Macrophar

ทำไมเด็กต้องทาน Zinc ทานแล้วได้อะไร ?

Have Any Questions?

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit.

ทำไมเด็กต้องทาน Zinc ทานแล้วได้อะไร ?

ซิงค์

Zinc(ซิงค์) หรือ สังกะสี” เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วน ทั้งการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน และผิวหนัง มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของ พืช สัตว์และมนุษย์  ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง Zinc (ซิงค์) ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่มี Zinc (ซิงค์) เป็นส่วนประกอบโดยเฉลี่ยในปริมาณ 15 mg ต่อวัน แหล่งอาหารที่มีปริมาณ Zinc (ซิงค์) สูง ได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม เมล็ดทานตะวัน เห็ด เนื้อหมู ไข่ ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ปลา จมูกข้าวสาลี แป้งงา เมล็ดฝักทอง ธัญพืช เครื่องเทศ ผักโขม เป็นต้น

การเสริมZinc (ซิงค์) ในเด็ก อายุมากกว่า 12 เดือน จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อได้ โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะท้องเสียZinc (ซิงค์) ช่วยลดความรุนแรงของโรคและทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว

Zinc (ซิงค์) สำคัญอย่างไรกับร่างกาย ?

Zinc มีความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต พัฒนาการของเด็กทั้งในด้านพฤติกรรมและความสามารถในการเรียนรู้การทำงานของระบบสืบพันธุ์การผลิตอสุจิการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินและไทรอยด์ การรับรส แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ

  • การกระตุ้นปฏิกิริยาชีวเคมี (Catalytic reaction function) zinc มีส่วนช่วยในการทำงานของเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีบทบาทในขบวนการเมตาบอลิสมของโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก
  • โครงสร้างของโปรตีน (Structural protein function) zinc มีส่วนช่วยให้โปรตีนจัดโครงสร้างเป็นรูป 3 มิติโดยจับกับกรดอะมิโนเช่น ซีสเตอิน (cysteine) หรือ ฮีสติดีน (histidine) เรียกว่า “zinc finger” หรือ“zinc motif” สามาร5ช่วยให้โปรตีนจับกับสารพันธุกรรมเพื่อกระตุ้นกระบวนการแสดงออกทางพันธุกรรมต่างๆ
  • การควบคุมการทำงาน (Regulatory function) ควบคุมการแสดงออกของสารพันธุกรรมโดยตรงผ่านบริเวณที่เรียกว่า metal response element (MRE) บน DNA ทำให้สามารถจับปรับการสร้างโปรตีนขนถ่ายธาตุ zinc (Zinc transporter) โดยเฉพาะ metallothionein ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมการดูดซึม zinc บริเวณลำไส้เล็ก

นอกจากนี้แร่สังกะสีนี้ยังมีความจำเป็นต่อการทำงานของเอนไซม์กว่า 300 ชนิด ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการเผาผลาญ การย่อยอาหาร การทำงานของระบบประสาท ตลอดไปจนถึง การพัฒนาและการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซิงค์จึงจัดได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากเป็นอันดับ 2 รองจากธาตุเหล็ก

ภาวะการขาดซิงค์
จะเกิดอะไรหากร่างกายไม่ได้รับซิงค์ในปริมาณที่เหมาะสม?

กรณีที่ได้รับซิงก์มากเกินไป
– มากเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน: ส่งผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด
– มากเกินกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน: เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ เกร็งบริเวณกล้ามเนื้อท้อง และเกิดอาการผิดปกติ ในระบบทางเดินอาหาร
– มากเกินกว่า 1.5 เท่าของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน: หากเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน สังกะสีจะเข้าไปลดการดูดซึมทองแดงและธาตุเหล็ก ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง

กรณีที่ได้รับซิงก์น้อยเกินไป ร่างกายจะแสดงออกมาด้วยอาการทางผิวหนัง
– ขนตามร่างกายร่วง ผิวหนังเป็นรอยเขียวฟกช้ำได้ง่าย
– แผลเรื้อรังไม่ยอมหายสักที มีการอักเสบระคายเคืองที่ผิวหนัง
– ผิวแห้งลอกไม่มีความชุ่มชื้น ผิวหยาบกร้าน โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อพับ
– ประสาทการรับรสเริ่มด้อยประสิทธิภาพ
– แผลหายช้า
– สำหรับหญิงที่ให้นมบุตร การขาดธาตุสังกะสีจะส่งผลไปถึงการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกน้อย

การขาดซิงค์ในเด็กอย่างรุนแรงจะทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกายบกพร่อง รวมถึงพัฒนาการทางเพศล่าช้า ผื่นผิวหนัง ท้องร่วงเรื้อรัง แผลหายช้า และพบปัญหาทางพฤติกรรม

ซิงค์

การเสริมซิงค์ไม่ได้แค่ป้องกันโรคใดโรคหนึ่ง แต่ประโยชน์ของซิงค์นั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะในช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ลดความรุนแรง ระยะเวลาการเป็นหวัด ลดการอักเสบที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของอาการท้องเสียในเด็กได้ การทานซิงค์ในปริมาณที่เพียงพอ อาจช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

Tags :
Articles,อื่นๆ
Share This :