โรคท้องเสีย หมายถึงอาการถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือรับประทานอาหารรสจัด หรือเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หลายครั้งโรคท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะซึ่งออกฤทธิ์สำหรับโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
โดยแพทย์หรือเภสัชกรจะซักอาการของโรค เช่น ถ้าอาการถ่ายท้องเสียไม่มีมูกเลือดปน ไม่มีไข้สูง และมีอาเจียนร่วมด้วย มักจะเป็นอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย
การรักษาเมื่อมีอาการดังกล่าว ให้ผู้ป่วยดื่มเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยแร่ธาตุที่สูญเสียจากการขับถ่าย
และรับประทานยาแก้ท้องเสียเพื่อช่วยให้หายได้เร็วขึ้น เช่น ตัวยา Dioctahedral smectite ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับเชื้อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta มีตัวยา Dioctahedral smectite ซองละ 3 กรัม อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ดังนั้นถ้าท้องเสียแต่เภสัชไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ อาจจะได้ยาอื่นทดแทนซึ่งเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมปรึกษาได้ที่เภสัชกรชุมชนใกล้บ้านท่าน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (n.d.). ท้องเสียอย่างไรต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ. Retrieved from http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=62&content_id=1321
ท้องเสียเฉียบพลัน จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่. (n.d.). Retrieved from เกร็ดความรู้สู่ประชาชน โดยนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=2
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2017, September 8). แนะ 3 โรคที่หายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ. Retrieved from https://www.thaihealth.or.th/Content/38548-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%203%20%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%20%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%