สมาธิสั้น Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder (ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ลักษณะอาการที่สังเกตุง่าย อาทิ ขาดสมาธิ วู่วาม หุนหันพลันแล่น มีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงานและการเข้าสังคม เด็กบางคนมีอาการซนและหุนหันพลันแล่นเป็นอาการเด่น แต่บางคนมีอาการขาดสมาธิเป็นอาการเด่น
โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder-ADHD)
โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่ประกอบด้วยการขาดสมาธิ ควบคุมตนเองต่ำ และซุกซน อยู่ไม่นิ่ง อาการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนอายุ 7 ขวบ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการปรับตัวเข้าสังคม อาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางรายมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง และ ควบคุมตนเองต่ำเป็นอาการหลัก บางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก
สำหรับเด็กๆ ที่มีอาการของโรคซนสมาธิสั้น จะมีความผิดปกติของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับอายุและระดับพัฒนาการ โดยมักมีอาการแสดงก่อนช่วงอายุ 7 ปี และมีอาการแสดงอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยแบ่งอาการออกเป็นดังนี้
สาเหตุของโรคสมาธิสั้น
เกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมอง โดยมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ปัจจัยจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลง มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่ว ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น 30-40% ของเด็ก สมาธิสั้น จะพบความบกพร่องในทักษะการเรียน (learning Disorders) ร่วมด้วย
ประมาณ 20-30% ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายเมื่อเข้าวัยรุ่น เรียนหนังสือหรือทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้นจะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ ดูเหมือนจะซนน้อยลง ซึ่งจะเป็นผลต่อการศึกษาต่อการงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น สมควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก
- การให้ความรู้ในการดำเนินโรคและข้อจำกัดของเด็กแก่พ่อแม่และคุณครู
- การรักษาทางยา
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
- การช่วยเหลือทางด้านการเรียน
ข้อแนะนำสำหรับครูในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น
- จัดให้เด็กนั่งหน้าหรือใกล้ครูให้มากที่สุดในขณะสอน
- จัดให้เด็กนั่งให้ไกลจากประตู หน้าต่าง
- เขียนการบ้านหรืองานที่เด็กต้องทำในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดำ
- ตรวจสมุดจดงานของเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบ
- อย่าสั่งงานให้เด็กทำ พร้อมกันทีเดียวหลายอย่าง ให้เด็กทำงานเสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คำสั่งต่อไป
- คิดรูปแบบวิธีเตือนหรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ให้เด็กเสียหน้า
- เพิ่มงานที่ใช้แรงสำหรับกลุ่มที่อยู่ไม่นิ่ง เช่น เพิ่มเวลาเล่นกีฬา มอบหมายหน้าที่ให้ลบกระดาน ช่วยครูแจกงาน ให้ทำกิจกรรมที่ใช้แรง ให้เป็นนักกีฬาวิ่งเร็ว เป็นต้น
- ชมหรือรางวัลเมื่อเด็กทำตัวดีหรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทันที
- หลีกเลี่ยงการตำหนิ ว่ากล่าวรุนแรง หรือทำให้อาย ขายหน้า หรือการลงโทษทางร่างการ(ตี)เมื่อเด็กทำผิด
- เมื่อเด็กทำผิดพลาด ควรใช้วิธีการตัดคะแนน งดเวลาพัก ทำเวร หรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน(เพื่อทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ)
- ให้เวลากับเด็กนานขึ้นกว่าเด็กปกติระหว่างการสอบ
1. น้ำมันปลา
ในน้ำมันปลามีโอเมก้า 3 สูง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง และยังช่วยลดอาการอักเสบ จากการศึกษาพบว่า การทานน้ำมันปลาวันละ 1,000 มิลลิกรัม ช่วยให้อาการสมาธิสั้นดีขึ้นได้
มีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า น้ำมันปลาจะช่วยทำให้อาการสมาธิสั้นในเด็ก (ADHD) ของเด็กๆ วัย 8-12 ปี ดีขึ้นได้ เพราะในน้ำมันปลามีโอเมก้า 3 นอกจากนี้ยังมีการทดลองให้เด็กๆ กินน้ำมันปลา และน้ำมันพริมโรส การทดลองพบว่า สามารถทำให้อาการสมาธิสั้นในเด็กอย่างเช่นอาการขาดความสนใจและความสามารถในการคิดอย่างรอบครอบของเด็กที่เป็นสมาธิสั้นวัย 7-12 ปีมีอาการดีขึ้นได้ นอกจากนี้น้ำมันปลายังช่วยเรื่องพฤติกรรม และช่วยเรื่องสมาธิในเด็กวัยต่ำกว่า 12 ปีอีกด้วย นอกจากเรื่องของสมาธิแล้ว ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า น้ำมันปลาก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็กๆ โดยการทดลองในประเทศออสเตรเลีย แบ่งเด็กๆ วัย 1 เดือนถึง 6 เดือนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้กินน้ำมันปลา ส่วนอีกกลุ่มได้กินยาหลอก (placebo) ที่ไม่ส่งผลใดๆ ต่อร่างกาย เมื่อเด็กทั้งสองกลุ่มอายุ 5 ขวบ ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้กินน้ำมันปลามีเอวเล็กกว่าเด็กที่ได้กินยาหลอก ซึ่งสมาคม American Heart Association กล่าวว่า การมีรอบเอวหนา หรือการมีไขมันสะสมที่เอวเยอะ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
2. วิตามิน B complex
โดยเฉพาะในเด็กซึ่งต้องการวิตามิน บี มาก เพื่อช่วยในการสร้างเซราโทนิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 6
3. แร่ธาตุรวม
แร่ธาตุรวมบางชนิดช่วยให้ประสาทผ่อนคลายลง เช่น การทานแคลเซียมวันละ 500 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 250 มิลลิกรัม และซิงค์ 5 มิลลิกรัมต่อวัน
4. โพรไบโอติก
โรคสมาธิสั้นอาจเกิดจากระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ การทานโพรไบโอติกจึงอาจช่วยได้ แนะนำให้ทานวันละ 25–50 ล้านตัวต่อวัน
5. กาบ้า
สารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยผ่อนคลายระบบประสาท แนะนำให้ทานวันละ 250 มิลลิกรัม ก่อนทานควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะกาบ้าอาจขัดขวางการทำงานของยาบางชนิดได้
การรับประทานอาหารมีประโยชน์ เน้นรับประทานให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน นอกจากนี้อาจเสริมวิตามินบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะสมอง คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้ลูกได้ด้วย “D’LEVER FISH OIL MINI” ที่มี DHA เข้มข้นมากถึง 240 mg ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกมีสมองที่ปลอดโปร่ง อารมณ์ดี และทำให้เขามีสมาธิมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างให้ลูกๆจากเด็กซนเป็นเด็กเก่งเเละฉลาด