเดือนอยู่ที่ 52 ปี วัยทองเป็นช่วงเวลาที่การทำงานของรังไข่ลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดต่ำลง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (labia) และช่องคลอด (vagina) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ท่อปัสสาวะ (urethra) และกระเพาะปัสสาวะ (bladder) อาการของภาวะช่องคลอดแห้ง ผู้มีภาวะช่องคลอดแห้งอาจเกิดอาการตลอดเวลา หรือบางรายอาจมีอาการเป็นระยะหรือเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น โดยอาการที่พบคือ  ระคายเคืองคันรวมถึงแสบร้อนบริเวณช่องคลอด  แสบขัดขณะปัสสาวะอาจมีปัสสาวะบ่อยปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่  เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์  ความต้องการทางเพศลดลงหรือถึงจุดสุดยอดได้ยากขึ้น ในผู้หญิงบางราย ช่องคลอดอักเสบมีปัญหาตกขาวบ่อยมีกลิ่นเหม็นเป็นๆหายๆเนื่องจากพอเข้าวัยทองจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงทำให้ผนังบาง ความยืดหยุ่นลดลง ภาวะความเป็นกรดลดลง กลายเป็นสภาวะด่างมากขึ้น ร่วมกับเซลล์ที่ผนังช่องคลอดลอก ทำให้ช่องคลอดมีความเป็นด่างมากขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่แบคทีเรียชนิดดี lactobacilli ที่คอยปกป้องช่องคลอดนั้นอยู่ไม่ได้  ทำให้มีการเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคต่างๆ […]

เคล็ด(ไม่)ลับ แก้ไอ แก้เจ็บคอด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ

แก้ไอ อาการไอ

อาการ เจ็บคอ คือการรู้สึกระคายเคืองในลำคอ เพราะมี “การอักเสบของเนื้อเยื่อลำคอ” เช่น ผนังช่องคอ ต่อมทอนซิล หรือ กล่องเสียง โดยอาการจะเป็นมากขึ้น เวลากลืน ส่วนใหญ่การอักเสบนี้ มักเกิดจาก… การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ บ่อยครั้งอาจเกิดจากการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาการเจ็บคอเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และพบได้บ่อยใน เด็ก วัยรุ่น และคนวัยหนุ่มสาว ส่วนในเพศชายและเพศหญิงมีอัตราการเกิดใกล้เคียงกัน และสามารถเกิดอาการเจ็บคอได้ตลอดทั้งปี สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการเจ็บคอที่หลายคนมักเข้าใจผิด คือ อาการดังกล่าวไม่จำเป็นเกิดขึ้นจากการเป็นหวัดเสมอไป เพราะอาการเจ็บจอสามารถเกิดได้ทั้งการติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อได้เช่นกัน ซึ่งมีการแบ่งสาเหตุของการอาการเจ็บคอแบ่งเป็นสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ คือ 1.สาเหตุของอาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ อาการเจ็บคอสามารถเกิดได้จากการ”ติดเชื้อไวรัส” เช่น ไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคคออักเสบ โรคกล่องเสียงอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบเป็นต้น และจะมีอาการแดงที่ช่องคอเล็กน้อย ทำให้เกิดอาการอักเสบและเจ็บคอ นอกจากนี้มีไข้ มีน้ำมูกใส คัดจมูกบ้าง ทั้งนี้อาการเจ็บคอที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสจะสามารถหายเองได้ภายใน 3-7 วัน ไม่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ โดยโรคคออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอที่พบได้บ่อยที่สุด อาการเจ็บคอที่เกิดจากการ”ติดเชื้อแบคทีเรีย” เช่น […]

ไม่ดื่มเหล้า ก็ตับแข็งได้ รู้ยัง ?

ไม่ดื่มเหล้าก็ตับแข็งได้

ถ้าพูดถึง ตับแข็ง หลายคนคงจะเข้าใจว่าเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป แต่จริงๆแล้วมีอีกหลายสาเหตุมากที่สามารถทำให้เกิดตับแข็งได้ ไม่ว่าจะเป็นไขมันสะสมในตับ หรือระบบภูมิคุ้มกันไม่ปกติ โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ได้รับความเสียหายมากเกินไป ก็จะกลายเป็นเหมือนแผลเป็นที่เป็นพังผืดถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตับ เป็นอวัยวะในร่างกายทำหน้าที่กรองและกำจัดสารพิษ เชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้นยังสร้างน้ำดี และมีส่วนสำคัญให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ แต่ถ้ามีสาเหตุที่ทำลายตับ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ดีของตับถูกทำลายเกิดแผลเป็น เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นซ้ำๆ จะมีพังผืดขึ้นมาแทนที่เนื้อตับจึงสูญเสียความยืดหยุ่นและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ภาวะตับแข็ง ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โรคตับแข็ง หรือ Liver cirrhosis เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของตับ โดยเนื้อตับจะถูกทำลาย และไปดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับสูญเสียการทำงานลงไป เพราะเลือดจะมีเลี้ยงเนื้อตับน้อยลง นอกจากนี้ ภาวะตับแข็งยังอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้ความดันในเส้นเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกง่าย ม้ามโต ขาบวม มีน้ำในช่องท้อง มีการเปลี่ยนแปลงตามผิวหนังคือมีจุดเล็กๆ แดงๆ เกิดขึ้น มีเส้นเลือดผิดปกติเกิดขึ้นในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งถ้าเส้นเลือดเหล่านี้แตกก็อาจทำให้ถ่ายอุจจาระปนเลือดได้ หากปล่อยไว้นานก็จะกลายเป็นตับแข็งระยะสุดท้าย และพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้เช่นกัน สาเหตุที่เกิดตับแข็ง นอกจากการดื่มเหล้า 1.การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือไวรัสตับอักเสบซี จนทำให้ตับอักเสบเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะกลายเป็น โรคตับแข็ง ในที่สุด โดยไวรัสตับอักเสบบีและซีนั้น เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันทางเลือดและเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเป็นพาหะนั้นมักจะเกิดโดยไม่รู้ตัว2.เกิดจากโรคที่ภูมิคุ้มกันมีการทำลายเนื้อตับ3.เกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคอ้วน, […]