Macrophar

วัดความดันโลหิตอย่างไร ให้ถูกต้อง

สำหรับผู้ที่จะวัดความดันโลหิตเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำ โดยมีคำแนะนำจากสมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ดังนี้ ไม่ดื่มชาหรือกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ ก่อนทำการวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการปวดปัสสาวะควรแนะนำให้ไปปัสสาวะก่อน นั่งพักบนเก้าอี้ในห้องที่เงียบสงบเป็นเวลา 5 นาที หลังพิงพนักเพื่อไม่ต้องเกร็งหลัง เท้า 2 ข้างวางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ห้าง ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้าและขณะวัดความดันโลหิต วางแขนซ้ายหรือขวาที่จะทำการวัดอยู่บนโต๊ะโดยให้บริเวณที่จะพัน arm cuff อยู่ระดับเดียวกับระดับหัวใจ ไม่เกร็งแขนหรือกำมือในขณะทำการวัดความดันโลหิต ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

วัดความดันโลหิตที่บ้าน วัดเวลาไหน ? ช่วย⁠คุม⁠ความ⁠ดัน⁠ได้⁠ดี⁠ขึ้น

การวัดความดันโลหิตที่บ้านมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วย รับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง และทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้การวัดความดันโลหิตที่บ้านในการช่วยการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรค⁠ความดันโลหิตสูง โดยแนะนำให้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพา ทำงานอัตโนมัติวัดบริเวณต้นแขนและ⁠ควร⁠เป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากสถาบันกำหนดมาตรฐาน ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องชนิดที่วัดบริเวณข้อมือหรือปลายนิ้ว ยกเว้น⁠ในกรณีที่การวัดความดันโลหิตบริเวณต้นแขนทำได้ลำบาก เช่น ในผู้ป่วยที่อ้วนมาก เป็นต้น แนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้านวันละ 2 ช่วงเวลา โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้ วัดความดันโลหิตในท่านั่ง เท้าทั้งสองวางราบกับพื้นและวัดความดันโลหิตหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 2 นาที วัดความดันโลหิตวันละ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยแต่ละช่วงเวลาให้วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 นาที ควรวัดติดต่อกัน 7 วันหรืออย่างน้อย 3 วัน ช่วงเช้าควรวัดความดันโลหิตภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน และหลังจากปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว ควร⁠วัด⁠ความ⁠ดันโลหิตก่อนรับประทานอาหารเช้า และก่อนรับประทานยาลดความดันโลหิต (ถ้ามี) รอบค่ำ ควรวัดก่อนเข้านอน ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

ปัจจัยอะไรบ้าง? ที่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด

1. อายุ ปริมาณของไขมันในเลือดแปรตามอายุ พบว่าไขมันที่วัดได้จากเลือดสายสะดือของเด็กแรกเกิดตํ่ามากและ⁠จะ⁠เพิ่ม⁠ขึ้น⁠เร็ว⁠มากในวัยเด็ก แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะเพิ่มขึ้นทีละน้อย ระดับแอลดีแอลจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงอายุ 60 ปี 2. เพศ ความแตกต่างระหว่าเพศมีผลต่อระดับ ไตรกลีเซอไรด์มากกว่าระดับของโคเลสเตอรอล โดยพบว่าเพศชายมี⁠ระ⁠ดับ⁠ไตร⁠กลี⁠เซอ⁠ไรด์⁠สูงกว่าเพศหญิงทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20–39 ปี ระ⁠ดับ⁠ไตร⁠กลี⁠เซอ⁠ไรด์⁠ในเพศชายจะสูง⁠กว่า⁠เพศหญิงถึงร้อยละ 40 แต่ความแตกต่างจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น สำหรับระดับของโคเลสเตอรอลพบ⁠ว่า⁠แตก⁠ต่าง⁠กัน⁠ไม่⁠มาก แต่ระยะหนุ่มสาว ค่าของโคเลสเตอรอลในชายจะสูงกว่าหญิง จนเมื่อวัย 40-50 ปี หญิง⁠จะ⁠มี⁠ระ⁠ดับ⁠โค⁠เลส⁠เตอ⁠รอลสูงกว่าชาย 3. อาหาร ตามปกติร่างกายจะสามารถสร้างหรือผลิตสารโคเลสเตอรอลขึ้นในร่างกายได้เองเป็นส่วนใหญ่ และ⁠สาร⁠โค⁠เลส⁠เตอ⁠รอลที่มีอยู่ในร่างกายส่วนใหญ่ก็ได้จากส่วนที่ร่างกายสร้างขึ้นมากกว่าจากอาหารที่บริโภค แต่⁠อา⁠หาร⁠อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลระดับโคเลสเตอรอล 4. การออกกำลังกาย จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและเพิ่มเอชดีแอล อีกทั้งยังช่วยลดนํ้าหนักด้วย 5. บุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เอชดีแอลลดลงได้มากกว่าร้อยละ 15 และพบว่าการเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ระดับไขมันเอชดีแอลกลับสู่ระดับปกติ 6. กรรมพันธุ์ ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์เกิดจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรมในการสร้างหรือการเผา⁠ผลาญ⁠แอล⁠ดี⁠แอล จึงทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง 7. แอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำให้มีไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น 8. ความอ้วน ผู้ที่อ้วนจะมีระดับแอลดีแอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง 9. ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดจะทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญสูงมากขึ้น […]

