รู้หรือไม่ ? ทำไมเราง่วงทั้งวันทั้งที่ก็หลับแล้ว

หรือร่างกายเราจะไม่ได้แค่ ‘เหนื่อย’ แต่อาจกำลัง ‘ขอความช่วยเหลือ’ อยู่เงียบ ๆถามจริง…คุณเคยมั้ย ที่นอนเต็มอิ่ม 8 ชั่วโมง แต่ตื่นมาก็ยังเหมือนโดนรถสิบล้อทับ? หรือพักผ่อนสุดสัปดาห์แล้ว แต่พอวันจันทร์ยังง่วงเหมือนยังไม่ได้หยุดเลย? หากคำตอบคือ เคย และเป็นอยู่ทุกวัน ลองมาหาสาเหตุกันเถอะ เราเคยชินกับการคิดว่า ง่วง = นอนไม่พอ แต่ความจริงแล้ว ร่างกายเราซับซ้อนกว่านั้นเยอะ บางทีที่คุณตื่นมาแล้วยังง่วง อาจเพราะร่างกายยังไม่ได้ซ่อมแซมตัวเองจริง ๆ ฮอร์โมนยังปั่นป่วนจากความเครียด สมองยังสะสมความล้าไว้เพียบ ลำไส้ทำงานขัดจังหวะการพักผ่อน หรือแม้แต่ตับยังไม่ทันล้างพิษเสร็จ พูดง่าย ๆ คือ… หลับไปก็จริง แต่ร่างกายยังทำโอทีอยู่ 5 ตัวการลับที่ทำให้พักเท่าไหร่ก็ไม่หายเหนื่อย 1.เครียดโดยไม่รู้ตัว บางคนบอกว่า ไม่เครียดนะ แต่ความจริงร่างกายกำลังอยู่ในโหมด Fight or Flight ตลอดเวลาฮอร์โมนคอร์ติซอลพุ่ง ความดันขึ้น ระบบย่อยเสียตับก็ล้า เพราะต้องเคลียร์สารพิษที่เพิ่มขึ้นจากความเครียดผลคือ… ตื่นมาก็ยังรู้สึกเหมือนไม่ได้พัก 2.กินแต่อาหารเดิมๆซ้ำๆ ร่างกายต้องการวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายแต่ถ้าคุณกินแต่ของเดิมทุกวัน เช่น ข้าวไข่เจียว ข้าวกะเพรา กาแฟปั่น ร่างกายจะเริ่มขาดบางอย่าง โดยไม่รู้ตัว เช่น แมกนีเซียม วิตามิน B หรือโอเมก้า-3 สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนประกอบของระบบพลังงานในเซลล์ ขาดเมื่อไหร่ จะล้าทันที 3.หน้าจอคือตัวดูดพลังงานชั้นดี ใช้โทรศัพท์ก่อนนอน แสงฟ้าไปรบกวนการหลั่งเมลาโทนิน นอนไม่ลึก ตื่นมาไม่สดชื่น แถมระหว่างวัน ถ้าตาอยู่หน้าจอตลอด สมองจะตึงเครียดโดยไม่รู้ตัว ลองปิดมือถือสัก 1 ชั่วโมงก่อนนอนดู แล้วจะเห็นความต่าง 4.ขาดการเคลื่อนไหวแบบเบาๆ การออกกำลังกายเบา ๆ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ระบบต่าง ๆ ตื่นตัวและทำงานสมดุล แต่ถ้านั่งทั้งวัน ระบบไหลเวียนช้าลง รู้สึกเหนื่อยแม้ไม่ได้ทำอะไร เดินรอบโต๊ะ, ยืดเส้น, ขยับขาเล็ก ๆ ก็ช่วยแล้วนะ 5.ลำไส้ไม่แฮปปี้ = สมองไม่สดใส ลำไส้คือ “สมองที่สอง” ของมนุษย์ ถ้าระบบย่อยแย่ ร่างกายอักเสบเงียบ สมองเฉื่อย ง่วงง่ายแก้ด้วยการดื่มน้ำ, กินผัก, เลี่ยงน้ำตาล และเคลื่อนไหวบ้าง ถ้าคุณเหนื่อยแบบไม่รู้สาเหตุ อย่าเพิ่งโทษ อายุ หรือ งาน บางครั้งสิ่งที่เราต้องการไม่ใช่นอนให้เยอะกว่าเดิม แต่เป็นการฟังเสียงร่างกายให้ชัดว่า…เรากำลังพักผ่อนไม่มีคุณภาพ เรากำลังขาดสารอาหารที่จำเป็น หรือเรากำลังสะสมความเครียดโดยไม่รู้ตัว การเริ่มดูแลตัวเอง ไม่ต้องเปลี่ยนชีวิตใหญ่โต แค่เปลี่ยนนิดเดียวร่างกายก็พร้อมตอบแทนเรากลับมาแบบเกินคาด
ถอดรหัส “พลังงานภายในเซลล์” ด้วย D’LeVer CoQ10 จากเซลล์สู่สุขภาพทั้งระบบ

รู้หรือไม่ว่าเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายของคุณต่าง “ต้องการพลังงาน” เพื่อทำหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์ และสารสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพลังงานนี้คือ Coenzyme Q10 (CoQ10) ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “หัวใจของการผลิตพลังงานชีวภาพ” เลยก็ว่าได้ CoQ10 คืออะไรและทำไมถึงสำคัญกับ“ทุกเซลล์” ในร่างกาย ? Coenzyme Q10 (โคเอนไซม์คิวเท็น) เป็นสารคล้ายวิตามินที่พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยเฉพาะในเซลล์ที่ต้องการพลังงานสูง เช่น หัวใจ ตับ ไต และกล้ามเนื้อ หน้าที่หลักของ CoQ10 เป็นส่วนสำคัญในการผลิตพลังงาน ATP ซึ่งเป็นพลังงานหลักของเซลล์ อีกทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่ช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหาย และช่วยคงสมดุลการทำงานของเซลล์ในระบบต่าง ๆ เช่น หัวใจ สมอง และผิวพรรณ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น หรืออยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง เจ็บป่วย หรือใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมัน (Statins) ระดับ CoQ10 ในร่างกายจะลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตพลังงานถดถอย และนำไปสู่ความเสื่อมของร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 1.