ท้องเสีย…กินยาอะไรได้บ้างนะ ?
ท้องเสียเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากหลายสาเหตุและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในผู้ป่วยบางรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และทำงานของภูมคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นการรักษาอาการท้องเสียในช่วงเริ่มแรกโดยการใช้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เรียกว่า ORS และยาที่ใช้รักษาอาการท้องเสียอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ก็สามารถทำได้เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ 1. สารน้ำทดแทนทางปาก (ORS) การให้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เราเรียกกันบ่อยๆว่า ORS มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันหรือรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดจากท้องเสีย ซึ่งผู้ป่วยโรคท้องเสียทุกรายจะเกิดการสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ไม่ว่าจะมีอาการแสดงของการสูญเสียน้ำหรือไม่ ดังนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับสารน้ำทดแทน ซึ่งรูปแบบของสารน้ำทดแทนที่ใช้ขึ้นกับความรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากควรส่งต่อไปสถานพยาบาลเพื่อให้สารน้ำทดแทนในรูปฉีดเข้าหลอดเลือดดา ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการในระดับน้อยถึงปานกลาง ควรได้รับสารน้ำทดแทนทางปาก ซึ่งรูปแบบที่แนะนำและนิยมใช้ คือ สารละลายที่มีปริมาณน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์ตามที่องค์การอนามัยโลกกาหนด ซึ่งจะเรียกว่า oral rehydration solution (ORS) การให้ ORS ในผู้ป่วยโรคท้องเสียถือว่ามีความสาคัญอย่าง จากการศึกษาทางคลินิก พบว่า การให้ ORS ในเด็กที่เกิดโรคท้องเสียช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ในการให้ ORS ต้องให้อย่างถูกต้องและเพียงพอ การรับประทาน ORS จะแนะนาให้ค่อยๆ จิบ ไม่ควรรับประทานรวดเดียวจนหมด โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจาก ผู้ป่วยโรคท้องเสียจะมีสภาวะดูดซึมน้ำและอาหารได้ลดลง ร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์จากโพรงลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดไม่ทัน ทำให้มีความเข้มข้นของน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์ในโพรงลำไส้สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการดูดน้ำเข้ามาที่โพรงลำไส้มากขึ้น และทำให้อาการท้องเสียรุนแรงกว่าเดิมได้ 2. ยาบรรเทาอาการท้องเสีย (Antidiarrheal drugs) ยาดูดซับสารพิษ (adsorbent agents) ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ได้แก่ diosmectite, kaolin-pectin และ charcoal ออกฤทธิ์โดยการดูดซับสารพิษที่เกิดจากเชื้อก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โดยยาที่มีการศึกษาทางคลินิกยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด คือ diosmectite Diosmectite เป็นยาที่เชื่อว่ามีกลไกการออกฤทธิ์ได้หลายกลไก ได้แก่ ดูดซับสารพิษ เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพในการดูดซับที่ดีกว่ายาชนิดอื่น ยาสามารถไปจับเยื่อบุลำไส้ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อต่างๆ เข้ามาเกาะและทำลายเยื่อบุลาไส้ และยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบอีกด้วย ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ diosmectite พบว่าสามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จากหลักฐานทางวิชาการ พบว่า ช่วยลดปริมาณอุจจาระ และระยะเวลาของโรคท้องเสียได้ สถิติ อีกทั้งยานี้ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง และมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานยา ยายับยั้งการเคลื่อนตัวของลำไส้ (Antimotility agents) ยาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีในร้านยา คือ loperamide ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนตัวของลำไส้โดยตรง ทำให้อาการท้องเสียลดลงได้ ยาสามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว เริ่มเห็นผลได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงหลังรับประทานยา และออกฤทธิ์ได้เต็มที่ใน 16-24 ชั่วโมงหลังรับประทานยา โดยยากลุ่มนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก เนื่องจากพบผลข้างเคียงที่รุนแรง ยายับยั้งการหลั่งสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ (Antisecretory drug) ได้แก่ยา racecadotril เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์เข้าสู่โพรงลำไส้ได้ จึงช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ 3. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเมื่อบริโภคในปริมาณมากพอ จะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคกลไกของโพรไบโอติกส์ในการรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าโพรไบโอติกส์ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลำไส้ เพิ่มความแข็งแรงของเยื่อบุลำไส้ แย่งอาหารกับเชื้อก่อโรค และทำให้สภาพในโพรงลำไส้ไม่เหมาะกับการเติบโตของเชื้อก่อโรค มีผลทำให้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อก่อโรค 4. ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นเป็นปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยทั้งในร้านยาและสถานพยาบาล การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะควรพิจารณาถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กรณีอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ จะไม่แนะนาให้ใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากเชื้อก่อโรคหลักในชุมชนมักจะเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นหลัก หรือแม้แต่ท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหากมีระดับความรุนแรงเพียงเล็กน้อยหรือปานกลาง ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะสามารถหายได้เอง 5.ธาตุสังกะสี (Zinc) มีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหารในการซ่อมแซมเยื่อบุลำไส้ และการสร้างเอนไซม์บริเวณ brush border รวมไปถึงการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อก่อโรคในลำไส้ ในภาวะท้องร่วงจะมีการสูญเสียธาตุสังกะสีไปทางอุจจาระมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะขาดธาตุสังกะสีได้ การขาดธาตุสังกะสีทำให้เกิดความบกพร่องในการดูดซึมน้ำและเกลือแร่ มีการพร่องเอนไซม์ที่เยื่อบุลำไส้เล็ก และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง 6. ยาบรรเทาอาการที่เกิดร่วมกับท้องเสีย ได้แก่ ยาลดไข้ ยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง เช่น hyoscine และยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ที่นิยมใช้ เช่น domperidone และ ondansetron อย่างไรก็ตาม domperidone และ ondansetron ก็มีรายงานการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเช่นกัน ดังนั้นจึงควรใช้ในขนาดยาที่แนะนำ และระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการกินอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด เปรี้ยวจัด เพื่อลดอาการเสาะท้อง ลดการกินอาหารหมักดอง เพราะเสี่ยงต่อการพบเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากกระบวนการหมักดองที่ไม่มีประสิทธิภาพ เลือกกินอาหารจากร้านอาหาร หรือวัตถุดิบในการทำอาหาร ที่สะอาด น่าเชื่อถือ และปรุงให้สุก 100% ก่อนกินอาหารทุกครั้ง ไม่กินอาหารที่ปรุงสุกข้ามวัน และเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เย็นมากพอ เพราะอาจก่อให้เกิดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสียได้ ไม่กินอาหารมากจนเกินไป เช่น การกินบุฟเฟ่ต์ หรือการอดอาหารมื้อหนึ่ง แล้วกินอีกมื้อหนึ่งมากขึ้นทดแทน เพราะการกินอาหารครั้งเดียวในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ผนังหน้าท้องขยายขนาดขึ้น และส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ควรเปลี่ยนมากินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยขึ้นจะดีกว่า ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกครั้งก่อนกลืน ไม่รีบกินรีบกลืนจนเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ยาก เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้ โรคท้องเสียเป็นโรคที่สำคัญและพบได้บ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ควรจะประเมินอาการและระดับความรุนแรงของโรคท้องเสียของตนเอง หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถให้สารน้ำทดแทน ORS และยาบรรเทาอาการท้องเสียอย่างเหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงของอาการท้องเสียได้ แต่หากมีอาการรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/IJPS/article/view/125918