มาทำความรู้จัก ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) หมายถึง – ภาวะที่มีโคเลสเตอรอล (Cholesterol) อยู่ในเลือดสูงมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) มากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นตํ่า (Low Density Lipoprotein : LDL) มากกว่า 160 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร– ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (High Density Lipoprotein : HDL) ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยต้องเจาะเลือดตรวจซํ้ากัน 2-3 ครั้ง ห่างกัน ครั้งละ 2-3 สัปดาห์และเป็นการเจาะเลือดในตอนเช้าหลังนอนพักผ่อนมาเต็มที่และงดอาหารเครื่องดื่มต่างๆเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ชั่วโมงแล้ว ภาวะดังกล่าวเป็นภาวะที่พบมากขึ้นในคนไทยที่มีการ⁠ดำ⁠เนิน⁠ชีวิตแบบเมือง คล้ายคนในประเทศตะวันตก ภาวะที่เกิดขึ้นนี้สัมพันธ์กับ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปัจจุบัน⁠เป็น⁠ที่⁠น่าวิตกมากสำหรับคนทั่วไป เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค⁠หลอด⁠เลือด⁠แข็ง⁠ตัว (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้นับเป็นโรคร้ายอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ที่มา: ความรู้เรื่องภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ Dyslipidemia. พีระ สมบัติดี,สายสมร พลดงนอก, […]

การดูแลรักษาสิว

วัยรุ่นแต่ละคนย่อมมีปัญหาสิวที่แตกต่างกัน สิวจะปรากฏอาการในผู้หญิงช่วงอายุ 14-17 ปี และในผู้ชายช่วงอายุ 16-19 ปี หากนิยามความหมายของสิว สิวคือการอักเสบของหน่วยรูขน ทั้งนี้การรักษามักจะดูตามระดับความรุนแรงของสิวได้แก่ – สิวเล็กน้อย (mild acne) มีหัวสิวไม่อักเสบ (comedone) เป็นส่วนใหญ่ หรือมีสิวอักเสบ (papule และ pustule) ไม่⁠เกิน 10 จุด มักใช้เพียงยาทาที่ออกฤทธิ์ลดสิวอุดตัน ยาทาฆ่าเชื้อสิวและลดการอักเสบ – สิวปานกลาง (moderate acne) มี papule และ pustule ขนาดเล็กจำนวนมากกว่า 10 จุดและ/หรือ มี nodule น้อย⁠กว่า 5 จุด กรณีนี้อาจใช้ยาทาสำหรับสิวร่วมกับยารับประทานกลุ่มปฏิชีวนะ – สิวรุนแรง (severe) มี papule และ pustule มากมาย มี nodule หรือ cyst เป็นจำนวนมากหรือมี nodule […]

ท้องเสียพร้อมกับมีไข้ จะใช่ Covid-19 หรือเปล่านะ

จากสถานการณ์ของโรคติดต่อ Covid-19 ที่อาจจะทำให้มีอาการปอดอักเสบรุนแรง ทำให้หลายคนที่มีการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ไอ รวมถึงอาการท้องเสีย วิตกกังวลว่าตนเองจะเจ็บป่วยจากเชื้อ Covid-19 หรือไม่ โดยสรุปล่าสุดขององค์การอนามัยโลก โรค Covid-19 ผู้ป่วยมักจะมีอาการ ดังนี้ – อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้ (> 37.3 °C) ไอแห้ง อ่อนเพลีย – อาการที่พบได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามตัว คัดจมูก น้ำมูกไหล สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส ดังนั้นถ้าเราพบว่ามีอาการท้องเสียร่วมกับมีไข้ แล้วเกิดกังวลว่าจะเป็น Covid-19 ให้เริ่มจากทำแบบประเมินความเสี่ยงของโรค Covid-19 เนื่องจาก Covid-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมด้วย นอกจากนี้อาการไข้ ยังเป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีอาการท้องเสียทั้งจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ถ้าทำแบบประเมินความ⁠เสี่ยงแล้วอยู่ในระดับต่ำ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อรับประทานยาบรรเทาอาการท้องเสียที่เหมาะสม และเนื่องจากท้องเสีย เป็นโรคที่พบได้กับทุกวัย และไม่สามารถคาดการณ์ที่จะเกิดเวลาได้ เราอาจจะมียาแก้ท้องเสียสำรองไว้ที่บ้าน เพื่อบรรเทาอาการให้ทันท่วงที เช่น เกลือแร่ ORS และยาแก้ท้องเสีย เช่น […]

ท้องเสีย..แต่ทำไมไม่ได้ยาปฏิชีวนะ

โรคท้องเสีย หมายถึงอาการถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อ⁠โรคปน⁠เปื้อน หรือรับประทานอาหารรส⁠จัด หรือเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หลายครั้งโรคท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดัง⁠นั้นจึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะซึ่งออกฤทธิ์สำหรับโรคติดเชื้อแบคทีเรีย โดยแพทย์หรือเภสัชกรจะซักอาการของโรค เช่น ถ้าอาการถ่ายท้องเสียไม่มีมูกเลือดปน ไม่มีไข้⁠สูง และมีอา⁠เจียนร่วมด้วย มักจะเป็นอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาเมื่อมีอาการดังกล่าว ให้ผู้ป่วยดื่มเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยแร่ธาตุที่สูญเสียจากการขับถ่าย และรับประทานยาแก้ท้องเสียเพื่อช่วยให้หายได้เร็วขึ้น เช่น ตัวยา Dioctahedral smectite ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับเชื้อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta มีตัวยา Dioctahedral smectite ซอง⁠ละ 3 กรัม อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าท้องเสียแต่เภสัชไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ อาจจะได้ยาอื่นทดแทนซึ่งเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมปรึกษาได้ที่เภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน แหล่งข้อมูลอ้างอิง กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (n.d.). ท้องเสียอย่างไรต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ. Retrieved from http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=62&content_id=1321 ท้องเสียเฉียบพลัน จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่. (n.d.). Retrieved from เกร็ดความรู้สู่ประชาชน โดยนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=2 สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. […]

ทำไมต้องมีกลิ่นปากหลังตื่นนอน

กลิ่นปากเป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจ กังวลว่าคนรอบข้างจะรับรู้ถึงปัญหานี้ ครั้งกลิ่นปากเกิดจากปัญหาสุขภาพในช่องปาก เช่น การมีฟันผุ แผลในปาก โรคเหงือกอักเสบ และรวมไปถึงภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อยด้วย ภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อย มีสาเหตุได้ ดังต่อไปนี้ พฤติกรรมการดื่มน้ำน้อยในระหว่างวัน การรับประทานยาบางกลุ่ม เช่น ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก โดยอาการปากแห้งจะดีขึ้นหลังจากหยุดยา ความเครียด หรือวิตกกังวล ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นการผลิตน้ำลายลดลง อายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือการมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ ภาวะน้ำลายน้อยเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกลิ่นปากได้ เนื่องจากโดยปกติน้ำลายจะเป็นตัวช่วยถ่ายสิ่งตกค้างในช่องปากรวมถึงให้ลงสู่ระบบย่อยอาหาร ไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับการที่เรามีกลิ่นปากหลังจากตื่นนอนนั้น เนื่องมาจากตอนนอนร่างกายจะผลิตน้ำลายเพียงครึ่งหนึ่งของตอนกลางวัน รวมถึงการที่เราไม่ได้ดื่มน้ำติดต่อกัน 6 – 7 ชั่วโมง ทำให้เมื่อตื่นเราจะรู้สึกว่ามีกลิ่นปากซึ่งมาจากการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากนั่นเอง สำหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้งหรือน้ำลายน้อย และกังวลว่าจะมีกลิ่นปาก สามารถป้องกันหรือลดการเกิดกลิ่นปากได้ ดังนี้ ดื่มน้ำ อย่างสม่ำเสมอ วันละ 8 – 10 แก้ว รับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน หากิจกรรมดูแลตนเองเพื่อคลายความเครียด หรือวิตกกังวล ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพในช่องปากที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้ง เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื่นในช่องปาก แหล่งที่มา · โอปิลันธน์, ท., […]

