Check list ยาประจำทริป ที่ต้องพกตอนเดินทาง
เวลาเดินทางไปท่องเที่ยว ไม่ว่าจะในประเทศ หรือต่างประเทศ นอกจากจะจัดกระเป๋าเดินทาง เตรียมเอกสารสำคัญ อุปกรณ์ต่างๆแล้ว “ยา” ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมไปให้พร้อม เพราะหากเกิดป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ ระหว่างทางจะได้รักษาได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นยาสามัญ ยาโรคประจำตัว ควรเตรียมไปให้พร้อม เพราะการซื้อยาในต่างประเทศค่อนข้างลำบาก และในบางประเทศยังต้องใช้ใบรับรองแพทย์อีกด้วย หลายคนคงเริ่มสงสัย แล้วยาอะไรที่ควรนำติดตัวไปบ้าง ที่จะช่วยเซฟตัวเราระหว่างการเดินทาง วันนี้ MacroPhar มีคำตอบมาบอกแล้ว มาเริ่มเช็คลิสต์รายชื่อยาที่เราต้องเตรียมไปกัน ยาประจำทริปควรต้องมียาอะไรบ้าง? 1.ยารักษาโรคประจำตัว หากมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนสิ่งที่ห้ามลืม คือ ยารักษาโรคประจำตัว เพราะการเดินทางไปในที่ต่างถิ่นการรักษาอาจจะเป็นไปได้ยาก อาจจะทำให้เกิดควาอันตรายเมื่อโรคประจำตัวกำเริบ ** การนำยาไปต่างประเทศบางครั้งอาจจะโดนตรวจสอบ แนะนำให้ใช้ยาที่มีฉลากที่แสดงภาษาอังกฤษประกอบ หรือมีใบรับรองโรคประจำตัวติดไปด้วย และยาจะต้องอยู่ในแพ็คเกจลักษณะที่ถูกต้อง 2.ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การออกทริปเดินทางท่องเที่ยว บางครั้งอาจจะเดินเยอะ นั่งเยอะ หรือแบกของหนัก จนเกิดอาการปวดเมื่อยไปทั้งตัว ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ยานวดเป็นตัวช่วยที่ดี ในการบรรเทา คลายการอักเสบ เป็นสิ่งที่ควรมีติดการเดินทางเอาไว้ แต่ยาแก้ปวดเมื่อย ไม่ควรทายในขณะท้องว่าง เพราะยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์กัดกระเพาะ ควรทานหลังอาหารแล้วดื่มน้ำด้วยทุกครั้ง อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงได้ 3.ยาแก้หวัด ลดไข้ ลดน้ำมูก การเดินทางแต่ละครั้ง อาจจะเจออากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จากร้อนไปหนาว หนาวไปร้อน ทำให้สภาพร่างกายปรับอุณหภูมิตามไม่ทัน เสี่ยงต่อการเป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน และมีน้ำมูกได้ ยาที่ช่วยแก้ปวดหัว รักษาหวัด ยาลดน้ำมูก จึงถือได้ว่า เป็นยามาตรฐานสำหรับเวลาเดินทางไปที่ต่าง ๆ ซึ่งยาที่ควรพกติดตัวเอาไว้ เช่น Paracetamol, Carbocysteine, Cetirizine เป็นต้น 4.ยาแก้ท้องเสีย การเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทำให้มีโอกาสได้ลิ้มลองอาหารที่หลากหลายรูปแบบ อาจทำให้เกิดการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด แน่นท้อง อาเจียน อาหารเป็นพิษ ระหว่างทริปได้ ควรพกยาสำหรับอาการเหล่านี้ติดตัวไว้ เพื่อความมั่นใจหายกังวัลตลอดการเดินทาง 5.ยาแก้เมายานพาหนะ อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ถ้าเกิดเดินทางท่องเที่ยวแล้วเป็นขึ้นมาหมดสนุกลงได้อย่างง่ายๆ หากใครเป็นคนที่เมารถ เมาเรือง่ายแต่เป็นสายท่องเที่ยว ก็อย่าลืมพกยาแก้เมายานพาหนะติดตัวไว้ เพื่อคลายบรรเทา ให้เดินทางอย่างสนุกตลอดทริปกันด้วยนะ ทริคพกยาไปต่างประเทศ แบบไม่กังวลใจ 1.ยาที่อนุญาตให้พกติดตัวไปได้ จะต้องนำยาที่อยู่ในแพ็คเกจลักษณะที่ถูกต้องไป ไม่แกะแยกออกเป็นแผง หรือแยกเป็นเม็ด เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและอธิบายให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของแต่ละประเทศให้เข้าใจว่านั่นคือยารักษาโรคประจำตัว หากแกะแยกออกเป็นแผง หรือแยกเป็นเม็ดแล้ว ผู้ตรวจอาจไม่ทราบว่ายาชนิดนั้นคืออะไร อาจทำให้ไม่สามารถนำเข้าไปได้ 2.ยาที่ถูกห้ามนำเข้าประเทศนั้น ๆ หากจำเป็นต้องใช้ยาที่เป็นยาต้องห้ามแล้ว ปรึกษาคุณหมอก็ไม่มียาตัวไหนที่สามารถแทนได้ วิธีการ คือ ให้กรอกแบบฟอร์มขออนุญาตการนำยาเข้าประเทศนั้น และสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ เอกสารการรับรองแพทย์ หากมีโรคประจำตัว ยาที่รักษาไม่ใช่ยาสามัญทั่วไป ควรให้แพทย์เขียนระบุว่า เป็นโรคอะไร และจำเป็นต้องใช้ยาอะไรบ้าง ยังมียาสามัญประจำทริปอีกหลายประเภทที่ควรเตรียมเอาไว้ก่อนออกเดินทาง ขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนตัว เช่น ยาทาแผลยาแก้แพ้ สำหรับผู้ที่มีเป็นโรคภูมิแพ้ หรือ สาว ๆ ที่แผนท่องเที่ยวตรงกับช่วงที่มีประจำเดือน ก็ควรจะพก ยาแก้ปวดประจำเดือนเตรียมพร้อมเอาไว้ด้วย หรืออาจจะใช้วิธีกินยาเลื่อนประจำเดือนก็ได้เช่นกัน การเดินทางท่องเที่ยวคงไม่สนุก ถ้าจะต้องหยุดเดินทางต่อเพราะอาการเจ็บป่วย ดังนั้นการพกพายาที่จำเป็นไปด้วยระหว่างออกเดินทาง จะช่วยให้เป็นทริปที่สนุกสนานตลอดทริป และเพื่อความอุ่นใจในการเดินทาง ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://hd.co.th/common-drugs-for-trips-have-stuckhttps://www.doctoranywhere.co.th/post/items-for-vacation-1?lang=th
Dehec-Z (ดีเฮก-ซี) แร่ธาตุจิ๋ว ประโยชน์แจ๋ว
‘Zinc’ หรือ ‘สังกะสี’ เป็นอีกหนึ่งในแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ หรือแม้แต่สตรีมีครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงกำลังให้นมบุตร ก็ล้วนแต่ต้องการแร่ธาตุสังกะสี รวมไปถึงคนในช่วงวัยทำงานที่อาจไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลเรื่องอาหารการกิน การใช้ อาหารเสริม Zinc จึงเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยเพิ่มเติมแร่ธาตุที่จำเป็นในร่างกายในชั่วโมงเร่งด่วนและยังเป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือเก็บไว้ได้ การรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมจึงเป็นส่วนช่วยเพิ่มแร่ธาตุชนิดนี้ในร่างกาย รู้หรือไม่ว่า ร่างกายขาด Zinc ได้ ? เพราะ Zinc เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร ถ้าร่างกายขาดซิงค์เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ กับร่างกาย เช่น เบื่ออาหาร การรับรสและกลิ่นลดลง แผนหายช้า ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัดง่าย ผมร่วง ท้องร่วง การเจริญเติบโตลดลง ถ้าเป็นเด็กจะมีภาวะเตี้ย แคระแกรน ใครบ้างที่ควรรับประทาน Dehec – Z ? เด็ก ทารก ตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไป เด็กเล็ก และเด็กโต ผู้ที่ต้องการเสริม Zinc (ซิงค์) กินแบบเม็ด หรือยาอมแล้วคลื่นไส้ ลิ้นเฝื่อน กลืนยาเม็ดยาก 1.ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย Zinc (ซิงค์) มีคุณสมบัติในการช่วยต้านการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย (Antiviral) หยุดการเจริญของเชื้อ รวมทั้งการเกาะจับของเชื้อในร่างกาย และยังมีฤทธิ์ต้านอักเสบ จึงช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ เช่นโรคปอดอักเสบ เป็นต้น 2.ช่วยลดความรุนแรงของโรคหวัดได้ เมื่อเป็นหวัด Zinc (ซิงค์) จะลดความรุนแรงของอาการ ลดระยะเวลาการเป็นหวัด และหายจากโรคหวัดเร็วขึ้น และ หากร่างกายได้รับ Zinc (ซิงค์) ร่วมกับวิตามินซีเป็นประจำทุกวันยังช่วยป้องกันหวัดได้ 3.ช่วยรักษาอาการท้องเสีย Zinc (ซิงค์) ช่วยลดความรุนแรงของอาการท้องเสีย ลดอาการอ่อนเพลียจากอาการท้องเสีย และลดความถี่ในการถ่ายท้องเสีย นอกจากนี้ยังช่วยให้หายท้องเสียเร็วขึ้น มีงานวิจัยพบว่า Zinc (ซิงค์) ช่วยลดความรุนแรงของอาการท้องเสียในเด็กได้ 4.ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต Zinc (ซิงค์) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างยิ่ง เพราะร่างกายเราใช้แร่ธาตุชนิดนี้ในการสังเคราะห์สารต่างๆ ภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) หรือโปรตีน ซึ่งสารโปรตีนเหล่านี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ด้วยเหตุนี้ การได้รับ Zinc อย่างเพียงพอจึงอาจช่วยให้ทารกในครรภ์และเด็กสามารถเติบโตตามช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม นอกจากการทานอาหารเสริม และการรับประทานอาหารให้หลากหลายเป็นประจำอาจช่วยเพิ่ม Zinc ให้กับร่างกายอย่างเพียงพอ แต่การได้รับ Zinc เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงโดยร่วมได้ ดังนั้นควรออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ **ข้อมูลเพิ่มเติม โรค G6PD โรค G6PD หรือโรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี คือ โรคที่เกิดจากภาวะการขาดเอนไซม์ “G6PD” การมีระดับของเอนไซม์ G6PD ต่ำกว่าคนปกติ เอนไซม์ ชนิดนี้พบได้ในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เม็ดเลือแดงแตกง่าย โดยปกติเม็ดเลือดแดงของคนเราจะมีอายุ 120 วัน แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้ หากได้รับยาหรืออาหารที่ห้ามรับประทาน เช่น ถั่วปากอ้า จะเป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตก และทำให้เกิดภาวะซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย ตัวเหลืองได้ ซึ่งสาเหตุของการบกพร่องทางเอนไซม์ G6PD เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมของโครโมโซมเพศชนิดโครโมโซมเอ็กซ์ มีการถ่ายทอดยีน G6PD เป็นแบบ X-linked recessive จากมารดาโดยมีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 ลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้นโรคนี้จึงพบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=16725
D’LeVer สุขภาพดี มีได้ทั้งครอบครัว
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร D’LeVer สำหรับทุกๆคนในครอบครัว เพราะคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากทั่วทุกมุมโลก ผลิตภายใต้โรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในการดูแลสุขภาพของคุณและคนที่คุณรักให้แข็งแรง มารู้จักน้ำมันปลากันเถอะ !! น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่ได้มาจากการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา โดยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น เพราะมี กรดไขมัน Omega-3 ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด ซึ่งกรดไขมัน Omega – 3 มีสารสำคัญคือ Docosahexaenoic acid (DHA) และ Eicosapentaenoic acid (EPA) ประโยชน์ของ DHA และ EPA คืออะไร ? D’LeVer Fish Oil 1000 – ดีลีเวอร์ ฟิช ออยล์ 1000 มก. (ขนาด 30 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ได้แก่ อีพีเอ และ ดีเอซเอ ใน 1 แคปซูลนิ่มประกอบด้วย น้ำมันปลา 1,000 มก. กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (อีพีเอ) 300 มก. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (ดีเอซเอ) 200 มก. ประโยชน์ของ D’LeVer Fish Oil 1000 วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละครั้ง หลังอาหาร D’LeVer Fish Oil Mini – ดีลีเวอร์ ฟิช ออยล์ มินิ น้ำปลาเม็ดเล็ก (ขนาด 60 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ได้แก่ อีพีเอ และ ดีเอซเอ ใน 1 แคปซูลนิ่มประกอบด้วย น้ำมันปลา 340 มก. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (ดีเอซเอ) 240 มก. กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (อีพีเอ) 10 มก. กรดไขมันอิ่มตัว 6.8 มก. ประโยชน์ของ D’LeVer Fish Oil Mini วิธีรับประทาน: รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล พร้อมหรือหลังอาหาร D’LeVer Fish Oil Lecithin 500 – ดีลีเวอร์ ฟิช ออยล์ เลซิติน น้ำมันปลาผสมเลซิติน (ขนาด 30 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ใน 1 แคปซูลนิ่มประกอบด้วย น้ำมันปลา 500 mg กรดไอโคซาเฮกซาตาอีโนอิก (ดีเอชเอ) 125 มก. และ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (อีพีเอ) 25 มก. Lecithin 500 มก. ประโยชน์ของ D’LeVer Fish Oil Lecithin 500 วิธีรับประทาน: รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล พร้อมหรือหลังอาหาร D’LeVer QQ Min – ดีลีเวอร์ คิวคิว มิน (ขนาด 30 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ใน 1 แคปซูลประกอบด้วย L –Glutathione 15.5% , Goji Berry Extract 11.7% , Citrus SinesisExtract 10.0% , Turmeric Extract 8.6% , Choline Bitartrate 6.6% , Dandelion Extract 5.0% , Oyster Extract2.5% , Black Pepper Extract 0.25% ประโยชน์ของ D’LeVer QQ Min วิธีรับประทาน: • สำหรับสายปาร์ตี้ แก้เมาค้าง Hang over : รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนดื่ม และ อีก 2 แคปซูล หลังดื่ม• สำหรับสายสุขภาพ บำรุงตับ ช่วยกำจัดสารพิษ : รับประทานวันละ1 ครั้ง ครั้งละ 2 แคปซูล D’LeVer Zinc 15 mg – ดีลีเวอร์ ซิงค์ 15 มก (ขนาด 60 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ใน 1 แคปซูลประกอบด้วย Zinc BisgycinateChelate 15 mg (zinc ในรูปแบบ BisgycinateChelate สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีที่สุด และลด side effect เรื่องคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด) ประโยชน์ของ D’LeVer Zinc 15 mg วิธีรับประทาน: • เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 1 ครั้ง พร้อมอาหาร• รักษาสิว : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้า, เย็น พร้อมอาหาร• เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้า, เย็น พร้อมอาหาร• บำรุงผม และเล็บ : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหาร D’LeVer Collagen Type II Plus+ – ดีลีเวอร์ คอลลาเจน ไทพ์ ทู พลัส+ (ขนาด 30 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ใน 1 แคปซูลประกอบด้วย Collagen Type II 40 mg Bororganic glycine 10% (Boron) 20 mg ประโยชน์ของ D’LeVer Collagen Type II Plus+ วิธีรับประทาน: รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละครั้ง หลังอาหาร D’LeVer Apple Cider Vinegar 400 mg – ดีลีเวอร์ แอปเปิ้ล ไซเดอร์ เวนิก้า 400 มก (ขนาด 45 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ใน 1 แคปซูลประกอบด้วย Apple Cider Vinegar Powder 400 mg ประโยชน์ของ D’LeVer Apple Cider Vinegar 400 mg วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 30 นาที D’LeVer Co Q10 – ดีลีเวอร์ โคคิวเท็น (ขนาด 30 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ใน 1 แคปซูลประกอบด้วย Coenzyme Q10 30 mg. จากสารสกัดถั่วเหลือง 370 mg. นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ประโยชน์ของ D’LeVer Co Q10 วิธีรับประทาน : แนะนำให้รับประทานวันละ 30 – 100 mg
แผลร้อนใน คือความร้อนมาจากไหน
