Macrophar

D’LeVer Collagen Type II Plus ทางเลือกใหม่ ! สำหรับคนปวดเข่า

Have Any Questions?

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit.

D’LeVer Collagen Type II Plus ทางเลือกใหม่ ! สำหรับคนปวดเข่า

“ข้อเข่า” ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ล้วนส่งผลกระทบต่อเข่าได้ เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองเป็นประจำ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือการลื่นหกล้ม ทั้งหมดนี้ต่างส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาข้อเข่าได้ทุกเพศทุกวัย และหากปล่อยไว้ไม่รีบทำการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้

ข้อเข่า คือ ข้อต่อที่ประกอบขึ้นจากกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และลูกสะบ้า นอกจากนั้นแล้วยังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น เส้นประสาท และหลอดเลือด ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้สามารถเกิดการบาดเจ็บ ติดเชื้อ และเกิดสภาวะอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดเข่าขึ้นได้ โดยอาการปวดเข่านั้นอาจเป็นการเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเป็นแบบเรื้อรังที่ค่อยๆ พัฒนาความรุนแรงของโรคไปตามกาลเวลา หากเกิดอาการปวดเข่าแล้ว จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกรำคาญ เดินไม่สะดวก หรือรู้สึกว่าไม่สามารถลงน้ำหนักไปบนขาข้างที่มีอาการปวดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และคุณภาพชีวิต

สาเหตุการปวดเข่า

อันที่จริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่านั้นมีมากมายหลากหลายข้อแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ อายุ น้ำหนักตัว ระดับความหนักของกิจกรรมที่ทำ หรือแม้กระทั่งปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่าด้วยเช่นกัน สาเหตุของอาการปวดเข่าที่พบได้มาก มีดังนี้

1. ข้อเข่าเสื่อม 

เป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเข่าที่พบได้มากที่สุด ซึ่งแม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่ก็ถือว่าเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ร่างกายจากอาการเจ็บปวดดังกล่าวได้ อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยเดินได้ไม่เหมือนเดิม เช่น เดินตัวเอียง เดินแล้วต้องเอนตัวไปมา หรือต้องมีคนคอยพยุงเวลาเดิน เป็นต้น ถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวผู้ป่วยเอง และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเช่นกัน อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรืออาการผิดปกติของส่วนอื่นๆ ของร่างกายตามมาได้ เช่น อาการปวดหลัง เป็นต้น

อาการของข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกและปานกลางนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อมีแรงกดบีบลงบนผิวข้อเข่ามากๆ เช่น ตอนลุกยืนจากท่านั่ง การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ หรือเดินขึ้นลงบันได และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เข่ามีเสียงดังกรอบแกรบขณะงอหรือเหยียดเข่า เป็นต้น หากเป็นในข้อเข่าเสื่อมระยะหลังแล้ว อาการปวดเข่ามักเกิดทุกครั้งเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า มีการยืน การเดิน และอาจพบอาการผิดรูปของข้อเข่า มีเข่าโก่ง ข้อเข่าติด งอเหยียดได้ไม่สุดร่วมด้วย

ข้อเข่าเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมตามธรรมชาตินั้น อาจเกิดจากการใช้งานข้อเข่ามากเกินไปต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ จากการทำกิจกรรม ซ้ำๆ จนทำให้เกิดการสึกหรอของผิวข้อเข่า พบมากในผู้ที่เล่นกีฬาบางชนิดบ่อยๆ เช่น การออกกำลังกายประเภทที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามาก หรือผู้ที่ทำงานแบบเดิมซ้ำๆ เช่น การยกของหนักเป็นประจำ เป็นต้น

ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย นอกจากอาการข้อเข่าเสื่อมจะเกิดตามธรรมชาติได้แล้ว ยังสามารถเกิดก่อนวัยได้อีกด้วย ซึ่งการเกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยนั้น เป็นผลพวงมาจากการเกิดอุบัติเหตุที่ข้อเข่าตั้งแต่อายุยังน้อย การเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากๆ หรือแม้กระทั่งการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมบ่อยๆ ก็ถือว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้ด้วยเช่นกัน

ข้อเข่าเสื่อมอาจเป็นผลของโรคบางชนิด รวมถึงผลจากความผิดปกติอื่นๆ ในบริเวณข้อเข่า (ภาวะข้อเข่าเสื่อมทุติยภูมิ) เช่น  ภาวะกระดูกข้อเข่าตายจากการขาดเลือด (Osteonecrosis of knee)  ภาวะกล้ามเนื้อต้นขาลีบ (Quadriceps muscle atrophy)  โรคกระดูกพรุนอักเสบ (Osteochondritis dissecans: OCD) เป็นต้น