อากาศเปลี่ยนทีไร ทำเราป่วยทุกที

ฮัดชิ้ว! ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มลพิษทางอากาศก็เยอะ จนหลายคนต้องล้มป่วยเพราะร่างกายปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้เกิดอาการแพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจามอยู่บ่อย ๆ  และยังเป็นไข้กันอีก การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้กำเริบ รวมถึงอาการจากโรคหวัด ภูมิแพ้ มีน้ำมูก ให้รับประทานยาแก้แพ้(Anti-histamine) โดยยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 จะสามารถบรรเทาอาการทั้งน้ำมูกไหลและแก้คัดจมูกร่วมด้วยแต่มีผลทำให้ง่วงซึม ไอเนื่องจากหวัด หากมีอาการไอแห้งให้รับประทานยาที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอ แต่ถ้ามีเสมหะร่วมด้วยสามารถรับประทานยากดศูนย์ควบคุมการไอควบคู่กับยาแก้ไอแบบมีเสมหะ หรือจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ มีไข้ ตัวร้อน สามารถใช้ตัวยาParacetamol ซึ่งเป็นยาลดไข้ที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หลายครั้งการป่วยเป็นหวัด จะมีหลายอาการเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันสามารถเลือกยาที่พัฒนาในรูปแบบตัวยาผสม เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทานยารวมถึงขนาดของตัวยาสำคัญต่อเม็ด โดยเฉพาะเด็กอายุ ต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งต้องคำนวณขนาดของตัวยาบาง  ตัวตามน้ำหนักตัว เพื่อให้ได้รับยาในขนาดที่เหมาะสมนอกจากนี้รูปแบบยาที่แตกต่างกัน เช่น ยารูปแบบแคปซูลนิ่ม ซึ่งภายในจะบรรจุตัวยาเป็นของเหลว จะช่วยให้การดูดซึมเพื่อออกฤทธิ์ได้รวดเร็วกว่ารูปแบบยาเม็ดอย่าลืมคอยสังเกตตัวเอง และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีต่าง ๆหรือ อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ รวมถึงใช้น้ำเกลือทำความสะอาดโพรงจมูกเป็นประจำและที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา ด้วยความห่วงใยจากบริษัท แมคโครฟาร์ #MacroPhar

ปรับสมดุลคนทำงานออฟฟิศ พิชิต 2 ม. (เมื่อยตัว เมื่อยตา)

กรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำเพื่อปรับสมดุลร่างกายในระหว่างการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน ดังนี้ ปัจจุบันปัญหาโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดเนื่องจากการทำงาน (Work – related musculoskeletal disorders) โดยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องจากสภาพการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรค และการเกิดโรคในระยะยาว หากไม่มีการปรับปรุง ได้แก่ ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่านั่ง การยกของ การทำกิจกรรมในท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบท การเคลื่อนไหว แบบซ้ำๆ มีแนวโน้มทำให้เกิดการบาดเจ็บสะสมได้ ก า ร บ ริห า ร จัด ก า ร แ ล ะ จิต สัง ค ม – การบริหารจัดการทีดี เช่น การสับเปลี่ยนหมุนเวียนตำแหน่ง การกำหนดภาระหน้าที่ ระยะเวลาในการทำงาน และช่วงเวลาพัก จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการได้รับบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้ ทั้งนี้สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำเพื่อปรับสมดุลร่างกายในระหว่างการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน ดังนี้ […]