Macrophar

ผมร่วง ผมบาง ไม่อยากศีรษะล้าน อย่ามองข้าม

Have Any Questions?

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit.

ผมร่วง ผมบาง ไม่อยากศีรษะล้าน อย่ามองข้าม

เส้นผมสุขภาพดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้..แต่หากมีปัญหาผมร่วงไม่ว่าจากสาเหตุใด คงทำให้สูญเสียความมั่นใจได้เช่นกัน หลายคนต้องเจอกับ”ปัญหาผมร่วง” ผิดปกติอยู่บ่อยครั้ง หวีผมแล้วผมหลุดออกมา หรือเวลาสระผมแล้วผมร่วงไปติดที่ท่อเต็มไปหมดจนน้ำไม่ระบาย หรือนั่นคือสัญญาณของโรคหรือเปล่า ? หรือจริงๆแล้วการที่ผมร่วงเยอะเราขาดวิตามิน แร่ธาตุ หรือมาจากสาเหตุไหนกันแน่ รีบมาดูกันเลยดีกว่า เพื่อความสบายใจและรีบแก้ไขก่อนที่จะร่วงหนักไปมากกว่านี้

สาเหตุผมร่วง

สาเหตุผมร่วงมาจากอะไรได้บ้าง ? 

  • ผมร่วงจากพันธุกรรมภาวะนี้ คือภาวะผมร่วง หัวล้านที่เกิดขึ้นในเพศชายเป็นหลัก แต่ก็มีบ้างที่จะเกิดขึ้นในเพศหญิง โดยเราจะเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะผมร่วงแบบแอนโดรจีนิค เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน หรือฮอร์เมนเพศชายที่พบได้ทั้งชายหญิง ไปเป็นฮอร์โมน DHT (Dihyodrotestoserone) ที่เป็นอันตรายต่อรากผมอย่างมาก ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะมีอยู่ในเพศหญิงน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับเพศชาย แต่หากเมื่อใดที่ร่างกายเกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงลดลง เช่น ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ก็จะทำให้ฮอร์โมน DHT ตัวนี้เด่นชัดขึ้นมา และแสดงอาการที่เหมือนกับที่เกิดในเพศชายได้นั่นเอง
  • ผมร่วงจากอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจภาวะความเจ็บปวดนั้น จะทำให้รากกผมเข้าสู่ระยะพักตัว ซึ่งถือเป็นการปรับตัวของระบบร่างกาย ที่จะพักการทำงานในส่วนที่ไม่จำเป็นออกก่อนเพื่อโฟกัสในการรักษาตัวของร่างกายได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งผมจะกลับมางอกกลับมาใหม่ได้เองในระยะเวลา 6 เดือน
  • ผมร่วงจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลเกิดในหญิงที่คุมกำเนิดด้วยวิธีการกิน ฉีด ฝัง ยาคุมกำเนิด การรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยฮอร์โมนทดแทน วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ซึ่งการที่ฮอร์โมนต่างๆ เกิดการไม่สมดุลแบบนี้ จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักตัวได้ไวขึ้น ผมจึงหลุดร่วงมากขึ้น
  • ผมร่วงจากการตั้งครรภ์และหลังคลอดในขณะที่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนหลายตัวมักเพิ่มสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก ทำให้ในช่วงที่ตั้งครรภ์คุณแม่หลายคนแทบจะไม่มีอาการผมร่วงมากวนใจเลยแม้แต่น้อย กลับกันกับตอนหลังคลอดที่ฮอร์โมนจะกลับสู่สภาวะปกติ ทำให้เกิดภาวะผมร่วงตามมาได้ ทั้งนี้อาการผมร่วงที่ว่าจะกลับมาเป็นปกติได้ ในช่วง 12-18 เดือนค่ะ
  • ผมร่วงจากการใช้ยาบางประเภทยาบางประเภทมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ เช่น ยารักษาสิว การรักษาด้วยเคมีบำบัด ยารักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งหากเกิดผลข้างเคียงแบบนี้ขึ้น สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางออกได้ โดยอาจจะปรับเปลี่ยน หรือลดปริมาณตัวยาในการรักษาก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอเลย
  • ผมร่วงจากพฤติกรรมของตนเองการใช้ความร้อนและสารเคมีการที่ใช้ลมร้อนเป่าทำให้ผมแห้งไว ส่งผลให้เส้นผมแห้ง แตกปลาย ขาดความชุ่มชื่น จนผมร่วงได้ รวมถึงการดัดผม การยืดผม และการทำสีผม ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เส้นผมอ่อนแอ บางคนรุนแรงถึงขั้นเกิดอาการแพ้หนังศีรษะ
  • ผมร่วงจากการขาดวิตามินและแร่ธาตุ สารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม โดยเฉพาะ zinc โดยมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ซ่อมแซมผมที่อ่อนแอให้เจริญเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น มีบทบาทเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเส้นผม และยังช่วยควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะ ลดโอกาสการหลุดร่วงของเส้นผมได้
ผมร่วง

