Macrophar

D’LeVer สุขภาพดี มีได้ทั้งครอบครัว

สุขภาพดี ดีลีเวอร์

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร D’LeVer สำหรับทุกๆคนในครอบครัว เพราะคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากทั่วทุกมุมโลก ผลิตภายใต้โรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในการดูแลสุขภาพของคุณและคนที่คุณรักให้แข็งแรง มารู้จักน้ำมันปลากันเถอะ !! น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่ได้มาจากการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา โดยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น เพราะมี กรดไขมัน Omega-3 ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด ซึ่งกรดไขมัน Omega – 3 มีสารสำคัญคือ Docosahexaenoic acid (DHA) และ Eicosapentaenoic acid (EPA) ประโยชน์ของ DHA และ EPA คืออะไร ? D’LeVer Fish Oil 1000 – ดีลีเวอร์ ฟิช ออยล์ 1000 มก. (ขนาด 30 เม็ด) ผลิตภัณฑ์นี้ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 […]

รู้ทันเรื่องข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคของผู้ที่มีอายุมากขึ้นหรือคนที่มีอาการปวดเข่าบ่อยๆ ซึ่งบุคคลที่มีอาการเหล่านี้ เบื้องต้นมักจะรักษาอาการด้วยการทานยาหรือทานอาหารเสริมเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ซึ่งชื่อยาหรืออาหารเสริมที่ใช้รักษาอาการข้อเข่าเสื่อม หรืออาการปวดเข่าที่เรามักพบเห็นบ่อยๆ คือ กลูโคซามีน (Glucosamine)  คอนดรอยติน (Chondroitin) และคอลลาเจน (Collagen) วันนี้ เราจะมาอธิบายว่ายาหรืออาหารเสริมทั้ง 3 ชนิดคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร กลูโคซามีน  (Glucosamine) เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง โปรตีโอไกลแคน ไกลโคโปรตีน ไกลโคสามิโนไกลแคน กรดโฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดในร่างกายของคนเรารวมทั้งกระดูกอ่อนผิวข้อ โดยโปรตีโอไกลแคน ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อมีความยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ดี เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกอ่อนผิวข้อเริ่มสึกกร่อน น้ำไขข้อลดลง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จึงมีการนำกลูโคซามีนสังเคราะห์ มาใช้รักษาหรือชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับกลูโคซามีนซัลเฟต วันละ 1,500 มิลลิกรัม เป็นเวลา 3 ปี ช่วยลดอาการปวด และช่วยลดการแคบลงของข้อได้  คอนดรอยติน (Chondroitin) เป็นสารในการสร้างองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อและกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้กระดูกมีคุณสมบัติทนต่อแรงกดได้ เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายผลิตคอนดรอยตินลดลง ประสิทธิภาพในการทนต่อแรงกดก็ลดลงตามไปด้วย อันนำไปสู่การเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง คอลลาเจน (Collagen) เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อต่าง […]

ทำแผลอย่างถูกวิธีให้ลูกน้อยวัยซน เพื่อช่วยสมานผิวได้อย่างปลอดภัย

เมื่อลูกน้อยวัยซน เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นซุกซนตามวัย ยิ่งสนุกกับการเรียนรู้มากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง เช่น การหกล้มเกิดแผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก ไฟลวก คนเป็นพ่อแม่จึงต้องหาวิธีดูแลเมื่อเกิดบาดแผลขึ้น มาดูกันดีกว่าลักษณะของแผลที่มักเกิดขึ้นกับเด็กมีอะไรบ้าง และควรทำแผลอย่างไรถึงจะดีต่อผิวอ่อนโยนของลูกน้อยวัยซน แผลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ? แผลแบ่งออกเป็น 2 ​ประเภทใหญ่ๆ คือ แผลปิดและแผลเปิด 1.แผลปิด ​​ จะเป็นแผลที่เนื้อเยื่อของเราไม่ได้สัมผัสกับสิ่งเร้าภายนอกจะหายได้ไว 2.แผลเปิด จะเป็นแผลที่เนื้อเยื่อมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งสกปรก เชื้อโรค อาจเสี่ยงติดเชื้อได้ ลักษณะของแผลที่มักเกิดขึ้นกับเด็กมีอะไรบ้าง ? แผลถลอก: พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด แม้แผลถลอกจะไม่ทำให้เกิดรอยแผลเป็น แต่มักมีการเปรอะเปื้อน จึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น แผลถูกของมีคมบาด: มักทำให้เกิดความเสียหายแก่เส้นเลือด หากเป็นแผลขนาดเล็ก สามารถรักษาได้เอง แต่ถ้าแผลลึกควรรีบพบแพทย์ แผลพุพอง: เกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีมากเกินไป จนเกิดเป็นตุ่มน้ำและแตกออกจากเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ การปฐมพยาบาล ดูแลลูกวัยซนอย่างเหมาะสม ถูกวิธี ด้วยคำแนะนำต่อไปนี้ 1.ห้ามเลือดโดยการใช้สำลีหรือผ้าสะอาดกดที่บริเวณแผลเบา ๆ 2.ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดและกำจัดเศษสิ่งสกปรกออกให้หมด 3.ทายาฆ่าเชื้อกลุ่ม โพวิโดน ไอโอดีน ให้ทั่วบริเวณแผล เพื่อช่วยสมานผิวบริเวณรอบๆ บาดแผลและป้องกันการติดเชื้อโรค 4.ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าปิดแผล การเลือกครีมทาฆ่าเชื้อโรค ก็เป็นอีกสิ่งที่ควรเลือก เพื่อช่วยสมานผิวได้อย่างปลอดภัยลูกน้อยวัยซน Antiseptic […]

สารต้านอนุมูลอิสระกับสุขภาพในช่องปาก

อนุมูลอิสระ (Free Radical) หมายถึง อะตอมหรือโมเลกุลที่มีความไม่เสถียรและไวต่อการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งเป็นสารพลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการทำงานของร่างกาย เช่น การเผาผลาญอาหาร การหายใจของเซลล์ รวมถึงเกิดขึ้นจากกลไกการป้องกันตัวเองของร่างกายจากเชื้อจุลชีพ อนุมูลอิสระทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ร่างกาย ทั้งนี้ร่างกายเราจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สร้างได้เอง รวมกับวิตามินและแร่ธาตุที่ได้จากการทานอาหาร เพื่อช่วยควบคุมสมดุลของระบบการสร้างและทำลายเซลล์ร่างกาย  อนุมูลอิสระในช่องปากของเรา  ช่องปากเป็นจุดที่เราใช้ในการบริโภคอาหาร สำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นปริมาณอนุมูลอิสระในช่องปากและร่างกายของเรา รวมถึงผู้ที่ดูแลสุขอนามัยในช่องปากไม่ดีเพียงพอ จะมีการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งส่งผลเพิ่มอนุมูลอิสระเช่นเดียวกัน หากร่างกายมีสารดังกล่าวมากเกินไป หรือขาดสารต้านอนุมูลอิสระ จนมีการสะสมของอนุมูลอิสระ จะเกิดภาวะที่เรียกว่า Oxidative Stress จากข้อมูลวารสารทางการแพทย์พบว่าภาวะ Oxidative Stress มีความสัมพันธ์กับโรคในช่องปาก ทั้งโรคเหงือก ฟันผุ ฝ้าขาวที่ลิ้น และมะเร็งในช่องปาก เนื่องจากอนุมูลอิสระจะเร่งให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อ และการอักเสบในช่องปาก  ทั้งนี้เราสามารถลดการเกิดภาวะ Oxidative Stress เพื่อสุขภาพในช่องปากของเราได้ ด้วยการดูแลสุขอนามัยของช่องปากเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค และลดการบริโภคแอลกอฮอล์และบุหรี่ สำหรับการเสริมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง โดยเฉพาะการรับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช ที่มีวิตามิน A, C และ E […]