ช่วยเสริมสุขภาพหัวใจ หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างกาย และต้องการพลังงานสูง CoQ10 จึงเป็นเหมือน “เชื้อเพลิงสำคัญ” ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้ดีขึ้น ลดภาวะหัวใจล้มเหลว ปรับสมดุลความดันโลหิตลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดหัวใจ ผู้ที่ใช้ยากลุ่ม Statins เพื่อควบคุมคอเลสเตอรอล มักมีระดับ CoQ10 ต่ำลง การเสริม CoQ10 จะช่วยบรรเทาอาการอ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ หรือเหนื่อยง่ายที่เกิดจากการใช้ยาได้ 2.เพิ่มพลังงานในระดับเซลล์ เมื่อเซลล์สร้างพลังงานได้ไม่เต็มที่ คุณจะเริ่มรู้สึกถึง “พลังชีวิตที่ลดลง” เช่น ตื่นมาก็ยังเพลีย ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กล้ามเนื้อเมื่อยล้าเร็ว ไม่มีแรงออกกำลังกาย CoQ10 จะเข้าไปกระตุ้นกระบวนการสร้างพลังงานในไมโตคอนเดรีย ซึ่งเป็นเหมือน “โรงงานผลิตพลังงาน” ของเซลล์ ทำให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นจากภายใน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเหนื่อยง่ายเรื้อรัง (Chronic Fatigue) 3.ป้องกันความเสื่อมของสมอง สมองก็ต้องการพลังงานเช่นกัน และ CoQ10 มีผลช่วยลดการอักเสบและความเครียดจากอนุมูลอิสระในสมอง ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นเหตุของภาวะความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ภาวะซึมเศร้า การได้รับ CoQ10 อย่างสม่ำเสมอ ช่วยชะลอการเสื่อมของสมองและเพิ่มสมรรถนะในการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ 4.ส่งเสริมสุขภาพผิวพรรณชะลอวัยจากภายใน CoQ10 ไม่ได้ทำงานแค่ในระบบภายในเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อ “ความงามจากภายใน” เพราะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการเกิดริ้วรอยจากการเสื่อมของเซลล์ผิว ปกป้องผิวจากรังสี UV และมลภาวะ เสริมการผลิตคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวดูอิ่มฟูจากภายใน 5.กล้ามเนื้อทนทานต่อการใช้งานหนัก ลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย และยังช่วยลดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุด้วย ลองเริ่มต้นดูแลร่างกายลึกถึงระดับเซลล์ด้วย D’LeVer CoQ10 เพื่อเติมพลังให้กับทุกกิจกรรมในชีวิต ตั้งแต่การคิดงาน การออกกำลังกาย ไปจนถึงการนอนหลับให้สนิทยิ่งขึ้น อย่ารอให้ความอ่อนล้าเป็นเรื่องปกติของชีวิต สุขภาพดีไม่ใช่สิ่งที่ได้มาด้วยความโชคดี แต่ได้มาจาก “การเลือกลงทุน” ที่ถูกต้อง
รู้จักโอเมก้า-3 ไขมันดีที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้

ในยุคที่คนให้ความสำคัญกับ “การดูแลสุขภาพเชิงลึก” มากกว่าการรักษาเพียงปลายเหตุ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกสำคัญที่คนรุ่นใหม่เลือกใช้ แต่คำถามที่ยังค้างคาใจหลายคนคือ “เราควรเริ่มจากอะไร?” และ “ปลอดภัยจริงไหม?” หนึ่งในคำตอบที่วงการแพทย์ทั่วโลกให้การยอมรับมากที่สุด คือ “โอเมก้า-3” โดยเฉพาะในรูปแบบของ Fish Oil (น้ำมันปลา) ซึ่งไม่ใช่แค่กระแสนิยม แต่คือสารอาหารที่วิจัยมาแล้วนับพันชิ้นว่าเกี่ยวข้องกับ การทำงานของหัวใจสมองระบบภูมิคุ้มกันและการลดการอักเสบภายในร่างกาย ทำความรู้จัก “โอเมก้า-3” ให้ลึกกว่าเดิม โอเมก้า-3 คือกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acids) ที่ร่างกาย จำเป็นต้องใช้ แต่ ไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ซึ่งโอเมก้า-3 หลัก ๆ ที่สำคัญมีอยู่ 3 ชนิด คือ ร่างกายสามารถแปลง ALA เป็น EPA และ DHA ได้บ้าง แต่ในสัดส่วนที่น้อยมาก (น้อยกว่า 10%) ดังนั้นการบริโภค EPA และ DHA จากปลาหรืออาหารเสริมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง 1. หัวใจและหลอดเลือด : เพราะโรคหัวใจไม่ใช่เรื่องของ “ผู้สูงอายุ” เท่านั้น จากสถิติของกรมควบคุมโรค โรคหัวใจยังคงเป็น สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย และเริ่มพบในคนอายุน้อยลงทุกปีสาเหตุหลักมาจาก พฤติกรรมการกินการใช้ชีวิตและภาวะไขมันในเลือดสูง โอเมก้า-3 มีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการดูแลระบบหัวใจ ช่วยลดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ไขมันดี) และลด LDL (ไขมันเลว) ลดความดันโลหิต ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และลดการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหัวใจ 2. สมองและความจำ : ไขมันดีที่สมองขาดไม่ได้ รู้ไหมว่า สมองของมนุษย์ประกอบด้วยไขมันมากถึง 60% และ DHA คือไขมันตัวสำคัญที่มีอยู่มากในเนื้อเยื่อสมอง โดยเฉพาะในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความจำ และการควบคุมอารมณ์ การขาด DHA จึงมีผลโดยตรงต่อสมรรถภาพทางสมอง และยังสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ เช่น สมาธิสั้นในเด็ก (ADHD) อัลไซเมอร์ ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติของอารมณ์ในผู้ใหญ่ ในทางกลับกัน การเสริมโอเมก้า-3 เป็นประจำจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำ ลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า ทำให้โฟกัสงานได้ดีขึ้น และชะลอการเสื่อมของสมองในระยะยาว 3. การอักเสบเรื้อรัง : ศัตรูเงียบของร่างกายที่หลายคนมองข้าม หลายโรคที่เราพบในชีวิตประจำวัน เช่น ปวดข้อ ปวดเข่า โรคผิวหนังเรื้อรัง ลำไส้แปรปรวน (IBS) ภูมิแพ้ หรือแม้แต่โรคอ้วน ล้วนมีรากฐานจากสิ่งที่เรียกว่า “การอักเสบเรื้อรัง” ซึ่งไม่ได้แสดงอาการทันที แต่ค่อย ๆ ทำลายระบบภายในอย่างต่อเนื่อง โอเมก้า-3 มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเข้าไปลดระดับสารก่อการอักเสบในร่างกาย เช่น Cytokines และ Prostaglandins ทำให้เนื้อเยื่อกลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล 4. ผิวหนังและความชุ่มชื้น : ความงามจากภายใน หลายคนไม่รู้ว่าโอเมก้า-3 มีผลต่อผิวหนังเช่นเดียวกับหัวใจและสมอง ช่วยในเรื่องลดการอักเสบของผิว เช่น ผื่น แพ้ แดง ช่วยให้ผิวไม่แห้งลอกง่าย เพิ่มความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ และชะลอการเกิดริ้วรอยจากภายใน 5. ดวงตาและการมองเห็น : ลดอาการล้าตาจากหน้าจอ ในยุคที่คนทำงานหน้าจอวันละ 8–10 ชั่วโมง การมองเห็นเริ่มมีปัญหาเร็วกว่าที่เคย โอเมก้า-3 โดยเฉพาะ DHA มีบทบาทสำคัญในการป้องกันอาการตาแห้ง ตาล้า และป้องกันจอประสาทตาเสื่อมในระยะยาว สุขภาพดีไม่ใช่เรื่องของโชคดี แต่คือผลลัพธ์ของการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ โอเมก้า-3 ไม่ใช่ยาวิเศษ แต่คือ “สารอาหารที่ร่างกายคุณต้องการ” ในทุกช่วงอายุ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและดูแลร่างกายเชิงลึกตั้งแต่วันนี้ จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงโรคเรื้อรัง ซึมเศร้า ความจำเสื่อม ปวดข้อ หรือแม้แต่ความอ่อนล้าทางจิตใจ ที่ไม่ควรมองข้าม ลองเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ อย่าง D’LeVer Fish Oil สกัดจากปลาทะเลน้ำลึกมีปริมาณ EPA และ DHA สูงในแคปซูลเดียว เหมาะกับทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะวัยเรียน วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ
เปิดโลก “วิตามินซีบัฟเฟอร์” ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันแบบอ่อนโยน ไม่ทำร้ายกระเพาะอาหาร