ท้องเสียบ่อย เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
โรคท้องเสีย (diarrhea) นับเป็นเป็นโรคที่พบบ่อย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อและชนิดของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน หรือการประกอบกิจวัตรประจำวัน หากร่างกายยิ่งมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ “ท้องเสีย” คืออะไร ? หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง (หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากอย่างน้อย 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง) หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หากท้องเสียมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ เรียกว่าท้องเสียแบบเฉียบพลัน แต่หากนานกว่านั้นจะเรียกว่า ท้องเสียแบบเรื้อรัง ท้องเสีย แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามระยะเวลาที่เกิดโรค 1. ท้องเสียเฉียบพลัน (acute diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียน้อยกว่า 14 วัน เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือโปรโตซัว หรืออาจเกิดจากอาหารเป็นพิษเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน preformed toxin ของเชื้อแบคทีเรีย 2. ท้องเสียต่อเนื่อง (persistent diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียตั้งแต่ 14 ถึง 30 วัน สาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อโปรโตซัว รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย และยังอาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวนหลังการติดเชื้อ (post-infection irritable bowel syndrome) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease, IBD) 3. ท้องเสียเรื้อรัง (chronic diarrhea) เป็นภาวะที่มีอาการท้องเสียมากกว่า 30 วัน อาจเกิดได้จากการติดเชื้อ หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น ความบกพร่องของระบบทางเดินอาหาร เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ควรส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษา สาเหตุของท้องเสียเฉียบพลัน 1.การติดเชื้อไวรัส เช่น norovirus (พบได้ในผู้ป่วยทุกวัย มีอาการ ไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ) , rotavirus (พบบ่อยใยเด็ก ร้อยละ 90 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี)2.การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Vibrio cholera, Escherichia coli, Shigella spp., Salmonella spp., Campylobacter jejuni3.การติดเชื้อโปรโตซัว เช่น Giardia intestinalis และ Cryptosporidium parvum4.ยาหรือสมุนไพรบางชนิด เช่น ยาระบาย ยาสะเทินกรดที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม ยาปฏิชีวนะบางชนิด metformin และ colchicine5.การระคายเคืองหรือการกระตุ้นจากอาหารบางชนิด เช่น อาหารรสจัด หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร6.เกิดจากการรับประทานสารพิษ (toxin) ที่เจือปนอยู่ในอาหาร โดยเฉพาะ preformed toxin จากเชื้อแบคทีเรีย7.อาหารเป็นพิษ (food poisoning) จากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน preformed toxin จากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium perfringens, Staphylococcus aureus หรือ Bacillus cereus อาจมีอาการปวดเกร็งช่องท้อง (abdominal pain) ร่วมด้วยได้ โดยทั่วไปอาการมักเกิดภายใน 2-7 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน อาการมักไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองใน 48-72 ชั่วโมง 1. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเด่น ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษดังได้กล่าวข้างต้น จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ การรักษาหลัก คือ การให้สารน้ำทดแทนทางปาก (oral rehydration therapy, ORT) และพิจารณาให้ยารักษาตามอาการร่วมด้วยได้ เช่น ยาต้านอาการอาเจียน ยาบรรเทาอาการท้องเสีย และยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง 2. ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงเด่นโดยมีลักษณะอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ จะให้การรักษา ดังนี้ – ผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงน้อย สามารถหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ การรักษาหลัก คือ การให้สารน้ำทดแทนทางปาก และพิจารณาให้ยารักษาตามอาการร่วมด้วยได้ เช่น ยาบรรเทาอาการท้องเสีย ได้แก่ diosmectite และยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง ได้แก่ hyoscin– ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง ควรพิจารณาถึงประวัติเดินทางหรือท่องเที่ยว หากอาการท้องเสียสัมพันธ์กับช่วงที่เดินทาง ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยสารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อที่คาดว่าเป็นสาเหตุ (รายละเอียดในหัวข้อโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการเดินทาง) และอาจพิจารณาให้ loperamide ร่วมด้วยเพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว หากไม่มีประวัติท่องเที่ยว ควรพิจารณาถึงอาการไข้ของผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ หรือไข้ต่ำ (น้อยกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) โดยทั่วไปสามารถหายได้เอง จึงไม่จาเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ และให้การรักษาด้วยการให้สารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับพิจารณาให้ยารักษาตามอาการ ส่วนผู้ป่วยที่มีไข้สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 38.5 องศาเซลเซียส) หากมีอาการไม่เกิน 72 ชั่วโมง อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการให้สารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยารักษาตามอาการ และติดตามผลการรักษา ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการนานเกิน 72 ชั่วโมง ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นนี้อาจดำเนินไปเป็นอาการอุจจาระร่วงที่เป็นมูกหรือปนเลือดได้ เนื่องจากอาจเกิดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ตามมา จึงควรส่งตัวไปยังสถานพยาบาลเพื่อทำการตรวจเชื้อสาเหตุและให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมกรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย 3. ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงเด่นโดยมีลักษณะอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด ซึ่งบ่งชี้การอักเสบ และมีการทำลายเยื่อบุที่ลำไส้ ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินอาการอื่นๆ ที่แสดงถึงภาวะอักเสบ โดยเฉพาะอาการไข้ หากผู้ป่วยไม่มีไข้หรือมีเพียงไข้ต่ำๆ ควรส่งต่อไปยังสถานพยาบาลทันทีเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด โดยเฉพาะการตรวจหาสารพิษ STEC เนื่องจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ STEC หากได้รับยาปฏิชีวนะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด HUS ดังได้กล่าวในตอนต้น ส่วนผู้ป่วยที่มีไข้สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 38.5 องศาเซลเซียส) ควรซักประวัติเรื่องการเดินทางหรือท่องเที่ยว และอาจพิจารณาการให้ยาปฏิชีวนะ – กรณีไม่มีประวัติเดินทางในช่วงที่เกิดอุจจาระร่วง เชื้อที่คาดว่าก่อโรคและเป็นเป้าหมายในการรักษา ได้แก่ Shigella spp. ยาปฏิชีวนะที่แนะนา คือ ยากลุ่ม fluoroquinolones (FQ) โดยแนะนาให้ใช้ norfloxacin เป็นยาเลือกอันดับแรก เนื่องจาก FQ ชนิดอื่น ควรเก็บสำรองไว้ใช้ในโรคติดเชื้ออื่นที่รักษาได้ยาก เช่น วัณโรคดื้อยา– กรณีมีประวัติเดินทางในช่วงที่เกิดอุจจาระร่วง ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยสารน้ำทดแทนทางปากร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อที่คาดว่าเป็นสาเหตุ และอาจพิจารณาให้ loperamide ร่วมด้วยเพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามหากมีอาการท้องเสียนานเกิน 3 วัน มีไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส มีอาการขาดน้ำ ถ่ายมีเลือดปนร่วมกับอาการปวดท้องเกร็ง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น เช่น ตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อ, ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุ, การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษา ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.phuketinternationalhospital.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-diarrhea/https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคท้องเสีย (Diarrhea)
อาการของระบบอาหารนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่กับเด็กนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่อันตรายได้ ระบบทางเดินอาหารนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงตามภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะจากอาหารหรือวิถีชีวิต การสัมผัสกับสิ่งที่ร่างกายไม่คุ้นเคย เช่น ไวรัสหรือแบคทีเรีย สามารถทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินอาหารได้หลายอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องบิด หรือที่พบได้มาก คือ อาการอุจจาระร่วง อะไรคืออาการอุจจาระร่วง? อุจจาระร่วง คือ อาการที่อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำที่เกิดขึ้นบ่อย ฉับพลัน โดยอย่างน้อย คือ สามครั้งต่อวัน มันมีอาการปวดท้อง ปวดบิด คลื่นไส้ มีลมในท้อง หรือท้องอืด อาการอุจจาระร่วงที่หายภายในไม่กี่วัน เรียกว่า อุจจาระร่วงเฉียบพลัน สำหรับในกรณีที่เป็นนานมากกว่านั้น คือ อุจจาระร่วงเรื้อรัง สามารถเป็นได้นานถึงสัปดาห์หรือเดือน ซึ่งเป็นอาการที่นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและควรที่จะต้องได้รับการดูแล อาการอุจจาระร่วงนั้นเป็นเรื่องที่พบบ่อย ผู้ใหญ่ประเทศสหรัฐอเมริกันเกือบทุกคนมักจะมีอุจจาระร่วงประมาณ 4 ครั้งต่อปี เด็กจะป่วยเป็นอุจจาระร่วงมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ครั้งจนถึงอายุ 5 ปี หลายอย่างสามารถกระตุ้นอุจจาระร่วงได้ ได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ ผลข้างเคียงจากยา โรคลำไส้บางชนิด เช่น Celiac disease, Crohn’s disease และโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome หรือ IBS) ถ้าเป็นอุจจาระร่วงแล้วต้องทำอย่างไร? ถ้าคุณมีอาการอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จริงๆ แล้วอาจจะไม่มีอะไรที่สามารถทำได้นอกจากรอให้ระบบทางเดินอาหารกลับมาเป็นปกติ บางครั้งยาที่รักษาอาการอุจจาระร่วงตามร้านขายยาอาจจะทำให้การติดเชื้อบางชนิดแย่ลงและอาจจะไปรบกวนระบบของร่างกายในการสู้กับอาการนี้ ในระหว่างที่คุณรอให้อาการดีขึ้นนั้น คุณควรทำสิ่งต่อไปนี้ ดื่มน้ำเยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำซุป น้ำผลไม้ หรือ เครื่องดื่มเกลือแร่ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมอาหารที่มัน เลี่ยงกาแฟ เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่น้ำตาลเยอะ ทานอาหารอ่อนๆ เช่น ขนมปังแคร๊กเกอร์ กล้วย ขนมปังปิ้ง ข้าวที่ไม่ปรุงรส ไก่อบไร้หนังกับมันต้มสามารถรับประทานได้ ถ้าคุณพอสังเกตได้ว่าอาหารชนิดไหนทำให้อาการของคุณแย่ลง คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้น เมื่อไหร่อาการอุจจาระร่วงควรต้องไปพบแพทย์? โดยทั่วไป ภาวะอุจจาระร่วงฉียบพลันมันจะหายได้เอง แต่สิ่งที่จำเป็นที่สุด คือ การดื่มน้ำและเกลือแร่เยอะๆ เพราะถึงแม้ว่าอาการอุจจาระร่วงจะเป็นแค่สั้นๆ แต่มันสามารถทำให้เกิดการขาดน้ำได้อย่างมาก ในคนที่มีอาการอุจจาระร่วงเรื้อรัง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการขาดสารอาหารได้เพราะร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างปกติ การตรวจอุจจาระเพื่อดูการติดเชื้อแบคทีเรีย พยาธิ หรือไวรัส แพทย์จะสามารถจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อให้การักษาในกรณีที่อาการอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน ภาวะอุจจาระร่วงเรื้อรังที่เป็นนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ควรที่จะต้องได้ตรวจโดยแพทย์ ถ้าอาการเป็นเรื้อรังหลายสัปดาห์อาจจะทำให้มีอาการขาดน้ำที่รุนแรงได้ ในบางกรณีอาจจะจำเป็นที่จะต้องได้รับสารน้ำทนแทนทางหลอดเลือดดำจนกว่าอาหารอุจจาระร่วงจะสามารถควบคุมได้ ในขณะเดียวกัน ภาวะอุจจาระร่วงสามารถทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ในเด็กและเด็กมักจะเกิดอาการขาดน้ำได้รุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น ไม่ควรที่จะลังเลที่จะพบกุมารแพทย์ ถ้าเด็กมีอาการอุจจาระร่วงต่อเนื่องและมีอาการแสดงของขาดน้ำ อาการขาดน้ำสังเกตได้โดย มีปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะออกน้อย และอ่อนเพลีย อุจจาระร่วงเป็นอาการที่มักจะไม่สบายเท่าไร่ แต่โดนส่วนมากมักจะไม่บ่งบอกถึงภาวะสุขภาพที่ร้ายแรง แต่อย่างไรก็ตามถ้าอาการอุจจาระร่วงเป็นนานติดต่อหลายวัน มีอาการปวดรุนแรง มีไข้ หรืออาการขาดน้ำ ควรพบแพทย์
ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับคืออะไร
ยาแก้ท้องเสียที่จัดอยู่ในกลุ่มสารดูดซับ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีตัวยาต่างกันดังนี้ Dioctahedral smectite Activated charcoal Kaolin โดยยากลุ่มสารดูดซับจะออกฤทธิ์ดูดซับเชื้อโรคและสารพิษที่อยู่ในทางเดินอาหาร เพื่อขับออกจากร่างกาย เนื่องจากอาการท้องเสียโดยส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบขับถ่ายในร่างกาย ประสิทธิภาพของตัวยา อย่างไรก็ตามตัวยาทั้ง 3 ตัวที่ได้กล่าวไปก็มีข้อแตกต่างในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพในผู้ป่วยของแต่ละตัวยาที่แตกต่างกัน ตัวยา Dioctahedral smectite เป็นตัวยาเดียวที่มีผลยืนยันประสิทธิภาพการใช้รักษาท้องเสียในเด็ก ตามคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาตัวยาดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทานภายใต้ชื่อการค้า Dehecta ใน 1 ซองบรรจุยาน้ำ 20 ml (มีตัวยา Dioctahedral smectite 3g) เพื่อความสะดวกในการพกพาและนำมาใช้เมื่อมีอาการท้องเสีย สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การใช้ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับ สำหรับคำแนะนำการใช้ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับ แนะนำให้ดื่มน้ำตามหลังรับประทานยาเพราะยาอาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก และที่สำคัญคือถ้าผู้ป่วยมียาที่ต้องรับประทานร่วมกัน หรือยารักษาโรคประจำตัว จะต้องรับประทานยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับห่างจากยาอื่น 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ตัวยาไปดูดซับยาอื่น ทั้งนี้ก่อนการใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาขนาดและวิธีใช้ยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน เพื่อความมั่นใจและประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1) สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. (n.d.). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก พ.ศ.2562. 2) ภญ.สิริมา วรนาวิน. (ม.ป.ป.). การใช้ยาแก้ท้องเสียให้ถูกต้อง. เข้าถึงได้จาก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี: ลิงค์
เมื่อลูกท้องเสีย..จะให้กินอาหารอะไรได้บ้าง
เด็กเล็กเป็นวัยที่เกิดท้องเสียได้มากที่สุด เนื่องจากภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่เต็มที่ หรือมักจะหยิบอาหารรับประทาน หรือมีพฤติกรรมการหยิบจับของเล่นแล้วเอาเข้าปาก และการคลานโดยที่ยังไม่รู้จักการป้องกันตัวเองจากสิ่งสกปรก เมื่อเด็กมีอาการท้องเสียสิ่งสำคัญคือการให้ทยอยจิบน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการขับถ่าย และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อแนะนำการใช้ยาตามอาการให้เหมาะสม สำหรับการรับประทานอาหารในเด็กที่ท้องเสียโดยแพทย์มีคำแนะนำ ดังนี้ เด็กเล็กที่รับประทานนมแม่ให้รับประทานตามปกติ ให้รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะกับช่วงวัย โดยให้เลือกอาหารที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม ไม่จำเป็นต้องงดนมผสม ให้รับประทานได้ตามปกติ แต่อาจจะแบ่งเป็นทีละน้อยและรับประทานบ่อยๆ สำหรับนมสูตรปราศจากแลคโตสจะเหมาะกับเด็กที่มีอาการท้องเสียรุนแรง หรือเด็กที่มีภาวะ lactose intolerance สำหรับยาแก้ท้องเสียที่สามารถรับประทานได้ในเด็ก ได้แก่ตัวยา Dioctahedral smectite โดยออกฤทธิ์ช่วยดูดซับเชื้อโรคทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น สามารถให้รับประทานในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปโดยมีผลการศึกษาประสิทธิภาพว่าช่วยให้หายท้องเสียได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta ซึ่งมีตัวยา Dioctahedral smectite อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน รสวานิลลา-สตรอว์เบอร์รี่ แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1) วิทยาศัย, ผ. (n.d.). โรคท้องเสียในเด็ก. Retrieved from กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี: ลิงค์ 2) สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. (n.d.). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก พ.ศ.2562.