แผลร้อนใน คือความร้อนมาจากไหน

แผลร้อนใน หมายถึง แผลในเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม และลิ้น โดยทั่วไปสามารถหายได้เองใน 5 ถึง 10 วัน โดยในระหว่างที่มีอาการอาจจะรบกวนให้พูดคุย หรือรับประทานอาหารได้ไม่สะดวก สำหรับอาหารที่เรารับประทานก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในได้ ตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีน กล่าวว่าร่างกายของเรามีส่วนประกอบระหว่างสภาวะหยิน (เย็น) และสภาวะหยาง (ร้อน) ถ้าเราเลือกรับประทานอาหารที่เป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกิน⁠ไป ก็อาจจะทำให้เสียสมดุลจนเกิดแผลร้อนในในช่องปากได้ ในระหว่างที่มีแผลร้อนในหรือแผลในปาก จะมีคำแนะนำเพื่อลดการอักเสบของแผลหรือให้แผลหายเร็วขึ้น ดังนี้ หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นประเภทหยาง (ร้อน) ได้แก่ อาหารรสเผ็ดจัด ผลไม้รสหวานบางชนิด เช่น ลำไย ทุเรียน อาหาร⁠ทอด เป็นต้น ใช้ยาทาเฉพาะที่ในจุดที่มีแผล หรือรับประทานยาสมุนไพรรสเย็น เช่น ฟ้าทะลายโจร บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรือในปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสเปรย์สำหรับช่องปาก ซึ่งมีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาการอักเสบในช่องปาก ดังนั้นถ้ารู้ว่าเราเป็นคนที่เป็นแผลร้อนในบ่อย แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทผัก ซึ่งเป็นอาหารประเภทหยิน (เย็น) ที่จะช่วยดับร้อน รวมถึงเครื่องดื่มจะแนะนำเป็น เครื่องดื่มสมุนไพรแบบไม่ใส่น้ำตาล เช่น จับเลี้ยง เก๊กฮวย มะตูม ใบบัวบก เพื่อแก้กระหายน้ำ รวมไปถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลสุขภาพจิตใจ หากิจกรรมคลายเครียด จะได้ไม่เป็นร้อนในบ่อยๆ […]

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคท้องเสีย (Diarrhea)

อาการของระบบอาหารนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่กับเด็กนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่อันตรายได้ ระบบทางเดินอาหารนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงตามภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะจากอาหารหรือวิถีชีวิต การสัมผัสกับสิ่งที่ร่างกายไม่คุ้นเคย เช่น ไวรัสหรือแบคทีเรีย สามารถทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินอาหารได้หลายอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องบิด หรือที่พบได้มาก คือ อาการอุจจาระร่วง อะไรคืออาการอุจจาระร่วง? อุจจาระร่วง คือ อาการที่อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำที่เกิดขึ้นบ่อย ฉับพลัน โดยอย่างน้อย คือ สามครั้งต่อวัน มันมีอาการปวดท้อง ปวดบิด คลื่นไส้ มีลมในท้อง หรือท้องอืด อาการอุจจาระร่วงที่หายภายในไม่กี่วัน เรียกว่า อุจจาระร่วงเฉียบพลัน สำหรับในกรณีที่เป็นนานมากกว่านั้น คือ อุจจาระร่วงเรื้อรัง สามารถเป็นได้นานถึงสัปดาห์หรือเดือน ซึ่งเป็นอาการที่นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและควรที่จะต้องได้รับการดูแล อาการอุจจาระร่วงนั้นเป็นเรื่องที่พบบ่อย ผู้ใหญ่ประเทศสหรัฐอเมริกันเกือบทุกคนมักจะมีอุจจาระร่วงประมาณ 4 ครั้งต่อปี เด็กจะป่วยเป็นอุจจาระร่วงมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ครั้งจนถึงอายุ 5 ปี หลายอย่างสามารถกระตุ้นอุจจาระร่วงได้ ได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ ผลข้างเคียงจากยา โรคลำไส้บางชนิด เช่น Celiac disease, Crohn’s disease […]

ป้องกันการเกิดสิว

สิว (Acne) เป็นการอักเสบของผิวหนังที่มีการอุดตันของน้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วบริเวณรูขุมขน เกิดเป็นจุดเล็ก ๆ ที่อักเสบ บวมแดง หรือมีหนอง ส่วนมากจะเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก ไหล่ หรือหลัง การเกิดสิวพบมากในช่วงวัยรุ่นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยทั่วไปสิวมักจะหายไปหรือทุเลาลงเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาการของสิว ลักษณะและอาการที่ปรากฏขึ้นอยู่กับประเภทของสิวแต่ละชนิดและความรุนแรงของการอักเสบด้วย ซึ่งได้แก่ สิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวตุ่ม สิวหัวหนอง สิวก้อนลึก และสิวซีสต์ โดยอาการที่พบ เช่น ตุ่มอักเสบมีหนองสีขาว มีจุดหัวสิวสีดำ มีตุ่มแดงเล็ก ๆ มีตุ่มนูนเป็นผดแดง มีตุ่มเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัง และเกิดความเจ็บปวดบริเวณที่เป็นสิว สาเหตุของการเกิดสิว สิวเกิดจากการอุดตันที่รูขุมขนบริเวณผิวหนัง ปัจจัยหลักในการเกิดสิว คือ ร่างกายผลิตน้ำมันที่ชั้นผิวหนังมากเกินไป เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วไปอุดตันรูขุมขน และการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตในช่วงวัยรุ่นก็อาจทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน แม้ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนที่พิสูจน์ได้ว่าปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการเกิดสิว เช่น การกินอาหาร หรือการมีสุขลักษณะที่ไม่ดี แต่การดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย ย่อมเกิดประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวม การวินิจฉัยสิว ตรวจดูบริเวณผิวหนังที่เกิดสิว ว่าเป็นสิวชนิดใด มีความรุนแรงของการอักเสบในระดับใด วิเคราะห์จากลักษณะภายนอกที่พบ ระยะเวลาที่สิวอักเสบ และความเจ็บปวดที่เกิดจากการอักเสบของสิว โดยสามารถตรวจดูเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หรือไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยก่อนวางแผนการรักษาต่อไป การรักษาสิว สามารถรักษาได้ด้วยตนเองโดยใช้ยาหรือครีมตามร้านขายยาที่มีใบรับรอง โดยให้เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญช่วยแนะนำได้ […]

ฟ้าทะลายโจร ช่วยรักษาอาการป่วยใดได้บ้าง

ฟ้าทะลายโจรเป็นชื่อสมุนไพรที่เราคุ้นหูกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมาที่มีข่าวว่าอาจจะสามารถใช้รักษาหรือป้องกันโรค Covid-19 ได้ ทำให้คนส่วนใหญ่สนใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ยาฟ้าทะลายโจรมารับประทาน วันนี้เราจะมาทบทวนอีกครั้งว่าฟ้าทะลายโจรสามารถใช้รักษาอาการป่วยใดได้บ้าง และมีวิธีการใช้อย่างไร ข้อมูลสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees ถิ่นกำเนิด แถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ใบและลำต้นส่วนเหนือดิน สารสำคัญออกฤทธิ์ สารกลุ่ม Diterpenoid lactones เช่น andrographolide เป็นต้น สรรพคุณและขนาดรับประทาน (รูปแบบยาแคปซูลหรือยาเม็ดที่มีผงยาฟ้าทะลายโจร) ลดไข้ รับประทานครั้งละ 1 – 1.5 กรัม วันละ 3 – 4 ครั้ง บรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการไอเนื่องจากหวัด รับประทานครั้งละ 1 – 1.5 กรัม วันละ 4 ครั้ง บรรเทาอาการท้องเสียแบบถ่ายเป็นน้ำ รับประทานครั้งละ 0.5 – 2 กรัม วันละ 4 […]

ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับคืออะไร

ยาแก้ท้องเสียที่จัดอยู่ในกลุ่มสารดูดซับ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีตัวยาต่างกันดังนี้ Dioctahedral smectite Activated charcoal Kaolin โดยยากลุ่มสารดูดซับจะออกฤทธิ์ดูดซับเชื้อโรคและสารพิษที่อยู่ในทางเดินอาหาร เพื่อขับออกจากร่างกาย เนื่องจากอาการท้องเสียโดยส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบขับถ่ายในร่างกาย ประสิทธิภาพของตัวยา อย่างไรก็ตามตัวยาทั้ง 3 ตัวที่ได้กล่าวไปก็มีข้อแตกต่างในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพในผู้ป่วยของแต่ละตัวยาที่แตกต่างกัน ตัวยา Dioctahedral smectite เป็นตัวยาเดียวที่มีผลยืนยันประสิทธิภาพการใช้รักษาท้องเสียในเด็ก ตามคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาตัวยาดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทานภายใต้ชื่อการค้า Dehecta ใน 1 ซองบรรจุยาน้ำ 20 ml (มีตัวยา Dioctahedral smectite 3g) เพื่อความสะดวกในการพกพาและนำมาใช้เมื่อมีอาการท้องเสีย สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การใช้ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับ สำหรับคำแนะนำการใช้ยาแก้ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับ แนะนำให้ดื่มน้ำตามหลังรับประทานยาเพราะยาอาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก และที่สำคัญคือถ้าผู้ป่วยมียาที่ต้องรับประทานร่วมกัน หรือยารักษาโรคประจำตัว จะต้องรับประทานยาแก้⁠ท้องเสียกลุ่มสารดูดซับห่างจากยาอื่น 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ตัวยาไปดูดซับยาอื่น ทั้งนี้ก่อนการใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาขนาดและวิธีใช้ยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน เพื่อความมั่นใจและประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1) สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. (n.d.). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก พ.ศ.2562. 2) ภญ.สิริมา วรนาวิน. (ม.ป.ป.). การใช้ยาแก้ท้องเสียให้ถูกต้อง. เข้าถึงได้จาก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรง⁠พยาบาลรามาธิบดี: ลิงค์

เมื่อลูกท้องเสีย..จะให้กินอาหารอะไรได้บ้าง

เด็กเล็กเป็นวัยที่เกิดท้องเสียได้มากที่สุด เนื่องจากภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่เต็มที่ หรือมักจะหยิบอาหารรับประทาน หรือ⁠มี⁠พฤติกรรมการหยิบจับของเล่นแล้วเอาเข้าปาก และการคลานโดยที่ยังไม่รู้จักการป้องกันตัวเองจากสิ่งสกปรก เมื่อเด็กมีอาการท้องเสียสิ่งสำคัญคือการให้ทยอยจิบน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการ⁠ขับ⁠ถ่าย และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อแนะนำการใช้ยาตามอาการให้เหมาะสม สำหรับการรับประทานอาหารในเด็กที่ท้องเสียโดยแพทย์มีคำแนะนำ ดังนี้ เด็กเล็กที่รับประทานนมแม่ให้รับประทานตามปกติ ให้รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะกับช่วงวัย โดยให้เลือกอาหารที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม ไม่จำเป็นต้องงดนมผสม ให้รับประทานได้ตามปกติ แต่อาจจะแบ่งเป็นทีละน้อยและรับประทานบ่อยๆ สำหรับนมสูตรปราศจากแลคโตสจะเหมาะกับเด็กที่มีอาการท้องเสียรุนแรง หรือเด็กที่มีภาวะ lactose intolerance สำหรับยาแก้ท้องเสียที่สามารถรับประทานได้ในเด็ก ได้แก่ตัวยา Dioctahedral smectite โดยออกฤทธิ์ช่วยดูดซับเชื้อโรคทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น สามารถให้รับประทานในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปโดยมีผลการศึกษาประสิทธิภาพว่าช่วยให้หายท้องเสียได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta ซึ่งมีตัวยา Dioctahedral smectite อยู่⁠ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน รสวานิลลา-สตรอว์เบอร์รี่ แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1) วิทยาศัย, ผ. (n.d.). โรคท้องเสียในเด็ก. Retrieved from กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี: ลิงค์ 2) สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. (n.d.). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก พ.ศ.2562.