เมื่อเอ่ยถึงวิตามินซี เชื่อแน่ว่าทุกคนรู้จักและทราบถึงประโยชน์มากมายของวิตามินซีซึ่งวิตามินซี (Vitamin C) เป็นวิตามินที่สำคัญในการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และมีประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ช่วยในการป้องกันโรคหวัด ภูมิแพ้ โดยมีส่วนช่วยลดความรุนแรง และระยะเวลาการเป็นหวัด รวมทั้งบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้ หรือมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิวพรรณ และเสริมสร้างคอลลาเจนให้ผิวแข็งแรงยืดหยุ่นได้ดี วิตามินซี เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทาน โดยอาหารในธรรมชาติที่มีวิตามินชนิดนี้จะอยู่ในอาหารประเภทผักและผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม สับปะรด มะขาม ฝรั่ง มะนาว และมะเขือเทศ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่รับประทานผักและผลไม้ได้ไม่มากเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการหลายคนจึงเสี่ยงที่ร่างกายจะขาดวิตามินซี ทำให้ต้องอาศัยการรับประทานในรูปแบบของวิตามินเสริมทดแทน แต่อย่างไรก็ตาม วิตามินซีมีความเป็นกรดสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารในบางคน โดยเฉพาะผู้ที่มีกระเพาะอาหารอ่อนแอหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร วิตามินซีบัฟเฟอร์ (Buffered Vitamin C) เป็นรูปแบบของวิตามินซีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดความเป็นกรด โดยการเติมแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม หรือโพแทสเซียม เข้าไป ทำให้วิตามินซีมีความเป็นกลางมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อยลง มีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น ปริมาณการรับประทาน ปริมาณการรับประทานวิตามินซีบัฟเฟอร์ที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ สุขภาพ และความต้องการของร่างกาย โดยทั่วไป ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่คือ 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ข้อควรระวัง วิตามินซีบัฟเฟอร์เป็นทางเลือกที่อ่อนโยนต่อกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานวิตามินซี แต่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานวิตามินซีบัฟเฟอร์ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังรับประทานยาอื่น
เสียงหัวเราะ…คือยารักษาโรคที่ถูกมองข้ามมากที่สุดในโลก

เครียด ๆ อยู่ ลองดูคลิปหมาแมวสัก 2 นาที ขำจนหลุด แล้วอยู่ดี ๆ ก็รู้สึกดีขึ้นเฉยเลย คุณเคยรู้สึกแบบนี้มั้ย? ถ้าเคย… คุณไม่ได้คิดไปเองค่ะ เพราะเสียงหัวเราะไม่ใช่แค่ความสนุก แต่มันคือ “พลังบำบัด” ชั้นเยี่ยม ที่มีผลจริงกับระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ เสียงหัวเราะมีผลต่อร่างกายยังไง? เพราะเมื่อเราหัวเราะระบบประสาทพาราซิมพาเธติกที่ควบคุมการพักผ่อน จะทำงาน ส่งผลให้ระดับ ฮอร์โมนความเครียด (คอร์ติซอล) ลดลง ซึ่งเจ้านี่แหละ…เป็นตัวที่กดภูมิคุ้มกัน แล้วถ้าเป็นคนไม่ขำง่ายล่ะ จะหัวเราะยังไงดี? ไม่ต้องฝืนขำแบบปลอม ๆ นะคะ เพราะแม้แต่ “ยิ้ม” ก็ส่งผลดีต่อร่างกายเช่นกัน แต่ถ้าอยากเริ่มเพิ่มเสียงหัวเราะในชีวิตแบบธรรมชาติ ลองวิธีเหล่านี้ เสียงหัวเราะไม่ได้แค่ทำให้เรามีความสุขแต่ยังส่งผลลึกถึงระดับเซลล์ภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท และหัวใจวันไหนที่รู้สึกเครียด ป่วยง่าย อ่อนแอ อาจไม่ต้องรีบหายา แค่ลองหาคลิปแมว หรือโทรหาเพื่อนที่ขำเป็นเรื่องง่าย แล้วหัวเราะสักทีสองที คุณอาจพบว่าเสียงหัวเราะ คือยาดีที่สุดที่คุณมีอยู่แล้ว แค่ยังไม่ได้ใช้
การออกกำลังกายแบบไหนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด

การออกกำลังกายเป็นส่วนสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีและชีวิตที่ยืนยาว การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจ ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง และเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวม แต่ด้วยรูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลาย ทำให้หลายคนสงสัยว่าการออกกำลังกายแบบใดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด แต่จริงๆแล้วประโยชน์ของการออกกำลังกายขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ความชอบ และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล มาการเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเรากันเลย การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ คือ การออกกำลังกายที่เน้นการทำงานของหัวใจและปอด ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและหายใจถี่ขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ได้แก่ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง คือ การออกกำลังกายที่ใช้แรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก การใช้ยางยืด หรือการใช้น้ำหนักตัว เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ได้แก่ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง การออกกำลังกายแบบยืดเหยียด คือ การออกกำลังกายที่เน้นการเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด ได้แก่ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด การออกกำลังกายแบบทรงตัว คือ การออกกำลังกายที่เน้นการพัฒนาการทรงตัวของร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของการหกล้ม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบทรงตัว ได้แก่ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบทรงตัว: การออกกำลังกายที่ให้ประโยชน์สูงสุดมักเป็นการผสมผสานการออกกำลังกายแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ 3-5 วันต่อสัปดาห์ การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง 2-3 วันต่อสัปดาห์ และการออกกำลังกายแบบยืดเหยียดและทรงตัวอย่างสม่ำเสมอ การผสมผสานนี้จะช่วยพัฒนาความแข็งแรง ความทนทาน ความยืดหยุ่น และการทรงตัวของร่างกายอย่างครอบคลุม การเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมเหมาะสมควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้ ไม่มีการออกกำลังกายรูปแบบใดที่ “ดีที่สุด” อย่างไรก็ตาม การผสมผสานการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เวทเทรนนิ่ง ยืดเหยียด และทรงตัว จะให้ประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด การเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเป้าหมาย ความชอบ และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอและได้รับประโยชน์สูงสุด การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจ ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง และเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวม
บำรุงสมองให้ไบรท์ ทำงานฉับไว ด้วยน้ำมันปลาสำหรับวัยทำงาน

ในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันสูง การทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจที่เฉียบคม และการรับมือกับข้อมูลจำนวนมหาศาล กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับวัยทำงาน สมองจึงเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้พร้อมรับมือกับความท้าทายต่างๆ การบำรุงสมองจึงไม่ใช่แค่เรื่องของผู้สูงอายุอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่วัยทำงานควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง หนึ่งในตัวช่วยสำคัญในการบำรุงสมองที่ได้รับความนิยมคือ “น้ำมันปลา” วัยทำงานมักจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ไม่ว่าจะเป็น จากความท้าทายเหล่านี้ ทำให้สมองของวัยทำงานต้องการสารอาหารที่ช่วยบำรุงและฟื้นฟูการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันปลา “น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งประกอบด้วย EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid)” ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสมอง ประโยชน์ของน้ำมันปลาต่อสมองของวัยทำงาน นอกจากการรับประทานน้ำมันปลาแล้ว การดูแลสุขภาพสมองด้านอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน น้ำมันปลาเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสมองของวัยทำงาน ช่วยเสริมสร้างความจำ การเรียนรู้ สมาธิ ลดความเครียด และอาจช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม การเลือกรับประทานน้ำมันปลาที่มีคุณภาพและปริมาณโอเมก้า 3 ที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ จะช่วยให้สมองของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในชีวิตการทำงานได้อย่างเต็มที่
ไขความลับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คืนชีวิตให้กลับมาแอคทีฟได้เต็มที่

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงานหนัก การออกกำลังกาย หรือแม้แต่การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน อาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก มาทำความรู้จักกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อประเภทของอาการ สาเหตุ ท่าทางการออกกำลังกายเพื่อบรรเทา รวมถึงวิธีการบรรเทาอาการปวดเมื่อยด้วยตนเองกันเถอะ นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ยังมีวิธีการอื่นๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ดังนี้ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการออกกำลังกาย การพักผ่อน การประคบร้อนและเย็น การนวด การใช้ยา และการใช้สเปรย์บรรเทาอาการปวด การเลือกวิธีการบรรเทาอาการที่เหมาะสมกับสาเหตุและลักษณะอาการ จะช่วยให้คุณกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข หากอาการปวดเมื่อยไม่ดีขึ้นภายในไม่กี่วัน หรือมีอาการรุนแรงขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง
เคล็ดลับดูแลสุขภาพในอากาศหนาว พร้อมเสริมสร้างด้วยซิงค์

เมื่อลมหนาวพัดมา อุณหภูมิที่ลดลงไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้สึกหนาวสั่น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพของเราในหลายด้าน ทั้งผิวพรรณ ระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกัน การดูแลสุขภาพในช่วงอากาศหนาวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ บทความนี้จะนำเสนอแนวทางการดูแลสุขภาพในอากาศหนาวอย่างครอบคลุม พร้อมทั้งแนะนำอาหารที่ควรเสริม การรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในช่วงอากาศหนาว เพราะร่างกายจะสูญเสียความร้อนได้ง่ายกว่าปกติ การปฏิบัติตนเพื่อรักษาความอบอุ่นของร่างกาย ได้แก่ อากาศที่แห้งและเย็นในช่วงหน้าหนาว มักทำให้ผิวแห้ง แตก และระคายเคือง การดูแลผิวพรรณจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาผิวต่างๆ ในช่วงอากาศหนาว โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม มักจะแพร่ระบาดได้ง่าย การดูแลระบบทางเดินหายใจจึงมีความสำคัญ ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศหนาว การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสามารถทำได้โดย การดูแลสุขภาพในอากาศหนาวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ การปฏิบัติตนเพื่อรักษาความอบอุ่นของร่างกาย การดูแลผิวพรรณ การดูแลระบบทางเดินหายใจ และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติควบคู่กันไป การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่มีซิงค์สูง หรือการเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีซิงค์ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง พร้อมรับมือกับอากาศหนาว
ดูแลหัวใจ เติมพลังให้ร่างกายด้วย D’LeVer Co Q-10 เพื่อสุขภาพที่ดี

โคเอนไซม์คิวเท็น (CoQ10) หรือที่รู้จักกันในชื่อยูบิควิโนน (Ubiquinone) เป็นสารประกอบที่พบได้ตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการผลิตพลังงานของเซลล์ เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่หล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งที่มาของโคเอนไซม์คิวเท็น ร่างกายมนุษย์สามารถผลิตโคเอนไซม์คิวเท็นได้เองตามธรรมชาติ แต่ปริมาณการผลิตจะลดลงตามวัย นอกจากนี้ยังสามารถพบโคเอนไซม์คิวเท็นได้ในอาหารบางชนิด เช่น ข้อควรระวัง: