ผมร่วง ผมบาง ไม่อยากศีรษะล้าน อย่ามองข้าม
เส้นผมสุขภาพดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้..แต่หากมีปัญหาผมร่วงไม่ว่าจากสาเหตุใด คงทำให้สูญเสียความมั่นใจได้เช่นกัน หลายคนต้องเจอกับ”ปัญหาผมร่วง” ผิดปกติอยู่บ่อยครั้ง หวีผมแล้วผมหลุดออกมา หรือเวลาสระผมแล้วผมร่วงไปติดที่ท่อเต็มไปหมดจนน้ำไม่ระบาย หรือนั่นคือสัญญาณของโรคหรือเปล่า ? หรือจริงๆแล้วการที่ผมร่วงเยอะเราขาดวิตามิน แร่ธาตุ หรือมาจากสาเหตุไหนกันแน่ รีบมาดูกันเลยดีกว่า เพื่อความสบายใจและรีบแก้ไขก่อนที่จะร่วงหนักไปมากกว่านี้ สาเหตุผมร่วงมาจากอะไรได้บ้าง ? ผมร่วงจากพันธุกรรมภาวะนี้ คือภาวะผมร่วง หัวล้านที่เกิดขึ้นในเพศชายเป็นหลัก แต่ก็มีบ้างที่จะเกิดขึ้นในเพศหญิง โดยเราจะเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะผมร่วงแบบแอนโดรจีนิค เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน หรือฮอร์เมนเพศชายที่พบได้ทั้งชายหญิง ไปเป็นฮอร์โมน DHT (Dihyodrotestoserone) ที่เป็นอันตรายต่อรากผมอย่างมาก ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะมีอยู่ในเพศหญิงน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับเพศชาย แต่หากเมื่อใดที่ร่างกายเกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงลดลง เช่น ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ก็จะทำให้ฮอร์โมน DHT ตัวนี้เด่นชัดขึ้นมา และแสดงอาการที่เหมือนกับที่เกิดในเพศชายได้นั่นเอง ผมร่วงจากอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจภาวะความเจ็บปวดนั้น จะทำให้รากกผมเข้าสู่ระยะพักตัว ซึ่งถือเป็นการปรับตัวของระบบร่างกาย ที่จะพักการทำงานในส่วนที่ไม่จำเป็นออกก่อนเพื่อโฟกัสในการรักษาตัวของร่างกายได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งผมจะกลับมางอกกลับมาใหม่ได้เองในระยะเวลา 6 เดือน ผมร่วงจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลเกิดในหญิงที่คุมกำเนิดด้วยวิธีการกิน ฉีด ฝัง ยาคุมกำเนิด การรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยฮอร์โมนทดแทน วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ซึ่งการที่ฮอร์โมนต่างๆ เกิดการไม่สมดุลแบบนี้ จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักตัวได้ไวขึ้น ผมจึงหลุดร่วงมากขึ้น ผมร่วงจากการตั้งครรภ์และหลังคลอดในขณะที่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนหลายตัวมักเพิ่มสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก ทำให้ในช่วงที่ตั้งครรภ์คุณแม่หลายคนแทบจะไม่มีอาการผมร่วงมากวนใจเลยแม้แต่น้อย กลับกันกับตอนหลังคลอดที่ฮอร์โมนจะกลับสู่สภาวะปกติ ทำให้เกิดภาวะผมร่วงตามมาได้ ทั้งนี้อาการผมร่วงที่ว่าจะกลับมาเป็นปกติได้ ในช่วง 12-18 เดือนค่ะ ผมร่วงจากการใช้ยาบางประเภทยาบางประเภทมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ เช่น ยารักษาสิว การรักษาด้วยเคมีบำบัด ยารักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งหากเกิดผลข้างเคียงแบบนี้ขึ้น สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางออกได้ โดยอาจจะปรับเปลี่ยน หรือลดปริมาณตัวยาในการรักษาก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอเลย ผมร่วงจากพฤติกรรมของตนเองการใช้ความร้อนและสารเคมีการที่ใช้ลมร้อนเป่าทำให้ผมแห้งไว ส่งผลให้เส้นผมแห้ง แตกปลาย ขาดความชุ่มชื่น จนผมร่วงได้ รวมถึงการดัดผม การยืดผม และการทำสีผม ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เส้นผมอ่อนแอ บางคนรุนแรงถึงขั้นเกิดอาการแพ้หนังศีรษะ ผมร่วงจากการขาดวิตามินและแร่ธาตุ สารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม โดยเฉพาะ zinc โดยมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ซ่อมแซมผมที่อ่อนแอให้เจริญเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น มีบทบาทเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเส้นผม และยังช่วยควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะ ลดโอกาสการหลุดร่วงของเส้นผมได้ โดยปกติแล้วเส้นผมของคนเราสามารถหลุดร่วงได้ถึง 100 เส้นต่อวัน และอาจมากถึง 200 เส้นในวันที่สระผม ลักษณะผมร่วงในผู้หญิงจึงไม่ต่างกันกับของผู้ชายมากนัก เพราะก็คือการที่ผมร่วงมากกว่าปกติเหมือนกัน ผมร่วงทุกวันเป็นเรื่องปกติ ผมร่วงวันละ 20 เส้น 30 เส้น เป็นเรื่องปกติ แต่หากผมร่วงวันละ 200 เส้น ถือว่าผิดปกติแล้ว หากผมร่วงมากกว่า 50 – 60 เส้นในผู้ชาย หรือ 100 – 150 เส้นในผู้หญิง จะถือว่าผิดปกติ แต่หากเกินมาเล็กน้อย ก็ไม่ต้องกังวลมาก เพราะอาจจะเกิดจากการที่เป็นคนผมเยอะ หรือเกิดจากความผิดปกติเพียงเล็กน้อยของร่างกาย เช่นความเครียด พักผ่อนน้อย หากแก้ปัญหาเล่านี้ได้ ร่างกายจะกลับเป็นปกติเอง วิธีแก้ปัญหาผมร่วงด้วยตัวเอง หลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่มีความร้อน ลดการใช้อุปกรณ์ทำผมที่ใช้ความร้อน ซึ่งทำให้เส้นผมสูญเสียความชุ่มชื้น งดใช้สารเคมีหรือยาบางประเภทที่ใช้กับเส้นผมและหนังศีรษะโดยตรง เช่น การทำสีผม ดัด ยืด ย้อม การกินยา หรือยาทาบนหนังศีรษะ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์แต่งผมและเคมี การที่เส้นผมโดนสารเคมีเป็นจำนวนมาก จะส่งผลต่อโครงสร้างทางเส้นผม จนนำไปสู่ปัญหาผมร่วง หลีกเลี่ยงผมอับชื้น ควรเช็ดผมให้แห้ง ไม่ควรเข้านอนทั้งที่ผมยังเปียกชื้น เพราะอาจทำให้เกิดความอับชื้นและเชื้อราบนหนังศีรษะได้ ซึ่งเชื้อราบนหนังศีรษะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มีอาการคัน มีรังแค และผมร่วงเป็นหย่อม บางคนร้ายแรงถึงกับติดเชื้อของหนังศีรษะ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส อาจทำลายรากผม ทำให้ผมร่วง ซึ่งต้องรักษาอาการติดเชื้อก่อนจึงจะฟื้นฟูเส้นผมได้ ใช้หวีที่เหมาะสม เลือกใช้หวีที่มีลักษณะซี่ห่าง และหลีกเลี่ยงการดึงผมแรง ๆ โดยเฉพาะการหวีผมในช่วงเส้นผมเปียก เพราะยิ่งทำให้เกิดผมร่วงได้ง่าย ๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลหนังศีรษะให้มีสุขภาพแข็งแรงจากภายใน เพราะอาหารที่เราทานเข้าไปเป็นสารตั้งต้นของการสร้างเซลล์ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงการเจริญเติบโตของเส้นผมด้วย เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง เนื้อไม่ติดมัน ปลา ถั่วต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนและอะมิโนที่ดี เพื่อรักษาสุขภาพของหนังศีรษะและเส้นผม ควรใช้น้ำอุณหภูมิปกติ เพราะการสระผมด้วยน้ำอุ่นจะส่งผลให้หนังศีรษะเกิดอาการแห้ง รูขุมขนกว้าง รากผมเกิดความอ่อนแอ จนผมร่วง ใช้โลชั่นบำรุงผมแก้ผมร่วง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับเส้นผมของตนเอง หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม ด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ ทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของซิงค์ ซิงค์เป็นแร่ธาตุที่มีช่วยการเจริญเติบโตของเส้นผมและเล็บ โดยมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ซ่อมแซมผมและเล็บที่อ่อนแอให้เจริญเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น มีบทบาทเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเส้นผมและเล็บ และยังช่วยควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะจึงลดโอกาสการหลุดร่วงของเส้นผมได้ รู้ถึงสาเหตุที่ผมร่วงแล้วอย่าลืมบำรุงดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำลายเส้นผม และควรหมั่นรับประทานอาหารที่มีซิงค์ หรือหากคิดว่าไม่สามารถเลือกรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มสังกะสีในร่างกายได้ การรับประทานอาหารเสริมก็สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน การที่ร่างกายขาดซิงค์เป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆมากมายที่สังเกตได้เช่นอาการผมร่วงแตกปลายเล็บเปราะเล็บเป็นจุดสีขาวผิวหนังแห้งและอักเสบบาดแผลหายช้าภูมิคุ้มกันลดลงติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้นเบื่ออาหารการรับรู้รสลดน้อยลงมีอาการซึมเศร้าหงุดหงิดขาดสมาธิเหม่อลอยเป็นต้น
Zinc (ซิงค์) ช่วยพัฒนาการการเจริญเติบโต และเสริมภูมิคุ้มกันเด็กจริงไหม ?
ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ และสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมดังนั้นทารกจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างเพียงพอเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ สมบูรณ์ บทบาทของ zinc ต่อการเจริญเติบโต กระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) กระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้เด็กกินอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นการแบ่งตัวของเซล์กระดูก มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ควบคุมการแสดงออกของยีน เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่เป็นเอนไซม์และฮอร์โมนในขบวนการต่างๆของร่างกาย บทบาทของ zinc ต่อสมองและพัฒนาการ ทารกมีการเจริญเติบโตของสมองและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยสมองจะมี zinc ในปริมาณมาก zinc เป็นตัวจับกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง รวมทั้งโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท หลายชนิดที่เกี่ยวซ้องกับการจดจำและการเรียนรู้ บทบาทของ zinc ต่อระบบภูมิคุ้มกัน Zinc ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของเชลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ (cell division) และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ (cell differentiation) อยู่ตลอดเวลา มีความเกี่ยวข้องกับการหลั่ง cytokines บางชนิดที่ก่อให้เกิดกลไกการอักเสบ (inflammation) ในร่างกาย จะเห็นได้ว่า zinc มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในหลายๆ ด้าน โดยจากการศึกษา พบว่า การให้ zinc เสริมควบคู่ไปกับการรักษาการติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วยเด็กมีผลดีแตกต่างกันไปตามลักษณะการติดเชื้อ เช่น การศึกษาในกลุ่มเด็กที่ได้รับ zinc เสริมมีอุบัติการณ์ของ หูชั้นกลางอักเสบเป็นหนอง (suppurative otitis media) หลอดลมฝอยอักเสบ (bronchiolitis) และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนต่ำกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้รับ zinc และอีกการศึกษา พบว่า การให้zincในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันได้เป็นเวลา 0.5 วัน รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการเสริมzincมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับzinc ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีที่มีภาวะอุจจาระร่วงยืดเยื้อ (persistent diarrhea) การให้ zincเสริมช่วยลดระยะเวลาการเกิดอาการได้เป็นเวลา 0.68 วัน เป็นต้น Zinc เป็นแร่ธาตุหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของสมอง ทารกในครรภ์จะสะสม zinc ที่ได้รับจากมารดาไว้ในร่างกายผ่านทางรกหลังจากทารกเกิด zincในร่างกายของทารกจะถูกใช้ไปตามความต้องการใน แต่ละวัน นอกจากนี้ทารกได้รับ zinc เพิ่มจากอาหารซึ่งได้แก่ นมแม่ ซึ่งมีปริมาณzincเพียงพอต่อความต้องการของทารในวัยดังกล่าว และ zinc ในนมแม่อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายทารกสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้มาก (high bioavailability) นอกจากนั้น ในช่วงอายุนี้ ทารกยังมี zinc ที่สะสมไว้ที่ตับตั้งแต่ช่วงอยู่ในครรภ์มารดาด้วย เป็นแหล่งของสารอาหารที่สำคัญสำหรับทารกในช่วงอายุ 6 เดือนแรกของชีวิต zinc ในนมแม่ของทารกแรกเกิดครบกำหนดจะมีปริมาณแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุของทารก โดยระดับสังกะสีในนมแม่มีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 3 เดือนแรก หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลงในอัตราที่ช้าลง ปริมาณ zinc ในนมแม่ยังคงเพียงพอสำหรับความต้องการของทารกในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เมื่อทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ปริมาณ zinc ในนมแม่จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทารก รวมทั้งปริมาน zinc ที่สะสมไว้เริ่มหมดไป ทารกจึงจำเป็นต้องได้รับ zinc เพิ่มเติมจากการได้รับอาหารตามวัยสำหรับทารก (complementary food) อาหารตามวัยสำหรับทารกที่ทารกได้รับจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคม วัฒนธรรมและความเชื่อ แหล่งอาหารที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ชนิดของอาหารตามวัยมีความสำคัญ โดยอาหารตามวัยที่ทำมาจากพืชผัก เช่น ผักชนิดต่างๆ ธัญพืช ถั่ว เป็นต้น ไม่เป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับ zinc แม้ว่าพืชบางชนิดมีปริมาณ zinc มาก แต่พืชเหล่านั้นมีส่วนประกอบที่เป็นสารไฟเตท (phytate) ซึ่งยับยั้งการดูดซึม zinc ที่ลำไส้เล็ก ทำให้ผู้บริโภคพืชเหล่านั้นได้รับปริมาณzincน้อยลง ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์นับเป็นแหล่งอาหารที่มี zinc มาก และถูกดูดซึมได้ดี องค์การอนามัยโลก และ European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology and Nutrition(ESPGHAN) จึงได้แนะนำว่า เมื่อทารกพร้อมที่จะรับอาหารอื่นนอกจากนม ให้ทารกได้รับอาหารตามวัยประเภทเนื้อสัตว์ เป็นอาหารประเภทแรกๆ และควรได้รับเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกมีปัญหาขาดสารอาหารบางชนิด ซึ่งรวมถึง zinc และเหล็ก Zinc เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อทารก ทั้งในด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และภูมิคุ้มกัน ดังนั้น ทารกควรได้รับ zinc จากอาหารในปริมาณที่เพียงพอ โดยเริ่มต้นที่การได้รับนมแม่ การได้รับอาหารตามวัยที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นให้ทารกรับอาหารได้หลากหลาย บริโภคอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้องตามหลักโภชนาการในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้ทารกเติบโต มีพัฒนาการเหมาะสม และสติปัญญาที่ดีเต็มศักยภาพ รวมทั้งลดโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
How to..ดื่มหนักแต่ไม่อยากแฮงค์ ง่ายๆตามนี้เลย
จบงานปาร์ตี้หรือช่วงเทศกาลทีไร เป็นต้อง เมาค้าง ทุกที แต่สำหรับนักปาร์ตี้แล้ว บรรยากาศในวงเหล้า เคล้าเสียงเพลง และสังคมหมู่เพื่อน คือ เสน่ห์อย่างหนึ่งของการสังสรรค์มากกว่ารสชาติของแอลกอฮอล์ขมๆ เสียอีก เมื่อความสนุกสนานเริ่มขึ้น แอลกอฮอล์จะช่วยเติมเต็มให้ค่ำคืน หอมหวนและอบอวลไปด้วยความสุขเพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง และคลายกล้ามเนื้อ เมื่อได้รับปริมาณเล็กน้อยจึงช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แอลกอฮอล์มีชื่อทางเคมีว่า Ethanol หรือ Ethyl Alcohol จัดเป็นสารกดประสาทชนิดหนึ่ง เมื่อดื่มไปแล้ว ร่างกายเราจะทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดออกไป แต่ผลกระทบอาจจะไม่ใช่แค่รอตับกำจัดแค่นั้น แต่ระหว่างที่รอ แอลกอฮอล์จะส่งผลมากมายต่อร่างกาย เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หากว่าเราปล่อยให้ท้องว่าง ระดับน้ำตาลในเลือดจะน้อยอยู่แล้วเป็นทุนเดิม หากเผลอดื่มแอลกฮอล์ไปทีละมากๆ จะยิ่งถูกฮอร์โมนอินซูลินออกมาขโมยน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง จึงเกิดอาการคล้ายน้ำตาลตก และจะเริ่มมีอาการมึนๆ งงๆ ตามมา และมึนเมาได้ไวกว่าคนที่รองท้องมาด้วยอาหาร หรือทานของแกล้มไปด้วย เมาค้างหรืออาการแฮงค์ (Hang Over) คือกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โดยอาการเมาค้างจะเกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงซึ่งตรงกับช่วงเช้าอีกวันหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในคืนก่อน ทั้งนี้ ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไปก็ส่งผลให้เกิดอาการเมาค้างที่แตกต่างกัน หากร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มาก ก็จะทำให้เกิดอาการเมาค้างมากขึ้นตามไปด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการเมาค้างคือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยฤทธิ์แอลกอฮอล์ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการอักเสบในร่างกาย บางคนสามารถเกิดอาการเมาค้างได้แม้ดื่มไม่มาก ส่วนบางคนอาจต้องดื่มในปริมาณมากถึงจะเกิดอาการ โดยปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับเข้าไปนั้นส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย และทำให้เกิดอาการเมาค้างต่าง ๆ ดังนี้ 1.ผลิตน้ำปัสสาวะมาก เมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไป แอลกอฮอล์จะกระตุ้นร่างกายให้ผลิตน้ำปัสสาวะมาก ทำให้ผู้ดื่มต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติจนนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ซึ่งมักปรากฏออกมาเป็นอาการกระหายน้ำ เวียนศีรษะ และมึนศีรษะ 2.เกิดการอักเสบของร่างกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางอย่างทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่า สารสื่อประสาท ซึ่งทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ มีความอยากอาหารลดลง หรือรู้สึกเบื่อกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นปกติ 3.ระคายเคืองผนังกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะกระตุ้นการสร้างกรดในกระเพาะอาหารให้เพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้ย่อยอาหารได้ยาก ซึ่งส่งผลให้ผู้ดื่มมักปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน 4.ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ตัวสั่น อารมณ์แปรปรวนไม่มั่นคง รวมทั้งเกิดอาการชักขึ้นได้ 5.หลอดเลือดขยาย หากหลอดเลือดในร่างกายขยายออกอันเป็นผลจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกปวดศีรษะได้ 6.นอนหลับไม่เพียงพอ ฤทธิ์แอลกอฮอล์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการนอนหลับ เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสารสื่อประสาท ทำให้ผู้ดื่มอาจนอนหลับไม่สนิทหรือนอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดอาการเพลีย เดินเซ และเหนื่อยล้า วิธีแก้เมาค้าง แก้แฮงค์ มีอะไรบ้าง? ดื่มมาก็หนัก แต่งานก็ไม่สามารถทิ้งได้ แบบนี้ต้องทำอย่างไรดีนะ? ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ตามจากงานวิจัยหลายแห่ง ระบุว่า ไม่มียาแก้เมาค้าง หรือสามารถแก้แฮงค์สูตรสำเร็จได้ผล 100% แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีการแก้เมาค้างเลย โดยวิธีแก้เมาค้างมีหลากหลายวิธี ดังนี้ 1.หมั่นดื่มน้ำเปล่าตาม 1-2 แก้ว ทุกชั่วโมง สำหรับคำถามยอดฮิตอย่างการกินอะไรแก้เมาค้าง แก้แฮงค์ แรบบิทแคร์บอกได้เลยว่า การดื่มน้ำเปล่าจะชช่วยขับสารพิษในร่างกายอย่างแอลกอฮอล์มาในรูปแบบของปัสสาวะได้ดีที่สุด นอกจากช่วยสร้างความสดชื่นให้กับร่างกายแล้ว ยังช่วยควบคุมความดันโลหิต ควบคุมอุณหภูมิ แก้เมาค้าง แก้แฮงค์ได้ดี 2.ดื่มน้ำขิง,น้ำผึ้งมะนาว, มะพร้าว หรือ น้ำใบโหระพา มีเครื่องดื่มหลากหลายที่ช่วยแก้เมาค้างได้เป็นอย่างดี โดยแรบบิท แคร์ ขอแนะนำ น้ำขิง, น้ำผึ้งมะนาว, มะพร้าว หรือ น้ำใบโหระพา ที่มีสรรพคุณช่วยแก้แฮงค์ ช่วยลดสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายได้ดี บางชนิดอย่างน้ำขิงมีฤทธิ์เผ็ดร้อน ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ลดอาการปวดหัว บางชนิดอย่างน้ำผึ้งมะนาว ช่วยให้ร่างกายสดชื่นขึ้นด้วย 3.ทานผลไม้ ดื่มเครื่องดื่มวิตามิน หรือทานเกลือแร่ ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี วิตามินซี หรือวิตามินดี ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายสร้างความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และลดอาการปวดหัวจากอาการแฮงค์ ลดอาการคลื่นไส้ได้ ดังนั้น การเลือกดื่มเครื่องดื่มวิตามิน ทานผลไม้ หรือเกลือแร่ เพื่อเสริมวิตามิน หรือชดเชยภาวะขาดน้ำในร่างกายที่ขาดหายไปได้ โดยการดื่มหรือทานแต่พอดีนั่นเอง 4.ดื่มนมช็อกโกแลต หรือน้ำอัดลม เนื่องจากในช็อกโกแลตอุดมไปด้วยวิตามิน สารอาหาร กาเฟอีน และสารให้ความหวานที่จะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย เป็นวิธีแก้เมาค้างและปวดหัวได้อย่างเร่งด่วนหรือใครที่ไม่ชอบดื่มนม อาจเลือกเป็นน้ำอัดลมโคล่าก็ได้ เพราะในน้ำอัดลมกลิ่นโคล่าจะช่วยลดสารอะซิทัลดีไฮด์และเอทานอล ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดหัวได้ดี นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลเพื่อความสดชื่นให้ร่างกาย และแก้เมาค้าง แก้แฮงค์ได้เช่นเดียวกัน 5.กินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต หลังจากการดื่มแอลกอฮอล์และปาร์ตี้อย่างหนักแล้ว อาจจะเกิดอาการท้องว่างและหิวได้ ดังนั้น การกินอาหารแก้แฮงค์ตอนเช้า จำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว, ขนมปัง, ซีเรียล ก็จะช่วยทำให้อิ่มท้อง เพิ่มน้ำตาลในเลือด และแก้อาการเมาค้าง 1.ขิง ขิงจะมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้ ช่วยทำให้ฟื้นจากอาการปวดหัว และยังช่วยระบบขับถ่ายเอาแอลกอฮอล์ออกมาอีกด้วย เพียงแค่เตรียมน้ำขิงร้อนๆผสมน้ำผึ้งหรือน้ำมะนาว โดยนำน้ำผึ้ง 1 ถ้วย ผสมกับน้ำร้อนแล้วคนให้เข้ากัน 2.ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ไปเพิ่ม ALDH ช่วยกำจัดสารพิษที่เกิดจากแอลกอฮอล์, ลดระดับแอลกอฮอล์และสารพิษที่เกิดจากแอลกอฮอล์ (Acetaldehyde) ในเลือดได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับเอนไซม์ตับ (ALT, AST, ALP) ได้อีกด้วย 3.โกจิ เบอรี่ เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงตับ ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ ALDH ช่วยให้ตับขับสารพิษได้ดีขึ้น ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระเพื่อปกป้องตับจากการเกิดผังผืดที่ตับและตับแข็ง 4.แดนดิไลออน มีฤทธิ์ช่วยบำรุงตับ โดยกระตุ้นการสร้างน้ำดีที่ตับและเพิ่มการไหลน้ำดีไปยังถุงน้ำดี กระตุ้นการหดตัวและการคลายตัวของถุงน้ำดี ในขณะเดียวกันรากของแดนดิไลอ้อนมีสารโคลีนปริมาณสูง ส่งผลทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับและถุงน้ำดี ทำให้ภาวะโรคตับต่างๆ ดีขึ้น เช่น ท่อทางเดินน้ำดีอักเสบ, ตับอักเสบ, ดีซ่าน, ตับแข็ง 5.โคลีน เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงตับ ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปสะสมที่ตับและป้องกันการเกิดไขมันพอกตับ ฟื้นฟูการทำงานของตับ ข้อควรรู้หนึ่งอย่างหลังดื่มเสร็จ หากมีอาการปวดหัวอย่ารับประทานยาเพื่อบรรเทาโดยทันที เพราะร่างกายมีปริมาณแอลกอฮอล์สะสมอยู่มาก เมื่อยาเจอกับแอลกอฮอล์อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป นอกจากส่งผลกระทบต่อสมองแล้ว ยังผลต่อตับ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันสะสมที่ตับ (fatty liver) รวมทั้งเพิ่มโอกาสให้สารพิษที่ร่างกายได้รับมาสะสมในตับ หากดื่มบ่อยๆ อาจนำไปสู่ตับอักเสบ พังผืดที่ตับ ในที่สุด ก็จะกลายเป็นตับแข็งได้ หากไม่สามารถเลิกได้ ควรดื่มอย่างมีสติและพอประมาณ ไม่มากจนเกินไป นอกจากจะไม่ต้องเสียเวลาแก้เมาค้างแล้ว การเว้นวรรคให้ร่างกายได้พักผ่อนฟื้นฟูจะเป็นผลดีมากกว่า ที่สำคัญ หากเมาแล้วไม่ควรขับรถ ไม่ว่าจะดื่มมากหรือน้อยก็ตาม เพราะการขับรถทั้งที่มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ในเลือด อาจทำให้ผลการตัดสินใจต่าง ๆ ลดลง และเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายด้วย สุขภาพที่ดี เรากำหนดได้เอง จากการดื่มอย่างมีสติและพอประมาณ
รู้หรือไม่ ? ทานกินผัก-ผลไม้วันละ 400 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรค
“ผักผลไม้” ยิ่งกินยิ่งดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าในหนึ่งวัน ควรกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม โดยแบ่งเป็นผัก 3 ส่วนและ ผลไม้ 2 ส่วน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) 6 โรคได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลต่อกับการเป็นโรคในกลุ่ม NCDs ซึ่งการกินผัก และผลไม้ไม่เพียงพอ ก็เป็นอีกหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรค นอกจากนี้ยังทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลงอีกด้วย การบริโภคผักและผลไม้ ผักและผลไม้..เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน ใยอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยบำรุงระบบภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างสมดุล โดยเฉพาะ Vitamin B6, Folic, B12, C และสารสำคัญในผักผลไม้ เช่น เบต้าแคโรทีน มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ต้านเชื้อแบคทีเรีย การรับประทานผักผลไม้อย่าสม่ำเสมอ เหมาะกับคนที่ไม่สบายบ่อย และยังช่วยให้ไม่ป่วยง่ายอีกด้วยการกินผัก และผลไม้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรเลือกกินผัก และผลไม้ให้หลากหลายชนิด สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไป เพื่อให้คุณค่าสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน และ ใยอาหารจากผัก และผลไม้อย่างครบถ้วน สำหรับผู้ใหญ่ แนะนำให้กินผักให้ได้วันละ 6 ทัพพี (ผักที่ปรุงสุก จะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 50 กรัม ต่อ 1 ทัพพี) และ กินผลไม้ 2-3 ส่วน ต่อวัน (ผลไม้ 1 ส่วนจะมีน้ำหนักประมาณ 80-100 กรัม) ซึ่งการปฏิบัติตามสัดส่วนนี้ จะทำให้สามารถกินผัก และผลไม้ได้ตามปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือที่ 400 กรัมต่อคนต่อวัน นอกจากนี้ผักแต่ละสียังอุดมไปด้วยประโยชน์ต่างกัน สีสันเหล่านั้นเป็นสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นเม็ดสีที่พืชสร้างขึ้น ตามแต่ละลักษณะและชนิดของผักผลไม้นั้นๆ ซึ่งสีเป็นตัวบ่งบอกสารอาหารที่มีแตกต่างกัน โดยจะแบ่งออกเป็น 5 สี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.ผักผลไม้สีเขียว สีเขียวในผักและผลไม้มาจากเม็ดสีของสารที่มีชื่อว่า คลอโรฟิลด์ (Chlorophyll) เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็ง ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ช่วยยับยั้งการเกิดริ้วรอย นอกจากนี้การทานผักใบเขียวเป็นประจำจะช่วยให้การขับถ่ายดี ลดอากาท้องผูก เนื่องจากผักเหล่านี้มีกากใยสูงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก โดยจะมีตั้งแต่เขียวเข้มจัด ได้แก่ คะน้า สาหร่ายบางชนิด ตำลึง ผักใบเขียวต่างๆ และสีเขียวแบบทั่วไป เช่น แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง ผักกาด 2.ผักผลไม้สีแดง ผักและผลไม้ที่มีสีแดงคือ ไลโคปีน (Cycopene) และ เบตาไซซีน (Betacycin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งตามอวัยวะต่างๆในร่างกาย แต่จะเด่นที่สุดคือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก รองลงมาคือมะเร็งปอด และมะเร็งที่กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์เรื่องผิวพรรณ ลดการเกิดสิวและทำให้รอยแผลเป็นจางลงได้อีกด้วย ผักและผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มสีแดงได้แก่ มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ บีทรูท เชอรี่ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และกระเจี้ยบแดง 3.ผักผลไม้สีเหลืองและส้ม ผักและผลไม้ที่สีเหลืองจะมีสารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) อยู่มาก ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงกับดวงตา ช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของจอประสาทตาในผู้ใหญ่ และมีส่วนช่วยในการพัฒนา การมองเห็นในเด็กเล็กได้อีกด้วย สำหรับผักและผลไม้ที่มีสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีน (Betacarotene) ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล,ไขมันในเส้นเลือด ช่วยให้ผิวพรรณสดใส รักษาความชุ่มชื่นให้ผิว ลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยส่งเสริมและสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งผักและผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มสีเหลืองและส้มได้แก่ ส้ม แครอท มะละกอ มะนาว สับปะรด ฟักทอง มันเทศ ขนุน เสาวรส และ ข้าวโพด 4.ผักผลไม้ที่มีสีม่วงและม่วงอมน้ำเงิน สีสันแปลกตาเหล่านี้มาจากสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำลายสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆ ชะลอความเสื่อมถอย ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงเส้นผมให้เงางามอีกด้วย โดยจะพบมากใน มะเขือสีม่วง ลูกแบล็คเบอรี่ บลูเบอรี่ ดอกอัญชัน กะหล่ำปลีที่มีสีม่วง มันเทศสีม่วง และหอมแดง 5.ผักผลไม้ที่มีสีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อน ผักและผลไม้ที่มีสีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อนจะมีสารอาหารที่เรียกว่า แซนโทน (Xanthone) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆที่ประกอบด้วย กรดไซแนปติก (Synaptic acid) และ อัลลิซิน (Allicin) โดยสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ผักและผลไม้ที่มีสีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อนได้แก่ ขิง ข่า กระเทียม กุยช่าย ขึ้นช่าย เซเลอรี่ เห็ด ลูกเดือย หัวไชเท้า ถั่วเหลือง ดอกกะหล่ำ ถั่วงอก และงาขาว ส่วนผลไม้ก็ได้แก่ กล้วย สาลี่ พุทรา ลางสาด ลองกอง ลิ้นจี่ ละมุด แห้ว เป็นต้น นี่เป็นเพียงประโยชน์บางส่วนเท่านั้นที่ได้รับจากการทานผักและผลไม้ เพราะผักและผลไม้ ยังมีวิตามินและสารอาหารต่างๆ อีกมากมาย โดยทานเฉลี่ยและกระจายไปในทุกๆกลุ่มทุกๆสี สลับหมุนเวียนกันไป นอกจากประโยชน์จากสารอาหารแล้ว ผักและผลไม้ยังเป็นตัวช่วยที่ดีในการลดน้ำหนักได้อีกด้วย แต่ก่อนทานอย่าลืมการล้างทำความสะอาดผักและผลไม้ เพื่อป้องกันสารพิษตกค้างต่างๆที่แฝงมากับผักและผลไม้กันด้วยนะคะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.ryt9.com/s/prg/3232494
ท้องเสีย…กินยาอะไรได้บ้างนะ ?
ท้องเสียเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากหลายสาเหตุและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในผู้ป่วยบางรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และทำงานของภูมคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นการรักษาอาการท้องเสียในช่วงเริ่มแรกโดยการใช้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เรียกว่า ORS และยาที่ใช้รักษาอาการท้องเสียอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ก็สามารถทำได้เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ 1. สารน้ำทดแทนทางปาก (ORS) การให้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เราเรียกกันบ่อยๆว่า ORS มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันหรือรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดจากท้องเสีย ซึ่งผู้ป่วยโรคท้องเสียทุกรายจะเกิดการสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ไม่ว่าจะมีอาการแสดงของการสูญเสียน้ำหรือไม่ ดังนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับสารน้ำทดแทน ซึ่งรูปแบบของสารน้ำทดแทนที่ใช้ขึ้นกับความรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากควรส่งต่อไปสถานพยาบาลเพื่อให้สารน้ำทดแทนในรูปฉีดเข้าหลอดเลือดดา ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการในระดับน้อยถึงปานกลาง ควรได้รับสารน้ำทดแทนทางปาก ซึ่งรูปแบบที่แนะนำและนิยมใช้ คือ สารละลายที่มีปริมาณน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์ตามที่องค์การอนามัยโลกกาหนด ซึ่งจะเรียกว่า oral rehydration solution (ORS) การให้ ORS ในผู้ป่วยโรคท้องเสียถือว่ามีความสาคัญอย่าง จากการศึกษาทางคลินิก พบว่า การให้ ORS ในเด็กที่เกิดโรคท้องเสียช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ในการให้ ORS ต้องให้อย่างถูกต้องและเพียงพอ การรับประทาน ORS จะแนะนาให้ค่อยๆ จิบ ไม่ควรรับประทานรวดเดียวจนหมด โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจาก ผู้ป่วยโรคท้องเสียจะมีสภาวะดูดซึมน้ำและอาหารได้ลดลง ร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์จากโพรงลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดไม่ทัน ทำให้มีความเข้มข้นของน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์ในโพรงลำไส้สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการดูดน้ำเข้ามาที่โพรงลำไส้มากขึ้น และทำให้อาการท้องเสียรุนแรงกว่าเดิมได้ 2. ยาบรรเทาอาการท้องเสีย (Antidiarrheal drugs) ยาดูดซับสารพิษ (adsorbent agents) ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ได้แก่ diosmectite, kaolin-pectin และ charcoal ออกฤทธิ์โดยการดูดซับสารพิษที่เกิดจากเชื้อก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โดยยาที่มีการศึกษาทางคลินิกยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด คือ diosmectite Diosmectite เป็นยาที่เชื่อว่ามีกลไกการออกฤทธิ์ได้หลายกลไก ได้แก่ ดูดซับสารพิษ เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพในการดูดซับที่ดีกว่ายาชนิดอื่น ยาสามารถไปจับเยื่อบุลำไส้ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อต่างๆ เข้ามาเกาะและทำลายเยื่อบุลาไส้ และยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบอีกด้วย ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ diosmectite พบว่าสามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จากหลักฐานทางวิชาการ พบว่า ช่วยลดปริมาณอุจจาระ และระยะเวลาของโรคท้องเสียได้ สถิติ อีกทั้งยานี้ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง และมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานยา ยายับยั้งการเคลื่อนตัวของลำไส้ (Antimotility agents) ยาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีในร้านยา คือ loperamide ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนตัวของลำไส้โดยตรง ทำให้อาการท้องเสียลดลงได้ ยาสามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว เริ่มเห็นผลได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงหลังรับประทานยา และออกฤทธิ์ได้เต็มที่ใน 16-24 ชั่วโมงหลังรับประทานยา โดยยากลุ่มนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก เนื่องจากพบผลข้างเคียงที่รุนแรง ยายับยั้งการหลั่งสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ (Antisecretory drug) ได้แก่ยา racecadotril เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์เข้าสู่โพรงลำไส้ได้ จึงช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ 3. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเมื่อบริโภคในปริมาณมากพอ จะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคกลไกของโพรไบโอติกส์ในการรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าโพรไบโอติกส์ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลำไส้ เพิ่มความแข็งแรงของเยื่อบุลำไส้ แย่งอาหารกับเชื้อก่อโรค และทำให้สภาพในโพรงลำไส้ไม่เหมาะกับการเติบโตของเชื้อก่อโรค มีผลทำให้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อก่อโรค 4. ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นเป็นปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยทั้งในร้านยาและสถานพยาบาล การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะควรพิจารณาถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กรณีอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ จะไม่แนะนาให้ใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากเชื้อก่อโรคหลักในชุมชนมักจะเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นหลัก หรือแม้แต่ท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหากมีระดับความรุนแรงเพียงเล็กน้อยหรือปานกลาง ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะสามารถหายได้เอง 5.ธาตุสังกะสี (Zinc) มีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหารในการซ่อมแซมเยื่อบุลำไส้ และการสร้างเอนไซม์บริเวณ brush border รวมไปถึงการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อก่อโรคในลำไส้ ในภาวะท้องร่วงจะมีการสูญเสียธาตุสังกะสีไปทางอุจจาระมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะขาดธาตุสังกะสีได้ การขาดธาตุสังกะสีทำให้เกิดความบกพร่องในการดูดซึมน้ำและเกลือแร่ มีการพร่องเอนไซม์ที่เยื่อบุลำไส้เล็ก และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง 6. ยาบรรเทาอาการที่เกิดร่วมกับท้องเสีย ได้แก่ ยาลดไข้ ยาแก้ปวดเกร็งช่องท้อง เช่น hyoscine และยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ที่นิยมใช้ เช่น domperidone และ ondansetron อย่างไรก็ตาม domperidone และ ondansetron ก็มีรายงานการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเช่นกัน ดังนั้นจึงควรใช้ในขนาดยาที่แนะนำ และระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการกินอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด เปรี้ยวจัด เพื่อลดอาการเสาะท้อง ลดการกินอาหารหมักดอง เพราะเสี่ยงต่อการพบเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากกระบวนการหมักดองที่ไม่มีประสิทธิภาพ เลือกกินอาหารจากร้านอาหาร หรือวัตถุดิบในการทำอาหาร ที่สะอาด น่าเชื่อถือ และปรุงให้สุก 100% ก่อนกินอาหารทุกครั้ง ไม่กินอาหารที่ปรุงสุกข้ามวัน และเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เย็นมากพอ เพราะอาจก่อให้เกิดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสียได้ ไม่กินอาหารมากจนเกินไป เช่น การกินบุฟเฟ่ต์ หรือการอดอาหารมื้อหนึ่ง แล้วกินอีกมื้อหนึ่งมากขึ้นทดแทน เพราะการกินอาหารครั้งเดียวในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ผนังหน้าท้องขยายขนาดขึ้น และส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ควรเปลี่ยนมากินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยขึ้นจะดีกว่า ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกครั้งก่อนกลืน ไม่รีบกินรีบกลืนจนเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ยาก เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้ โรคท้องเสียเป็นโรคที่สำคัญและพบได้บ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ควรจะประเมินอาการและระดับความรุนแรงของโรคท้องเสียของตนเอง หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถให้สารน้ำทดแทน ORS และยาบรรเทาอาการท้องเสียอย่างเหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงของอาการท้องเสียได้ แต่หากมีอาการรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/IJPS/article/view/125918
น้ำมันปลา (Fish Oil) และ น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ต่างกันอย่างไร ?
แม้ว่าเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งวิตามินหรืออาหารเสริม แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ในทุกวัน อาหารเสริมและวิตามินจึงกลายเป็นทางเลือกของคนที่ใส่ใจสุขภาพเพราะสะดวกสบาย ง่ายที่จะทำ ทั้งยังหาซื้อได้ทั่วไปอีกด้วย แต่อาหารเสริมนั้นก็มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีชื่อของ “น้ำมันปลา” และ “น้ำมันตับปลา” รวมอยู่ด้วย ด้วยชื่อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน จึงทำให้เกิดความสับสนกันอยู่บ่อยๆ ว่าทั้งสองอย่างนั้น คือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไขข้อสงสัย..น้ำมันปลา (Fish Oil) VS น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) น้ำมันปลา (Fish Oil) ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา โดยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น ซึ่งมีกรดไขมัน Omega-3 ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด อาทิ ปลาแองโชวี่ ปลาแมคเคอเรล หรือปลาทูน่ามีไขมัน เป็นต้น สารอาหารสำคัญของน้ำมันปลา (Fish Oil): อุดมไปด้วยกรดไขมัน Omega-3 ประกอบด้วยกรดไขมันสำคัญ 2 ชนิด ก็คือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) โดยมีผลวิจัยทางการแพทย์มากมายสรุปอย่างชัดเจนว่าน้ำมันปลา (Fish Oil) มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น มีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ และลดโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ สมองอุดตัน นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสมองและหัวใจ เป็นต้น น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) สกัดมาจากตับของปลาทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะปลาค็อด หรือที่หลายคนคุ้นหูกันในชื่อของ Cod liver oil สารอาหารสำคัญของน้ำมันตับปลา (Cod liver oil) : มีกรดไขมัน EPA และ DHA เหมือนกับน้ำมันปลาแล้วแต่มีในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำมันปลา แต่น้ำมันตับปลาจะมีวิตามินเอ และวิตามินดี ในปริมาณที่สูง น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาเหมาะกับใคร ? น้ำมันปลา (Fish Oil) เหมาะกับผู้ที่ต้องการบำรุงหัวใจ สมอง ป้องกันหลอดเลือดหัวใจ และสมองอุดตัน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูงหรือต้องการลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดอักเสบโรคข้อรูมาตอยด์ โรคซึมเศร้า และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) เหมาะกับผู้ที่ต้องการดูแลในเรื่องของสายตาและกระดูก เนื่องจาก วิตามินเอ ได้ชื่อว่าเป็น วิตามินสำหรับดวงตา เพราะมีประโยชน์ต่อสมรรถภาพในการมองเห็น ช่วยให้มองเห็นในที่ที่มีแสงสว่างน้อยได้ดีขึ้น ในส่วนของ วิตามินดี เองนั้นก็มีคุณสมบัติในการบำรุงกระดูก ป้องกันกระดูกพรุนและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง รวมถึงยังถูกนำมาใช้เสริมในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดวิตามินเอ และวิตามินดี อีกด้วย ประโยชน์ของน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา 1.ลดการอักเสบเรื้อรังและความกังวลจากการอักเสบ โอเมก้า-3 ในน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา ช่วยลดอาการอักเสบเรื้อรังได้ โดยการเข้าไปจัดการกับโปรตีนที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ขณะที่วิตามิน A และ D ในน้ำมันตับปลา ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยลดการอักเสบโดยการต้านสารอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย ในงานวิจัยบางงานยังพบว่า อาการอักเสบส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้เกิดความกังวลหรือซึมเศร้าได้ ซึ่งหากอาการอักเสบเรื้อรังลดลง ความกังวลและอาการซึมเศร้าก็มีแนวโน้มที่จะลดลงเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบความเชื่อมโยงระหว่างการเพิ่มขึ้นของปริมาณวิตามิน D ในกระแสเลือดกับการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเโซโรโทนิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสารแห่งความสุข ส่งผลต่อความกังวลและอาการซึมเศร้าอีกด้วย 2.เสริมสร้างมวลกระดูก โดยทั่วไป มวลกระดูกของคนเราจะเริ่มลดลงไปตามวัยหลังอายุ 30 ปี ซึ่งนำไปสู่กระดูกเปราะหรือแตกหักได้ง่าย แต่วิตามิน D ในน้ำมันตับปลา จะช่วยลดอัตราการหายไปของมวลกระดูกที่มาจากช่วงวัย เพราะวิตามิน D ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และแคลเซียมทำให้กระดูกแข็งแรง กรณีนี้น้ำมันตับปลาจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรที่ได้รับแสงแดดปริมาณน้อย ร่างกายจึงนำมาสังเคราะห์เป็นวิตามิน D ได้น้อย 3.ลดอาการปวดตามข้อจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ในงานวิจัยบางงานระบุว่าโอเมก้า-3 ช่วยลดอาการเจ็บปวดตามข้อ และลดอาการอักเสบหรือบวมได้ ดังนั้น มันจึงช่วยลดอาการปวดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ 4.ช่วยให้มีสุขภาพตาที่ดีขึ้น ผู้คนจำนวนมากประสบปัญหาเกี่ยวกับสายตาและการมองเห็น และ 2 เหตุผลใหญ่ ๆ ที่นำไปสู่ภาวะดังกล่าวคือ การเป็นต้อหิน และ จอประสาทตาเสื่อมตามวัย ซึ่งมาจากการอักเสบเรื้อรัง แต่การรับประทานน้ำมันตับปลาที่มีทั้งโอเมก้า-3 และวิตามิน A อยู่นั้นช่วยต้านการอักเสบและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดต้อหิน เช่น ความดันในตาหรือเส้นประสาทตาถูกทำลายได้ 5. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โอเมก้า-3 สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้ถึง 15-30% ลดความดันเลือด เพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันดีในเลือด ป้องกันการเกิดคราบพลัก (Plaque) ซึ่งเป็นการสะสมของไขมันและแคลเซียมในหลอดเลือดแดง จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันตับปลาและน้ำมันปลา 1. คนที่แพ้ปลาทะเลหรืออาหารทะเลห้ามรับประทาน เพราะน้ำมันปลามาจากปลาทะเล ผู้ที่แพ้อาหารทะเล หรือแพ้ปลาก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะแพ้น้ำมันปลาจจนทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเสียได้ 2. ไม่ควรรับประทานน้ำมันตับปลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากในน้ำมันตับปลามีวิตามินเอและวิตามินดีที่ค่อนข้างสูง การรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมของวิตามินเอและวิตามินดีได้ 3. ควรหยุดรับประทานน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 7 วัน เนื่องจากว่าคุณสมบัติของ EPA สามารถที่จะยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งอาจส่งผลทำให้เลือดแข็งตัวช้าและเกิดอันตรายระหว่างผ่าตัดได้ 4. ห้ามรับประทานคู่กับยาแอสไพรินและวาฟาริน ไม่แนะนำให้รับประทานน้ำมันตับปลาและน้ำมันปลาคู่กับยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยากับยา ทําให้เลือดหยุดไหลช้าหรือว่าเลือดแข็งตัวช้าจนเกิดอันตรายได้ 5. คนที่มีโรคประจำตัวไม่แนะนำให้รับประทาน โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด มีระดับไขมันในเลือดสูง จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนกินน้ำมันตับปลาและน้ำมันปลา เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้คงได้เห็นถึงความแตกต่างของ น้ำมันปลา และน้ำมันตับปลากันแล้ว ร่างกายของเราต้องการโอเมก้า-3 เพื่อช่วยในกระบวนการทำงานต่าง ๆ จึงควรรับประทานอาหารทะล 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่หากไม่สะดวกในการรับประทานอาหารทะเล ดังนั้นก่อนการเลือกซื้ออย่าลืมพิจารณาถึงปัญหาสุขภาพที่ต้องการดูแล เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์มากที่สุด อีกทั้งควรศึกษาถึงวิธี ปริมาณ และระยะเวลาในการรับประทานเพื่อที่จะให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
ทำไมเด็กต้องทาน Zinc ทานแล้วได้อะไร ?
“Zinc (ซิงค์) หรือ สังกะสี” เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วน ทั้งการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน และผิวหนัง มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของ พืช สัตว์และมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง Zinc (ซิงค์) ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่มี Zinc (ซิงค์) เป็นส่วนประกอบโดยเฉลี่ยในปริมาณ 15 mg ต่อวัน แหล่งอาหารที่มีปริมาณ Zinc (ซิงค์) สูง ได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม เมล็ดทานตะวัน เห็ด เนื้อหมู ไข่ ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ปลา จมูกข้าวสาลี แป้งงา เมล็ดฝักทอง ธัญพืช เครื่องเทศ ผักโขม เป็นต้น การเสริม Zinc (ซิงค์) ในเด็ก อายุมากกว่า 12 เดือน จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อได้ โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะท้องเสีย Zinc (ซิงค์) ช่วยลดความรุนแรงของโรคและทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว Zinc (ซิงค์) สำคัญอย่างไรกับร่างกาย ? Zinc มีความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต พัฒนาการของเด็กทั้งในด้านพฤติกรรมและความสามารถในการเรียนรู้การทำงานของระบบสืบพันธุ์การผลิตอสุจิการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินและไทรอยด์ การรับรส แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ การกระตุ้นปฏิกิริยาชีวเคมี (Catalytic reaction function) zinc มีส่วนช่วยในการทำงานของเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีบทบาทในขบวนการเมตาบอลิสมของโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก โครงสร้างของโปรตีน (Structural protein function) zinc มีส่วนช่วยให้โปรตีนจัดโครงสร้างเป็นรูป 3 มิติโดยจับกับกรดอะมิโนเช่น ซีสเตอิน (cysteine) หรือ ฮีสติดีน (histidine) เรียกว่า “zinc finger” หรือ“zinc motif” สามาร5ช่วยให้โปรตีนจับกับสารพันธุกรรมเพื่อกระตุ้นกระบวนการแสดงออกทางพันธุกรรมต่างๆ การควบคุมการทำงาน (Regulatory function) ควบคุมการแสดงออกของสารพันธุกรรมโดยตรงผ่านบริเวณที่เรียกว่า metal response element (MRE) บน DNA ทำให้สามารถจับปรับการสร้างโปรตีนขนถ่ายธาตุ zinc (Zinc transporter) โดยเฉพาะ metallothionein ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมการดูดซึม zinc บริเวณลำไส้เล็ก นอกจากนี้แร่สังกะสีนี้ยังมีความจำเป็นต่อการทำงานของเอนไซม์กว่า 300 ชนิด ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการเผาผลาญ การย่อยอาหาร การทำงานของระบบประสาท ตลอดไปจนถึง การพัฒนาและการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซิงค์จึงจัดได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากเป็นอันดับ 2 รองจากธาตุเหล็ก จะเกิดอะไรหากร่างกายไม่ได้รับซิงค์ในปริมาณที่เหมาะสม? กรณีที่ได้รับซิงก์มากเกินไป– มากเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน: ส่งผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด– มากเกินกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน: เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ เกร็งบริเวณกล้ามเนื้อท้อง และเกิดอาการผิดปกติ ในระบบทางเดินอาหาร– มากเกินกว่า 1.5 เท่าของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน: หากเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน สังกะสีจะเข้าไปลดการดูดซึมทองแดงและธาตุเหล็ก ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง กรณีที่ได้รับซิงก์น้อยเกินไป ร่างกายจะแสดงออกมาด้วยอาการทางผิวหนัง – ขนตามร่างกายร่วง ผิวหนังเป็นรอยเขียวฟกช้ำได้ง่าย– แผลเรื้อรังไม่ยอมหายสักที มีการอักเสบระคายเคืองที่ผิวหนัง– ผิวแห้งลอกไม่มีความชุ่มชื้น ผิวหยาบกร้าน โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อพับ– ประสาทการรับรสเริ่มด้อยประสิทธิภาพ– แผลหายช้า– สำหรับหญิงที่ให้นมบุตร การขาดธาตุสังกะสีจะส่งผลไปถึงการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกน้อย การขาดซิงค์ในเด็กอย่างรุนแรงจะทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกายบกพร่อง รวมถึงพัฒนาการทางเพศล่าช้า ผื่นผิวหนัง ท้องร่วงเรื้อรัง แผลหายช้า และพบปัญหาทางพฤติกรรม การเสริมซิงค์ไม่ได้แค่ป้องกันโรคใดโรคหนึ่ง แต่ประโยชน์ของซิงค์นั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะในช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ลดความรุนแรง ระยะเวลาการเป็นหวัด ลดการอักเสบที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของอาการท้องเสียในเด็กได้ การทานซิงค์ในปริมาณที่เพียงพอ อาจช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี
ช่องคลอดแห้ง คัน ระคายเคือง ใช้อะไรรักษาดี ?
ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) หรือภาวะช่องคลอดและปากช่องคลอดแห้ง (Vulvovaginal atrophy-VVA) เกิดขึ้นเมื่อเมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดน้อยลง ส่งผลให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น จนอาจทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ สาเหตุหลักมาจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) บริเวณเนื้อเยื่อช่องคลอดลดลงเนื่องจากเข้าสู่ภาวะวัยทอง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกวัยที่อยู่ในภาวะขาดเอสโตรเจน วัยทอง คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วันหมดประจำเดือน โดยทั่วไปจะวินิจฉัยเมื่อประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 12 เดือน ทั่วไปอายุเฉลี่ยของการหมดประจำเดือนอยู่ที่ 52 ปี วัยทองเป็นช่วงเวลาที่การทำงานของรังไข่ลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดต่ำลง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (labia) และช่องคลอด (vagina) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ท่อปัสสาวะ (urethra) และกระเพาะปัสสาวะ (bladder) อาการของภาวะช่องคลอดแห้ง ผู้มีภาวะช่องคลอดแห้งอาจเกิดอาการตลอดเวลา หรือบางรายอาจมีอาการเป็นระยะหรือเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น โดยอาการที่พบคือ ระคายเคืองคันรวมถึงแสบร้อนบริเวณช่องคลอด แสบขัดขณะปัสสาวะอาจมีปัสสาวะบ่อยปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ความต้องการทางเพศลดลงหรือถึงจุดสุดยอดได้ยากขึ้น ในผู้หญิงบางราย ช่องคลอดอักเสบมีปัญหาตกขาวบ่อยมีกลิ่นเหม็นเป็นๆหายๆเนื่องจากพอเข้าวัยทองจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงทำให้ผนังบาง ความยืดหยุ่นลดลง ภาวะความเป็นกรดลดลง กลายเป็นสภาวะด่างมากขึ้น ร่วมกับเซลล์ที่ผนังช่องคลอดลอก ทำให้ช่องคลอดมีความเป็นด่างมากขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่แบคทีเรียชนิดดี lactobacilli ที่คอยปกป้องช่องคลอดนั้นอยู่ไม่ได้ ทำให้มีการเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคต่างๆ ทำให้ช่องคลอดติดเชื้อได้ง่ายและบ่อยมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นหากช่องคลอดแห้ง แม้ช่องคลอดแห้งมักไม่ค่อยพบอาการแทรกซ้อนร้ายแรง แต่เนื่องจากขาดเมือกหล่อลื่น ทำให้ผนังช่องคลอดระคายเคืองและเกิดแผลบ่อย จึงทำให้มีความเสี่ยงติดแบคทีเรียหรือเชื้อราในบริเวณช่องคลอดง่ายขึ้น รวมถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอีกด้วย นอกจากนี้ภาวะช่องคลอดแห้งทำให้รู้สึกเจ็บแสบเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จนอาจกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง และต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ สาเหตุของภาวะช่องคลอดแห้ง ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลงตามวัย ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจากผลข้างเคียงของยา เช่น ยารักษาโรคความดันเลือดสูง ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคภูมิแพ้ รวมถึงเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง การฉีดยาเพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอกมดลูกก่อนการผ่าตัด อาจส่งผลให้ช่องคลอดแห้งได้ ภาวะช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ความต้องการทางเพศต่ำหรือมีปัญหาทางเพศอื่นๆ อาจส่งผลให้ทำเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง ในทางกลับกัน ภาวะช่องคลอดแห้งก็อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลงได้เช่นกัน อาการระคายเคืองช่องคลอดเนื่องจากแพ้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น รวมถึงแพ้ผ้าอนามัย และกางเกงใน การสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ ทำให้ช่องคลอดเสียความเป็นกรดและแห้ง เกิดผื่นผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหรือลดปัญหาช่องคลอดแห้ง รับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยเฉพาะถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ใช้เจลหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ เลี่ยงการใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดช่องคลอด ควรล้างช่องคลอดให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดา ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ไม่สวนล้างช่องคลอด ดูแลความสะอาดของกางเกงใน หากใช้แผ่นอนามัยควรเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่ปล่อยให้หมักหมมหรืออับชื้น หากพบผื่นหรือสิ่งผิดปกติบริเวณช่องคลอดควรปรึกษาแพทย์ อย่าอายหรือปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรัง การเพิ่มกิจกรรมทางเพศด้วยความรักและภาษากาย กระตุ้นให้มีน้ำหล่อลื่นออกมาให้ช่องคลอดชุ่มชื้นขึ้น ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดปัญหาได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารโนน็อกซินอล 9 (Nonoxynol-9) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะช่องคลอดแห้ง ใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน เหมาะสำหรับผู้มีภาวะวัยทอง ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทาในช่องคลอด ซึ่งพบว่าได้ผลดีทั้งชนิดเม็ด ครีม รวมถึงยาสำหรับสอดช่องคลอด ทั้งนี้การใช้ยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากการใช้ยาจะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือดเพิ่มด้วย ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) ช่วยปกป้องและเคลือบผนังช่องคลอดให้ชุ่มชื้น ซึ่งมีทั้งแบบเป็นน้ำ เจล หรือเม็ดสอดช่องคลอด เนื่องจากไม่มีฮอร์โมนจึงไม่มีผลต่อร่างกาย จึงสามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน และบางผลิตภัณฑ์จะมีอาหารเลี้ยงเชื้อของแบคทีเรียชนิดดี lactobacilli ทำให้ตกขาวลดลงและลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ใช้เจลหล่อลื่น (Lubricant) สำหรับผู้มีปัญหาเฉพาะกรณีเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยทาบริเวณช่องคลอด หรืออวัยวะเพศชาย โดยใช้ชั่วคราวก่อนมีเพศสัมพันธ์ การให้วิตามินกับอาหารเสริม ยังไม่มีการศึกษาพิสูจน์ชัดเจนถึงการใช้ วิตามิน E และวิตามิน D ว่าได้ผลในการรักษาภาวะช่องคลอดแห้ง การใช้เลเซอร์ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ในการใช้เลเซอร์ในการรักษาแบบฟื้นฟู โดยเครื่องจะปล่อยแสงเลเซอร์ออกมาแบบ 360 องศา ไปกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสท์ ช่วยทำให้ผลิตและจัดเรียงเส้นใยคอลลาเจนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เซลล์ช่องคลอดผลิตสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้นตามมา ซึ่งสามารถทำเลเซอร์ได้โดยไม่เจ็บ ไม่ต้องดมยาสลบ และใช้เวลาไม่นาน หลังทำสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทอง นอกจากปัญหาทางใจทางอารมณ์ที่ส่งผลให้ผู้หญิงหลายคนหงุดหงิดหรือเก็บกด ซึมเศร้าแล้ว วัยทองยังมีผลกับร่างกายหลายอย่าง ภาวะช่องคลอดแห้งและปากช่องคลอดแห้ง อาจดูเหมือนผิวแห้ง แต่ก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่กวนใจคนวัยทองอย่างมาก และยังส่งผลต่อหลายระบบ เนื่องจากผนังช่องคลอดรองรับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะด้วย จึงทำให้มีอาการทั้งแห้ง ระคายเคือง แสบร้อน ปัสสาวะขัด และรวมถึงกิจกรรมกับสามี การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงด้วยความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะเกี่ยวกับวัยทอง โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรค ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือกมากมายสำหรับผู้ป่วย ทั้งแบบใช้ยาหรือไม่ใช่ยาในการการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละคน หรือหากผู้ป่วยมีการตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงตรวจภายในจะช่วยลดผลกระทบทั้งของตัวเองและชีวิตคู่ได้เป็นอย่างดี สำหรับอาการภาวะช่องคลอดแห้งนั่นเอง ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ช่องคลอดแห้งhttps://www.phyathai.com/article_detail/2457/th/ยังไม่ใช่วัยทอง_แต่ทำไมน้องสาวแห้ง
เคล็ด(ไม่)ลับ แก้ไอ แก้เจ็บคอด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ
อาการ เจ็บคอ คือการรู้สึกระคายเคืองในลำคอ เพราะมี “การอักเสบของเนื้อเยื่อลำคอ” เช่น ผนังช่องคอ ต่อมทอนซิล หรือ กล่องเสียง โดยอาการจะเป็นมากขึ้น เวลากลืน ส่วนใหญ่การอักเสบนี้ มักเกิดจาก… การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ บ่อยครั้งอาจเกิดจากการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาการเจ็บคอเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และพบได้บ่อยใน เด็ก วัยรุ่น และคนวัยหนุ่มสาว ส่วนในเพศชายและเพศหญิงมีอัตราการเกิดใกล้เคียงกัน และสามารถเกิดอาการเจ็บคอได้ตลอดทั้งปี สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการเจ็บคอที่หลายคนมักเข้าใจผิด คือ อาการดังกล่าวไม่จำเป็นเกิดขึ้นจากการเป็นหวัดเสมอไป เพราะอาการเจ็บจอสามารถเกิดได้ทั้งการติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อได้เช่นกัน ซึ่งมีการแบ่งสาเหตุของการอาการเจ็บคอแบ่งเป็นสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ คือ 1.สาเหตุของอาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ อาการเจ็บคอสามารถเกิดได้จากการ”ติดเชื้อไวรัส” เช่น ไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคคออักเสบ โรคกล่องเสียงอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบเป็นต้น และจะมีอาการแดงที่ช่องคอเล็กน้อย ทำให้เกิดอาการอักเสบและเจ็บคอ นอกจากนี้มีไข้ มีน้ำมูกใส คัดจมูกบ้าง ทั้งนี้อาการเจ็บคอที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสจะสามารถหายเองได้ภายใน 3-7 วัน ไม่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ โดยโรคคออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอที่พบได้บ่อยที่สุด อาการเจ็บคอที่เกิดจากการ”ติดเชื้อแบคทีเรีย” เช่น โรคต่อมทอนซิลอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ โรคคอตีบส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บคอ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล บริเวณผนังลำคอด้านหลัง ลิ้นไก่ จะมีอาการอักเสบบวมแดงจนทำให้รู้สึกเจ็บคอมากกว่า 2.สาเหตุของอาการเจ็บคอที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เกิดจากการพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไปกระตุ้น ให้เกิดอาการเจ็บคอขึ้น หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การใช้เสียงที่ติดต่อกันนานๆ หรือการตะโกน จนทำให้เกิดการอักเสบและนำไปสู่การเจ็บคอ นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคกรดไหลย้อน ทำให้เยื่อบุช่องคอเกิดการอักเสบ มีอาการเจ็บคอเป็นๆ หายๆ ได้ อาการไอคืออะไร? “อาการไอ” เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค อาการไอ..เริ่มจากการที่มีสิ่งกระตุ้นการไอหรือมีสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้ระคายเคืองในบริเวณระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โพรงจมูก กล่องเสียง หลอดลม หรือปอด ขณะที่ในอากาศมีสารก่อความระคายเคืองที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจปะปนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควัน มลภาวะในอากาศ ขนสัตว์ การสูบบุหรี่ ละอองเกสร ร่างกายจึงมีวิธีกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไปเพื่อลดอันตรายของทางเดินหายใจลง โดยปกติระบบทางเดินหายใจจะมีเยื่อเมือกที่ผลิตของเหลวขึ้นมาช่วยเพิ่มความชุ่มให้กับทางเดินหายใจ แต่เมื่อเกิดการติดเชื้อร่างกายจะสร้างของเหลวมากขึ้นจนกลายเป็นเสมหะ เพื่อช่วยดักจับเชื้อโรคหรือสิ่งระคายเคืองออกไป โดยการไอจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเสมหะในทางเดินหายใจและปอดออกมานั่นเอง จึงทำให้บางคนมีอาการไอมีเสมหะร่วมด้วย อาการไอแบ่งออกได้ 2 แบบ 1.ไอแห้ง จะมีอาการคัน ระคายเคืองภายในลำคอ และไม่มีสารคัดหลั่งอื่นๆหรือเสมหะออกมาก 2.ไอมีเสมหะ จะมีของเหลงหรือเมือกเหนียวออกมา โดยของเหลวนี้จะเรียกว่า เสมหะ ซึ่งร่างกายสร้างขึ้นเพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่ติดค้างภายในลำคอ แต่ไม่ว่าจะเป็นการไอในลักษณะใด เมื่อเริ่มมีอาการไอ มักจะมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย เป็นอาการเจ็บหรือรู้สึกระคายเคืองในลำคอ เพราะมีการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณลำคอ เช่น ต่อมทอนซิล เพดานอ่อน กล่องเสียง หรือโคนลิ้น เป็นต้น ส่งผลทำให้ยากต่อการกลืนน้ำหรืออาหารเพราะจะทำให้รู้สึกเจ็บ โดยทั่วไปอาการไอและเจ็บคอสามารถหายได้เองไม่เกิน 3 สัปดาห์ ถ้าหากอาการไอรบกวนการใช้ชีวิต มีวิธีที่จะช่วยรักษาและบรรเทาอาการไอ และอาการเจ็บคอได้ ดังนี้ 1.ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ : อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุลำคอที่กำลังอักเสบ และยังช่วยลดอาการเจ็บคอและระคายคอ นอกจากนี้ความร้อนจากน้ำอุ่นยังช่วยละลายเสมหะได้ด้วย การจิบน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและมะนาวทำให้รู้สึกชุ่มคอและบรรเทาอาการระคายคอ 2.เพิ่มความชื้นในอากาศ : การนอนห้องแอร์หรืออยู่ในห้องแอร์ทั้งวัน ยิ่งทำให้มีอาการไอกำเริบมากขึ้น เนื่องจากภายในห้องมีความชื้นต่ำ อากาศแห้งสูง จึงกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดลมจึงเกิดอาการไอมากขึ้น ดังนั้นควรรักษาระดับความชื้นภายในห้องอย่างเหมาะสม เลือกใช้เครื่องทำความชื้น ก็จะสามารถช่วยให้ระบบทางเดินหายใจชุ่มชื้นขึ้นได้ 3.หลีกเลี่ยงไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองเยอะ : หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัด มีฝุ่นละอองหรือมลพิษต่างๆ เพราะในสถานที่เหล่านี้มีสารที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองทางจมูกและลำคอ เมื่อสูดดมฝุ่น ควันเข้าไปจึงทำให้เกิดการระคายเคืองขึ้นไป ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้ จะสามารถช่วยลด และป้องกันไม่ให้หายใจเอาฝุ่น ควัน เข้าไปในร่างกาย 4.งดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ : การสูบบุหรี่นอกจากจะทำให้เกิดการระคายคอ เจ็บคอ ยังก่อโรคอื่นๆ อีกมากมาย และไม่ควรอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ 5.ยาบรรเทาอาการไอ ระคายคอ เจ็บคอ : การรักษาอาการไอ ระคายคอ เจ็บคอนั้น มีทั้งยาแก้ไอที่ได้จากสารเคมี ที่มีตัวยาเพื่อประสิทธิภาพการรักษาอาการไอ เช่น ออกฤกธิ์กดอาการไอ แต่มีข้อเสียซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงในการใช้ยาได้อย่างอาการง่วงนอนได้ และยาแก้ไอที่ได้จากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการไอ ระคายคอได้ดีไม่แพ้กัน วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ มีหลากหลายชนิด เช่น กระชายขาว, มะขามป้อม, ชะเอมเทศ เป็นต้น โดยมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสในลำคอ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอทำให้รู้สึกชุ่มคอเพิ่มขึ้นด้วย ชะเอมเทศมีฤทธิ์ต้านการระคายเคือง ขับเสมหะ และช่วยลดความถี่ในการไอได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากชะเอมเทศนั้นสามารถช่วยลดอาการอักเสบของเยื่อเมือกบริเวณหลอดลม ลดการระคายเคือง และมีฤทธิ์ระงับอาการไอทั้งแบบเฉพาะที่และแบบที่ไปกดที่ศูนย์ควบคุมการไอ และมีการศึกษาพบว่าชะเอมเทศยังสามารถช่วยลดอาการเจ็บคอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ แก้อาการคอแห้งและช่วยขับเสมหะได้อีกด้วย กระชายขาวสารสำคัญในกระชายขาวมีชื่อว่า Panduratin A (แพนดูลาตินเอ) สามารถที่จะช่วยยับยั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ รวมถึงยังสามารถช่วยลดอาการเหงือกอักเสบ หรือมีเเผลในช่องปากได้ มะขามป้อมมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการไอ ระงับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อช่วยบรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ ช่วยทำให้ชุ่มคอ และสามรถช่วยต้านการอักเสบได้อีกด้วย แม้จะมีรู้วิธีรักษาอาการไอ และเจ็บคอ รวมไปถึงสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาในเบื้องต้นแล้ว ก็อย่าลืมว่าหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี คือ การใส่ใจสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ควบคู่กับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD/https://medthai.com/%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%87%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%ad/– ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ยาและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เล่ม 2. 2536– สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. บัญชียาจากสมุนไพร ใน บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2555. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
ไม่ดื่มเหล้า ก็ตับแข็งได้ รู้ยัง ?
ถ้าพูดถึง ตับแข็ง หลายคนคงจะเข้าใจว่าเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป แต่จริงๆแล้วมีอีกหลายสาเหตุมากที่สามารถทำให้เกิดตับแข็งได้ ไม่ว่าจะเป็นไขมันสะสมในตับ หรือระบบภูมิคุ้มกันไม่ปกติ โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ได้รับความเสียหายมากเกินไป ก็จะกลายเป็นเหมือนแผลเป็นที่เป็นพังผืดถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตับ เป็นอวัยวะในร่างกายทำหน้าที่กรองและกำจัดสารพิษ เชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้นยังสร้างน้ำดี และมีส่วนสำคัญให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ แต่ถ้ามีสาเหตุที่ทำลายตับ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ดีของตับถูกทำลายเกิดแผลเป็น เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นซ้ำๆ จะมีพังผืดขึ้นมาแทนที่เนื้อตับจึงสูญเสียความยืดหยุ่นและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ภาวะตับแข็ง ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โรคตับแข็ง หรือ Liver cirrhosis เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของตับ โดยเนื้อตับจะถูกทำลาย และไปดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับสูญเสียการทำงานลงไป เพราะเลือดจะมีเลี้ยงเนื้อตับน้อยลง นอกจากนี้ ภาวะตับแข็งยังอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้ความดันในเส้นเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกง่าย ม้ามโต ขาบวม มีน้ำในช่องท้อง มีการเปลี่ยนแปลงตามผิวหนังคือมีจุดเล็กๆ แดงๆ เกิดขึ้น มีเส้นเลือดผิดปกติเกิดขึ้นในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งถ้าเส้นเลือดเหล่านี้แตกก็อาจทำให้ถ่ายอุจจาระปนเลือดได้ หากปล่อยไว้นานก็จะกลายเป็นตับแข็งระยะสุดท้าย และพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้เช่นกัน สาเหตุที่เกิดตับแข็ง นอกจากการดื่มเหล้า 1.การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือไวรัสตับอักเสบซี จนทำให้ตับอักเสบเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะกลายเป็น โรคตับแข็ง ในที่สุด โดยไวรัสตับอักเสบบีและซีนั้น เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันทางเลือดและเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเป็นพาหะนั้นมักจะเกิดโดยไม่รู้ตัว2.เกิดจากโรคที่ภูมิคุ้มกันมีการทำลายเนื้อตับ3.เกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคอ้วน, ไขมันในเลือดสูง4.การรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน ยารักษาวัณโรคบางชนิด5.โรคทางพันธุกรรมบางโรคทำให้เกิด ตับแข็ง เช่น ทาลัสซีเมีย,hemochromatosis, Wilson’s disease, galactosemia6.ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ทำให้เส้นเลือดคั่งที่ตับ เลือดไหลเวียนในตับน้อยลง เนื้อตับขาดภาวะออกซิเจนจนตายลง7.พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในเลือดอาจทำให้เกิดตับแข็ง ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะปรากฏอาการเริ่มแรกในช่วงอายุระหว่าง 40 – 60 ปี แต่ถ้าพบในคนอายุน้อย มักมีสาเหตุจากตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอาการค่อนข้างรุนแรง 6 เคล็บลับ ช่วยถนอมตับให้แข็งแรง 1.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคตับ เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน ตับอักเสบเรื้อรังและโรคตับแข็ง เพราะแอลกอฮอล์จะเข้าไปทำร้ายเซลล์ของตับ กระตุ้นให้มีไขมันสะสมในตับ จนเกิดการอักเสบ และเกิดพังผืดส่งผลให้เกิดตับแข็ง การทำงานของตับลดลง ตับวาย และนำไปสู่มะเร็งตับ2.งดการสูบบุหรี่บุหรี่ไม่ได้ทำลายเพียงแค่ปอด แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อตับอีกด้วย ในผู้ที่สูบบุหรี่ประจำทุกวัน ตับต้องทำงานหนักเพื่อกรองสารพิษอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตับอ่อนแอและเกิดปัญหาตามมาได้ง่าย3.ไม่รับประทานยาเกินความจำเป็นเนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการกำจัดยาออกจากร่างกาย ซึ่งหากร่างกายได้รับยาบางชนิดในปริมาณสูง หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ตับก็จะไม่สามารถทำลายได้ทัน เหลือเป็นส่วนเกินและมีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับจนกลายเป็นภาวะตับวายได้4.ควบคุมน้ำหนักตัวการมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานนั้นไม่ได้ส่งผลต่อรูปร่างเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลเสียต่อตับด้วย เพราะถ้ามีไขมันในร่างกายมากเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไขมันพอกตับได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน แป้ง และน้ำตาล ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไป5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอการนอนหลับให้เพียงพอและเป็นเวลา จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้เลือดไปซ่อมแซมและบำรุงตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีผลการศึกษา พบว่าผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อภาวะไขมันเกาะตับ (Non Alcoholic Fatty Live Disease; NAFLD) ถึง 1.2 เท่า6.เสริมด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงตับสารอาหารบำรุงตับ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญในการปกป้องตับให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ ช่วยขับสารพิษและบำรุงตับ สารอาหารที่เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการดูแลตับ อย่างเช่น– แอล-กลูตาไธโอน (L-glutathione) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญยังช่วยตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกายด้วย– โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate) ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ตกค้างภายในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของตับ ถ้าขาดโคลีน จะทำให้ตับไม่สามารถกำจัดไขมันออกได้ ผลคือจะเกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งสามารถจะนำไปสู่ภาวะเซลล์ของตับเสื่อม ตับแข็ง และมะเร็งตับได้– แดนดิไลออน (Dandelion) ช่วยชะล้างสารพิษให้ตับและไตสามารถขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้น เป็นแหล่งวิตามินธรรมชาติ ช่วยบำรุงสายตาและมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง รักษาอาการดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเข้ม บำรุงตับ ทำให้ตับทำงานได้อย่างปกติ– พริกไทยดำ (Black Pepper) ช่วยกำจัดเซลล์ไขมันที่อยู่ในร่างกาย โดยทำให้เซลล์ไขมันเก่า ที่สะสมอยู่ในร่างกายตาย พร้อมกับ ควบคุมการเกิดขึ้นใหม่ของเซลล์ไขมัน และยังช่วยให้ตับสามารถทำลายสารพิษได้มากขึ้น นอกจากการทานอาหารหรือผักผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อตับแล้ว การมีตัวช่วยล้างสารพิษที่สะสมอยู่ในตับเพื่อฟื้นฟูเซลล์ตับและเสริมประสิทธิภาพของตับในการกำจัดสารพิษก็เป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะ “ตับ” เป็นอวัยวะที่มีเพียงชิ้นเดียวในร่างกาย และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ดูแล บำรุง และป้องกันให้ดีก่อนตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.sikarin.com/health/liver-cirrhosishttps://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2015/cirrhosis-treatment-best-jci-hospital-bangkok-thailand