Macrophar

สารต้านอนุมูลอิสระกับสุขภาพในช่องปาก

Have Any Questions?

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit.

สารต้านอนุมูลอิสระกับสุขภาพในช่องปาก

อนุมูลอิสระ (Free Radical)

หมายถึง อะตอมหรือโมเลกุลที่มีความไม่เสถียรและไวต่อการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งเป็นสารพลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการทำงานของร่างกาย เช่น การเผาผลาญอาหาร การหายใจของเซลล์ รวมถึงเกิดขึ้นจากกลไกการป้องกันตัวเองของร่างกายจากเชื้อจุลชีพ อนุมูลอิสระทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ร่างกาย ทั้งนี้ร่างกายเราจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สร้างได้เอง รวมกับวิตามินและแร่ธาตุที่ได้จากการทานอาหาร เพื่อช่วยควบคุมสมดุลของระบบการสร้างและทำลายเซลล์ร่างกาย 

อนุมูลอิสระในช่องปากของเรา 

ช่องปากเป็นจุดที่เราใช้ในการบริโภคอาหาร สำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นปริมาณอนุมูลอิสระในช่องปากและร่างกายของเรา รวมถึงผู้ที่ดูแลสุขอนามัยในช่องปากไม่ดีเพียงพอ จะมีการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งส่งผลเพิ่มอนุมูลอิสระเช่นเดียวกัน หากร่างกายมีสารดังกล่าวมากเกินไป หรือขาดสารต้านอนุมูลอิสระ จนมีการสะสมของอนุมูลอิสระ จะเกิดภาวะที่เรียกว่า Oxidative Stress จากข้อมูลวารสารทางการแพทย์พบว่าภาวะ Oxidative Stress มีความสัมพันธ์กับโรคในช่องปาก ทั้งโรคเหงือก ฟันผุ ฝ้าขาวที่ลิ้น และมะเร็งในช่องปาก เนื่องจากอนุมูลอิสระจะเร่งให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อ และการอักเสบในช่องปาก 

ทั้งนี้เราสามารถลดการเกิดภาวะ Oxidative Stress เพื่อสุขภาพในช่องปากของเราได้ ด้วยการดูแลสุขอนามัยของช่องปากเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค และลดการบริโภคแอลกอฮอล์และบุหรี่ สำหรับการเสริมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง โดยเฉพาะการรับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช ที่มีวิตามิน A, C และ E และยังมีเส้นใย (Fiber) ที่ช่วยขัดคราบสะสมตามซอกเหงือกและฟันเมื่อเราเคี้ยวอาหารดังกล่าวด้วย 

ผลิตภัณฑ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ 

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับช่องปากที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ยาสีฟันผสมชาเขียว และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น น้ำมันกานพลู ซึ่งนอกจากจะมีฤทธิ์ช่วยให้ชาเฉพาะที่แล้วและลดการอักเสบแล้ว ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย  

แบคตาดีน เมาท์ สเปรย์ มีส่วนผสมของน้ำมันกานพลู น้ำผึ้ง และสารสกัดจากถั่งเช่า ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยดูแลสุขภาพในช่องปาก และสมุนไพรกลุ่มน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้ลมหายใจหอมสดชื่น 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. .R, S. P., 2014. Antioxidants in Oral Healthcare. J. Pharm. Sci. & Res., 6(4), pp. 206-209. 
  1. Compendium of Continuing Education for Dentistry, 2013. Use of Antioxidants in Oral Healthcare. [Online]  
    Available at: https://www.aegisdentalnetwork.com/cced/2011/03/use-of-antioxidants-in-oral-healthcare 
    [Accessed Oct 2021]. 
  1. Dr. Nimmi Singh, e. a., 2013. Antioxidants in Oral Health and Diseases: Future Prospects. Journal of Dental and Medical Sciences, 10(3), pp. 36-40. 
  1. สกุลเผือก, ด., n.d. อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ. [Online]  
    Available at: https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=204 
    [Accessed Oct 2021]. 
Tags :
Articles
Share This :