แผลร้อนใน หมายถึง แผลในเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม และลิ้น โดยทั่วไปสามารถหายได้เองใน 5 ถึง 10 วัน โดยในระหว่างที่มีอาการอาจจะรบกวนให้พูดคุย หรือรับประทานอาหารได้ไม่สะดวก สำหรับอาหารที่เรารับประทานก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในได้ ตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีน กล่าวว่าร่างกายของเรามีส่วนประกอบระหว่างสภาวะหยิน (เย็น) และสภาวะหยาง (ร้อน) ถ้าเราเลือกรับประทานอาหารที่เป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป ก็อาจจะทำให้เสียสมดุลจนเกิดแผลร้อนในในช่องปากได้ ในระหว่างที่มีแผลร้อนในหรือแผลในปาก จะมีคำแนะนำเพื่อลดการอักเสบของแผลหรือให้แผลหายเร็วขึ้น ดังนี้ หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นประเภทหยาง (ร้อน) ได้แก่ อาหารรสเผ็ดจัด ผลไม้รสหวานบางชนิด เช่น ลำไย ทุเรียน อาหารทอด เป็นต้น ใช้ยาทาเฉพาะที่ในจุดที่มีแผล หรือรับประทานยาสมุนไพรรสเย็น เช่น ฟ้าทะลายโจร บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรือในปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสเปรย์สำหรับช่องปาก ซึ่งมีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาการอักเสบในช่องปาก ดังนั้นถ้ารู้ว่าเราเป็นคนที่เป็นแผลร้อนในบ่อย แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทผัก ซึ่งเป็นอาหารประเภทหยิน (เย็น) ที่จะช่วยดับร้อน รวมถึงเครื่องดื่มจะแนะนำเป็น เครื่องดื่มสมุนไพรแบบไม่ใส่น้ำตาล เช่น จับเลี้ยง เก๊กฮวย มะตูม ใบบัวบก เพื่อแก้กระหายน้ำ รวมไปถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลสุขภาพจิตใจ หากิจกรรมคลายเครียด จะได้ไม่เป็นร้อนในบ่อยๆ ให้คุยหรือกินไม่สะดวกได้อีก แหล่งที่มา · Greenery, 2019. สสส. เกร็ดความรู้สุขภาพ. [ออนไลน์] ลิงค์ · Rama Channel, 2017. รายการสามัญประจำบ้าน. [ออนไลน์] ลิงค์ · เชียงใหม่นิวส์, 2019. [ออนไลน์] ลิงค์
ทำไมต้องมีกลิ่นปากหลังตื่นนอน
กลิ่นปากเป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจ กังวลว่าคนรอบข้างจะรับรู้ถึงปัญหานี้ ครั้งกลิ่นปากเกิดจากปัญหาสุขภาพในช่องปาก เช่น การมีฟันผุ แผลในปาก โรคเหงือกอักเสบ และรวมไปถึงภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อยด้วย ภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อย มีสาเหตุได้ ดังต่อไปนี้ พฤติกรรมการดื่มน้ำน้อยในระหว่างวัน การรับประทานยาบางกลุ่ม เช่น ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก โดยอาการปากแห้งจะดีขึ้นหลังจากหยุดยา ความเครียด หรือวิตกกังวล ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นการผลิตน้ำลายลดลง อายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือการมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ ภาวะน้ำลายน้อยเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกลิ่นปากได้ เนื่องจากโดยปกติน้ำลายจะเป็นตัวช่วยถ่ายสิ่งตกค้างในช่องปากรวมถึงให้ลงสู่ระบบย่อยอาหาร ไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับการที่เรามีกลิ่นปากหลังจากตื่นนอนนั้น เนื่องมาจากตอนนอนร่างกายจะผลิตน้ำลายเพียงครึ่งหนึ่งของตอนกลางวัน รวมถึงการที่เราไม่ได้ดื่มน้ำติดต่อกัน 6 – 7 ชั่วโมง ทำให้เมื่อตื่นเราจะรู้สึกว่ามีกลิ่นปากซึ่งมาจากการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากนั่นเอง สำหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อย และกังวลว่าจะมีกลิ่นปาก สามารถป้องกันหรือลดการเกิดกลิ่นปากได้ ดังนี้ ดื่มน้ำ อย่างสม่ำเสมอ วันละ 8 – 10 แก้ว รับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน หากิจกรรมดูแลตนเองเพื่อคลายความเครียด หรือวิตกกังวล ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพในช่องปากที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้ง เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื่นในช่องปาก แหล่งที่มา · โอปิลันธน์, ท., n.d. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. [Online] Available at: ลิงค์ [Accessed September 2020].
แผลในปาก แสนแสบกับแผล (ไม่) เก่า แผลแบบไหนต้องไปหาหมอ
“อกพี่กลัดหนอง พี่หมองดั่งคลองแสนแสบ เจ็บจำดั่งหนามยอกแปลบๆ แสบแสนจะทน..” นี่คือเพลงแสนแสบ ของครูชาลี อินทรวิจิตร ประกอบภาพยนตร์เรื่องแผลเก่า แต่บางคนมีทั้งแผลเก่า และแผลใหม่ ในช่องปาก เป็นบ่อยเข้า จะยังเรียกว่าเป็นแค่ร้อนในแผลในปาก หรือจะมีโรคอื่นอันตรายกว่านั้น วันนี้เรามีข้อสังเกต เพื่อเฝ้าระวังแผลในปากที่ควรจะต้องพบแพทย์ ลักษณะของแผลในปากแบบทั่วไป ขนาดของแผล โดยทั่วไปจะไม่เกิน 1 ซม. แต่บางครั้งอาจจะมีแผลขนาดใหญ่กว่า 1 ซม. แต่จะไม่ใช่แผลลึก ระยะเวลาของแผล ใช้เวลา 1 – 2 สัปดาห์ ก็จะหายสนิท สาเหตุกระตุ้น เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การกัดโดนกระพุ้งแก้ม หรือการขูดเกี่ยวระหว่างแปรงฟัน หรือจากอุปกรณ์จัดฟัน หรือการรับประทานอาหารฤทธิ์ร้อน เป็นต้น อาการแผลในปากโดยทั่วไปสามารถบรรเทาได้ โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ การใช้ยาสเตียรอยด์ทาเฉพาะที่ และการรับประทานยาสมุนไพรเพื่อลดอาการร้อนใน ถ้าหากมีอาการแผลอักเสบรุนแรง หรือเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ เพราะอาจจะมีโรคอื่นร้ายแรง เช่น มะเร็งช่องปาก ซึ่งจะมีความแตกต่างจากลักษณะแผล หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผล แผลในปากเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวด และเป็นอุปสรรค ทั้งการกิน และการพูดคุย อีกทั้งยังทำให้เสียบุคลิกภาพ หากแผลเริ่มเป็นหนอง และทำให้เกิดกลิ่นปาก เราสามารถดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดแผลในปากได้ เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และของทอด ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลความสะอาดของช่องปากด้วยการแปรงฟันเป็นประจำ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น แหล่งข้อมูลอ้างอิง BetterTeeth Thailand, แผลในปาก เป็น ‘ร้อนใน’ หรือ ‘มะเร็งช่องปาก’?. [Online] Available at: http://betterteeththailand.com/2018/is-it-a-canker-sore-or-oral-cancer/[Accessed July 2021]. BFC DENTAL, n.d. ความรู้เกี่ยวกับฟัน จาก BFC DENTAL. [Online] Available at: https://blog.bfcdental.com/what-are-the-causes-of-mouth-ulcers[Accessed July 2021]. Thai Health, n.d. Thai Health Digital Object Library. [Online] Available at: https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/2b97164b-59f3-e711-80e3-00155d65ec2e?isSuccess=False[Accessed July 2021].