โดยปกติแล้วเส้นผมของคนเราสามารถหลุดร่วงได้ถึง 100 เส้นต่อวัน และอาจมากถึง 200 เส้นในวันที่สระผม ลักษณะผมร่วงในผู้หญิงจึงไม่ต่างกันกับของผู้ชายมากนัก เพราะก็คือการที่ผมร่วงมากกว่าปกติเหมือนกัน

ผมร่วงทุกวันเป็นเรื่องปกติ ผมร่วงวันละ 20 เส้น 30 เส้น เป็นเรื่องปกติ แต่หากผมร่วงวันละ 200 เส้น ถือว่าผิดปกติแล้ว หากผมร่วงมากกว่า 50 – 60 เส้นในผู้ชาย หรือ 100 – 150 เส้นในผู้หญิง จะถือว่าผิดปกติ แต่หากเกินมาเล็กน้อย ก็ไม่ต้องกังวลมาก เพราะอาจจะเกิดจากการที่เป็นคนผมเยอะ หรือเกิดจากความผิดปกติเพียงเล็กน้อยของร่างกาย เช่นความเครียด พักผ่อนน้อย หากแก้ปัญหาเล่านี้ได้ ร่างกายจะกลับเป็นปกติเอง

วิธีแก้ปัญหาผมร่วงด้วยตัวเอง

  • หลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่มีความร้อน ลดการใช้อุปกรณ์ทำผมที่ใช้ความร้อน ซึ่งทำให้เส้นผมสูญเสียความชุ่มชื้น งดใช้สารเคมีหรือยาบางประเภทที่ใช้กับเส้นผมและหนังศีรษะโดยตรง เช่น การทำสีผม ดัด ยืด ย้อม การกินยา หรือยาทาบนหนังศีรษะ
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์แต่งผมและเคมี การที่เส้นผมโดนสารเคมีเป็นจำนวนมาก จะส่งผลต่อโครงสร้างทางเส้นผม จนนำไปสู่ปัญหาผมร่วง
  • หลีกเลี่ยงผมอับชื้น ควรเช็ดผมให้แห้ง ไม่ควรเข้านอนทั้งที่ผมยังเปียกชื้น เพราะอาจทำให้เกิดความอับชื้นและเชื้อราบนหนังศีรษะได้ ซึ่งเชื้อราบนหนังศีรษะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มีอาการคัน มีรังแค และผมร่วงเป็นหย่อม บางคนร้ายแรงถึงกับติดเชื้อของหนังศีรษะ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส อาจทำลายรากผม ทำให้ผมร่วง ซึ่งต้องรักษาอาการติดเชื้อก่อนจึงจะฟื้นฟูเส้นผมได้
  • ใช้หวีที่เหมาะสม เลือกใช้หวีที่มีลักษณะซี่ห่าง และหลีกเลี่ยงการดึงผมแรง ๆ โดยเฉพาะการหวีผมในช่วงเส้นผมเปียก เพราะยิ่งทำให้เกิดผมร่วงได้ง่าย ๆ
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลหนังศีรษะให้มีสุขภาพแข็งแรงจากภายใน เพราะอาหารที่เราทานเข้าไปเป็นสารตั้งต้นของการสร้างเซลล์ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงการเจริญเติบโตของเส้นผมด้วย เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง เนื้อไม่ติดมัน ปลา ถั่วต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนและอะมิโนที่ดี  เพื่อรักษาสุขภาพของหนังศีรษะและเส้นผม
  • ควรใช้น้ำอุณหภูมิปกติ เพราะการสระผมด้วยน้ำอุ่นจะส่งผลให้หนังศีรษะเกิดอาการแห้ง รูขุมขนกว้าง รากผมเกิดความอ่อนแอ จนผมร่วง
  • ใช้โลชั่นบำรุงผมแก้ผมร่วง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับเส้นผมของตนเอง หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม ด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ 
  • ทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของซิงค์ ซิงค์เป็นแร่ธาตุที่มีช่วยการเจริญเติบโตของเส้นผมและเล็บ โดยมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ซ่อมแซมผมและเล็บที่อ่อนแอให้เจริญเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น มีบทบาทเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเส้นผมและเล็บ และยังช่วยควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะจึงลดโอกาสการหลุดร่วงของเส้นผมได้

รู้ถึงสาเหตุที่ผมร่วงแล้วอย่าลืมบำรุงดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำลายเส้นผม และควรหมั่นรับประทานอาหารที่มีซิงค์หรือหากคิดว่าไม่สามารถเลือกรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มสังกะสีในร่างกายได้ การรับประทานอาหารเสริมก็สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่งเช่นกันการที่ร่างกายขาดซิงค์เป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆมากมายที่สังเกตได้เช่นอาการผมร่วงแตกปลายเล็บเปราะเล็บเป็นจุดสีขาวผิวหนังแห้งและอักเสบบาดแผลหายช้าภูมิคุ้มกันลดลงติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้นเบื่ออาหารการรับรู้รสลดน้อยลงมีอาการซึมเศร้าหงุดหงิดขาดสมาธิเหม่อลอยเป็นต้น

Tags :
Articles,อื่นๆ
Share This :