2. Patellofemoral Pain Syndrome หรือ Runner’s Knee

เกิดจากกระดูกอ่อนที่รองลูกสะบ้าอยู่นั้นมีการสึกหรอหรือเสื่อมสภาพไป ซื่งมีสาเหตุจากการที่มีแรงกดที่มากเกินไปต่อลูกสะบ้า หรืออาการกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและต้นขาไม่สมดุล ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนดึงตัวลูกสะบ้าออกไปจากตำแหน่งที่เคยอยู่ จึงก่อให้เกิดอาการปวดขึ้น โดยเฉพาะตอนเดินลงบนทางลาดชัน และเดินลงบันได

3. โรคข้ออักเสบบางชนิด

เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากอาการปวดแล้ว ยังก่อให้เกิดอาการอักเสบของข้อ คือ อาการบวม แดง ร้อน และเกิดเข่าติดได้เช่นกัน

4. หมอนรองข้อเข่าและเส้นเอ็น

ภายในหรือรอบๆ ข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ เช่น หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด เอ็นไขว้หน้าขาด เอ็นเข่าด้านในได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

คอลลาเจนไทพ์ทู

คอลลาเจนไทพ์ทู  ซึ่งมีบทบาทในการเสริมสร้างกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ กระดูก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก โดยเปรียบเสมือนกาวที่ช่วยประสานโครงสร้างในส่วนดังกล่าวเข้าด้วยกัน ช่วยให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างปกติ มีงานวิจัยศึกษาในระยะแรก พบว่าสามารถลดอาการอักเสบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้อรูมาตอยด์ 

นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 2013 James P Lugo และคณะ มีการศึกษาถึงประสิทธิผลของสารคอลลาเจนไทพ์ทู ในอาสาสมัครสุขภาพดีที่ออกกำลังกายเป็นประจำแต่มีอาการเจ็บที่ข้อเข่าเฉพาะเวลาออกกำลังกายอย่างหนักเท่านั้น โดยศึกษาแบบสุ่มเลือกโดยเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานคอลลาเจนไทพ์ทู  ขนาด 40 มิลลิกรัมต่อวัน และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก หรือ placebo และติดตามเป็นระยะเวลา 120 วัน พบว่ากลุ่มที่รับประทานคอลลาเจนไทพ์ทู มีค่าเฉลี่ยองศาของการยืดเข่าได้ดีขึ้น และยังสามารถออกกำลังกายโดยวิ่งบนลู่วิ่งปรับความชันได้เป็นระยะเวลานานกว่าก่อนที่มีอาการเจ็บหัวเข่าถึง 2 เท่า นอกจากนี้กลุ่มที่รับประทานสารคอลลาเจนไทพ์ทู ยังพบว่ามีอาสาสมัครจำนวน 5 คน หรือ 18.5% ไม่มีอาการปวดเลยในขณะที่ทดสอบ และไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ จากงานวิจัยนี้ จึงสรุปได้ว่าสารคอลลาเจนไทพ์ทู ขนาด 40 มิลลิกรัมต่อวัน มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี สามารถลดอาการอักเสบ ลดอาการปวดของข้อเข่า เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเดินได้ดีขึ้น และยังเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ นอกจากนี้คอลลาเจนไทพ์ทู ยังได้ผลดีในผู้ที่ออกกำลังกาย โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการยืดองศาของเข่าได้ดีขึ้น และเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายในการวิ่งบนลู่วิ่งที่ปรับความชันได้นานกว่าก่อนที่มีอาการเจ็บถึง 2 เท่า โดยที่มีความปลอดภัยสูงและไม่มีผลข้างเคียง

ประโยชน์ของคอลลาเจนไทพ์ทู

ข้อเข่าเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักและเกิดการเสื่อมได้บ่อย แม้ว่าการดูแลรักษาข้อเข่าจะไม่ยากเลย แต่ก็ยังถูกละเลยจากคนเป็นส่วนใหญ่ อาจทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่จะมองข้าม แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมี 2 วิธีหลักคือ การรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด และการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมนั้นควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระทำต่อข้อเข่ามาก ๆ ควรใช้การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขาและรอบเข่า ปัจจุบันการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมดีขึ้นและมีหลายวิธีการ แต่ก็พบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งยังคงมีอาการของโรค และเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษา ดังนั้น ในผู้ที่รักการออกกำลังกายและผู้สูงวัยที่เริ่มมีอาการปวดข้อเข่าจึงควรดูแลเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับสุขภาพข้อเข่าของเราตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่เราจะได้มีย่างก้าวที่มั่นคง และเดินได้ดีอย่างมีสุขภาพไปได้อีกยาวนาน

Tags :
Articles,กล้ามเนื้อและกระดูก
Share This :