Macrophar

ช่องคลอดแห้ง คัน ระคายเคือง ใช้อะไรรักษาดี ?

Have Any Questions?

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit.

ช่องคลอดแห้ง คัน ระคายเคือง ใช้อะไรรักษาดี ?

ช่องคลอดแห้ง คัน

ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) หรือภาวะช่องคลอดและปากช่องคลอดแห้ง (Vulvovaginal atrophy-VVA) เกิดขึ้นเมื่อเมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดน้อยลง ส่งผลให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น จนอาจทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ สาเหตุหลักมาจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) บริเวณเนื้อเยื่อช่องคลอดลดลงเนื่องจากเข้าสู่ภาวะวัยทอง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกวัยที่อยู่ในภาวะขาดเอสโตรเจน 

วัยทอง

วัยทอง คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วันหมดประจำเดือน โดยทั่วไปจะวินิจฉัยเมื่อประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 12 เดือน ทั่วไปอายุเฉลี่ยของการหมดประจำเดือนอยู่ที่ 52 ปี วัยทองเป็นช่วงเวลาที่การทำงานของรังไข่ลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดต่ำลง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (labia) และช่องคลอด (vagina) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ท่อปัสสาวะ (urethra) และกระเพาะปัสสาวะ (bladder)

อาการของภาวะช่องคลอดแห้ง

ผู้มีภาวะช่องคลอดแห้งอาจเกิดอาการตลอดเวลา หรือบางรายอาจมีอาการเป็นระยะหรือเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น โดยอาการที่พบคือ 

  • ระคายเคืองคันรวมถึงแสบร้อนบริเวณช่องคลอด 
  • แสบขัดขณะปัสสาวะอาจมีปัสสาวะบ่อยปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ 
  • ความต้องการทางเพศลดลงหรือถึงจุดสุดยอดได้ยากขึ้น ในผู้หญิงบางราย
  • ช่องคลอดอักเสบมีปัญหาตกขาวบ่อยมีกลิ่นเหม็นเป็นๆหายๆเนื่องจากพอเข้าวัยทองจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงทำให้ผนังบาง ความยืดหยุ่นลดลง ภาวะความเป็นกรดลดลง กลายเป็นสภาวะด่างมากขึ้น ร่วมกับเซลล์ที่ผนังช่องคลอดลอก ทำให้ช่องคลอดมีความเป็นด่างมากขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่แบคทีเรียชนิดดี lactobacilli ที่คอยปกป้องช่องคลอดนั้นอยู่ไม่ได้  ทำให้มีการเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคต่างๆ ทำให้ช่องคลอดติดเชื้อได้ง่ายและบ่อยมากขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นหากช่องคลอดแห้ง

แม้ช่องคลอดแห้งมักไม่ค่อยพบอาการแทรกซ้อนร้ายแรง แต่เนื่องจากขาดเมือกหล่อลื่น ทำให้ผนังช่องคลอดระคายเคืองและเกิดแผลบ่อย จึงทำให้มีความเสี่ยงติดแบคทีเรียหรือเชื้อราในบริเวณช่องคลอดง่ายขึ้น รวมถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอีกด้วย นอกจากนี้ภาวะช่องคลอดแห้งทำให้รู้สึกเจ็บแสบเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จนอาจกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง และต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

สาเหตุของภาวะช่องคลอดแห้ง

  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลงตามวัย
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจากผลข้างเคียงของยา เช่น ยารักษาโรคความดันเลือดสูง ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคภูมิแพ้ รวมถึงเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง
  • การฉีดยาเพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอกมดลูกก่อนการผ่าตัด อาจส่งผลให้ช่องคลอดแห้งได้
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
  • ความต้องการทางเพศต่ำหรือมีปัญหาทางเพศอื่นๆ อาจส่งผลให้ทำเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง ในทางกลับกัน ภาวะช่องคลอดแห้งก็อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลงได้เช่นกัน
  • อาการระคายเคืองช่องคลอดเนื่องจากแพ้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น รวมถึงแพ้ผ้าอนามัย และกางเกงใน
  • การสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ ทำให้ช่องคลอดเสียความเป็นกรดและแห้ง
  • เกิดผื่นผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหรือลดปัญหาช่องคลอดแห้ง 

  • รับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยเฉพาะถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด
  • ใช้เจลหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ เลี่ยงการใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดช่องคลอด ควรล้างช่องคลอดให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดา ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ไม่สวนล้างช่องคลอด 
  • ดูแลความสะอาดของกางเกงใน หากใช้แผ่นอนามัยควรเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่ปล่อยให้หมักหมมหรืออับชื้น
  • หากพบผื่นหรือสิ่งผิดปกติบริเวณช่องคลอดควรปรึกษาแพทย์ อย่าอายหรือปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรัง

การเพิ่มกิจกรรมทางเพศด้วยความรักและภาษากาย กระตุ้นให้มีน้ำหล่อลื่นออกมาให้ช่องคลอดชุ่มชื้นขึ้น ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดปัญหาได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารโนน็อกซินอล 9 (Nonoxynol-9) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะช่องคลอดแห้ง

วิธีรักษาภาวะช่อวคลอดแห้ง
  • ใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน เหมาะสำหรับผู้มีภาวะวัยทอง
  • ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทาในช่องคลอด ซึ่งพบว่าได้ผลดีทั้งชนิดเม็ด ครีม รวมถึงยาสำหรับสอดช่องคลอด ทั้งนี้การใช้ยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากการใช้ยาจะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือดเพิ่มด้วย
  • ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) ช่วยปกป้องและเคลือบผนังช่องคลอดให้ชุ่มชื้น ซึ่งมีทั้งแบบเป็นน้ำ เจล หรือเม็ดสอดช่องคลอด เนื่องจากไม่มีฮอร์โมนจึงไม่มีผลต่อร่างกาย จึงสามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน และบางผลิตภัณฑ์จะมีอาหารเลี้ยงเชื้อของแบคทีเรียชนิดดี lactobacilli ทำให้ตกขาวลดลงและลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ 
  • ใช้เจลหล่อลื่น (Lubricant) สำหรับผู้มีปัญหาเฉพาะกรณีเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยทาบริเวณช่องคลอด หรืออวัยวะเพศชาย โดยใช้ชั่วคราวก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • การให้วิตามินกับอาหารเสริม ยังไม่มีการศึกษาพิสูจน์ชัดเจนถึงการใช้ วิตามิน E และวิตามิน D ว่าได้ผลในการรักษาภาวะช่องคลอดแห้ง
  • การใช้เลเซอร์ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ในการใช้เลเซอร์ในการรักษาแบบฟื้นฟู โดยเครื่องจะปล่อยแสงเลเซอร์ออกมาแบบ 360 องศา ไปกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสท์ ช่วยทำให้ผลิตและจัดเรียงเส้นใยคอลลาเจนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เซลล์ช่องคลอดผลิตสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้นตามมา ซึ่งสามารถทำเลเซอร์ได้โดยไม่เจ็บ ไม่ต้องดมยาสลบ และใช้เวลาไม่นาน หลังทำสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทอง นอกจากปัญหาทางใจทางอารมณ์ที่ส่งผลให้ผู้หญิงหลายคนหงุดหงิดหรือเก็บกด ซึมเศร้าแล้ว วัยทองยังมีผลกับร่างกายหลายอย่าง ภาวะช่องคลอดแห้งและปากช่องคลอดแห้ง อาจดูเหมือนผิวแห้ง แต่ก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่กวนใจคนวัยทองอย่างมาก และยังส่งผลต่อหลายระบบ เนื่องจากผนังช่องคลอดรองรับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะด้วย จึงทำให้มีอาการทั้งแห้ง ระคายเคือง แสบร้อน ปัสสาวะขัด และรวมถึงกิจกรรมกับสามี

การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงด้วยความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะเกี่ยวกับวัยทอง โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรค ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือกมากมายสำหรับผู้ป่วย ทั้งแบบใช้ยาหรือไม่ใช่ยาในการการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละคน หรือหากผู้ป่วยมีการตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงตรวจภายในจะช่วยลดผลกระทบทั้งของตัวเองและชีวิตคู่ได้เป็นอย่างดี สำหรับอาการภาวะช่องคลอดแห้งนั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ช่องคลอดแห้ง
https://www.phyathai.com/article_detail/2457/th/ยังไม่ใช่วัยทอง_แต่ทำไมน้องสาวแห้ง

Tags :
Articles,อื่นๆ
Share This :