ท้องเสียพร้อมกับมีไข้ จะใช่ Covid-19 หรือเปล่านะ
จากสถานการณ์ของโรคติดต่อ Covid-19 ที่อาจจะทำให้มีอาการปอดอักเสบรุนแรง ทำให้หลายคนที่มีการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ไอ รวมถึงอาการท้องเสีย วิตกกังวลว่าตนเองจะเจ็บป่วยจากเชื้อ Covid-19 หรือไม่ โดยสรุปล่าสุดขององค์การอนามัยโลก โรค Covid-19 ผู้ป่วยมักจะมีอาการ ดังนี้ – อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้ (> 37.3 °C) ไอแห้ง อ่อนเพลีย – อาการที่พบได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามตัว คัดจมูก น้ำมูกไหล สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส ดังนั้นถ้าเราพบว่ามีอาการท้องเสียร่วมกับมีไข้ แล้วเกิดกังวลว่าจะเป็น Covid-19 ให้เริ่มจากทำแบบประเมินความเสี่ยงของโรค Covid-19 เนื่องจาก Covid-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมด้วย นอกจากนี้อาการไข้ ยังเป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีอาการท้องเสียทั้งจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ถ้าทำแบบประเมินความเสี่ยงแล้วอยู่ในระดับต่ำ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อรับประทานยาบรรเทาอาการท้องเสียที่เหมาะสม และเนื่องจากท้องเสีย เป็นโรคที่พบได้กับทุกวัย และไม่สามารถคาดการณ์ที่จะเกิดเวลาได้ เราอาจจะมียาแก้ท้องเสียสำรองไว้ที่บ้าน เพื่อบรรเทาอาการให้ทันท่วงที เช่น เกลือแร่ ORS และยาแก้ท้องเสีย เช่น ตัวยา Dioctahedral smectite ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับเชื้อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta มีตัวยา Dioctahedral smectite อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ปรึกษาขนาดและวิธีใช้ยาได้ที่เภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน แหล่งข้อมูลอ้างอิง WHO. (9 March 2020). Coronavirus disease (COVID-19). เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19 กรมควบคุมโรค. (ม.ป.ป.). ระดับความเสี่ยงและคำแนะนำในการปฏิบัติตน COVID19. เข้าถึงได้จาก https://covid19.th-stat.com/th/self_screening ท้องเสีย ซ่อมได้ ไม่ยาก. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก เกร็ดความรู้สู่ประชาชน โดยนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=24
ท้องเสีย..แต่ทำไมไม่ได้ยาปฏิชีวนะ
โรคท้องเสีย หมายถึงอาการถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือรับประทานอาหารรสจัด หรือเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หลายครั้งโรคท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะซึ่งออกฤทธิ์สำหรับโรคติดเชื้อแบคทีเรีย โดยแพทย์หรือเภสัชกรจะซักอาการของโรค เช่น ถ้าอาการถ่ายท้องเสียไม่มีมูกเลือดปน ไม่มีไข้สูง และมีอาเจียนร่วมด้วย มักจะเป็นอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาเมื่อมีอาการดังกล่าว ให้ผู้ป่วยดื่มเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยแร่ธาตุที่สูญเสียจากการขับถ่าย และรับประทานยาแก้ท้องเสียเพื่อช่วยให้หายได้เร็วขึ้น เช่น ตัวยา Dioctahedral smectite ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับเชื้อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta มีตัวยา Dioctahedral smectite ซองละ 3 กรัม อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าท้องเสียแต่เภสัชไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ อาจจะได้ยาอื่นทดแทนซึ่งเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมปรึกษาได้ที่เภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน แหล่งข้อมูลอ้างอิง กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (n.d.). ท้องเสียอย่างไรต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ. Retrieved from http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=62&content_id=1321 ท้องเสียเฉียบพลัน จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่. (n.d.). Retrieved from เกร็ดความรู้สู่ประชาชน โดยนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=2 สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2017, September 8). แนะ 3 โรคที่หายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ. Retrieved from https://www.thaihealth.or.th/Content/38548-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%203%20%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%20%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%