เด็กเล็กเป็นวัยที่เกิดท้องเสียได้มากที่สุด เนื่องจากภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่เต็มที่ หรือมักจะหยิบอาหารรับประทาน หรือมีพฤติกรรมการหยิบจับของเล่นแล้วเอาเข้าปาก และการคลานโดยที่ยังไม่รู้จักการป้องกันตัวเองจากสิ่งสกปรก
เมื่อเด็กมีอาการท้องเสียสิ่งสำคัญคือการให้ทยอยจิบน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการขับถ่าย และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อแนะนำการใช้ยาตามอาการให้เหมาะสม
สำหรับการรับประทานอาหารในเด็กที่ท้องเสียโดยแพทย์มีคำแนะนำ ดังนี้
- เด็กเล็กที่รับประทานนมแม่ให้รับประทานตามปกติ
- ให้รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะกับช่วงวัย โดยให้เลือกอาหารที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม
- ไม่จำเป็นต้องงดนมผสม ให้รับประทานได้ตามปกติ แต่อาจจะแบ่งเป็นทีละน้อยและรับประทานบ่อยๆ
- สำหรับนมสูตรปราศจากแลคโตสจะเหมาะกับเด็กที่มีอาการท้องเสียรุนแรง หรือเด็กที่มีภาวะ lactose intolerance
สำหรับยาแก้ท้องเสียที่สามารถรับประทานได้ในเด็ก ได้แก่ตัวยา Dioctahedral smectite โดยออกฤทธิ์ช่วยดูดซับเชื้อโรคทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น สามารถให้รับประทานในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปโดยมีผลการศึกษาประสิทธิภาพว่าช่วยให้หายท้องเสียได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น Dehecta ซึ่งมีตัวยา Dioctahedral smectite อยู่ในรูปแบบยาน้ำพร้อมรับประทาน รสวานิลลา-สตรอว์เบอร์รี่
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1) วิทยาศัย, ผ. (n.d.). โรคท้องเสียในเด็ก. Retrieved from กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี: ลิงค์
2) สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. (n.d.). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก พ.ศ.2562.