Macrophar

เช็กอาการ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น หรือแค่ซน?

สมาธิสั้น Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder (ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ลักษณะอาการที่สังเกตุง่าย อาทิ ขาดสมาธิ วู่วาม หุนหันพลันแล่น มีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงานและการเข้าสังคม เด็กบางคนมีอาการซนและหุนหันพลันแล่นเป็นอาการเด่น แต่บางคนมีอาการขาดสมาธิเป็นอาการเด่น โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder-ADHD) โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่ประกอบด้วยการขาดสมาธิ  ควบคุมตนเองต่ำ  และซุกซน อยู่ไม่นิ่ง อาการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนอายุ 7 ขวบ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการปรับตัวเข้าสังคม อาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางรายมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง และ ควบคุมตนเองต่ำเป็นอาการหลัก  บางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก สำหรับเด็กๆ ที่มีอาการของโรคซนสมาธิสั้น จะมีความผิดปกติของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับอายุและระดับพัฒนาการ โดยมักมีอาการแสดงก่อนช่วงอายุ 7 ปี และมีอาการแสดงอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยแบ่งอาการออกเป็นดังนี้ สาเหตุของโรคสมาธิสั้น เกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมอง  โดยมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ  ปัจจัยจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลง  มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา […]

ระวัง !! ของเล่นที่ลูกน้อยเอาของเข้าปากเป็นประจำ อาจทำให้ป่วยได้

ช่วงพัฒนาการของเด็กเล็กเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา ทั้งด้านการเรียนรู้และด้านร่างกาย การเล่นของลูกจึงควรได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ เพราะนั่นคือ “จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ของลูก” ในช่วงนี้ก็มักจะมาพร้อมกับความวุ่นวายให้คุณพ่อคุณแม่ได้ปวดหัว โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่จะชอบมีพฤติกรรมหยิบของเข้าปาก ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล กลัวว่าของที่เอาเข้าปากจะมีเชื้อโรคสกปรกหรือถ้าลูกน้อยกลืนลงไปก็จะเป็นอันตรายได้ ดังนั้นการทำความสะอาดของเล่นและการฆ่าเชื้อโรค ควรจัดอยู่ในรายการที่ต้องทำประจำเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย สาเหตุที่ลูกชอบเอาของเข้าปากนั้นเป็นพัฒนาการปกติตามวัย โดยเด็กแรกเกิด – 1.5 ปี จะเป็นช่วงวัยที่เรียนรู้จากปาก ซึ่งเด็กวัยนี้กำลังเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ลูกน้อยจะเรียนรู้จากการสัมผัส และสัมผัสที่เขาคุ้นเคยมากที่สุด เข้าใจมากที่สุดตั้งแต่เกิด ก็คือประสาทสัมผัสทางปาก เพราะเป็นช่องทางการเรียนรู้ทั้งเรื่องรสชาติ สัมผัสที่แตกต่าง ความแข็ง ความนุ่ม ซึ่งลูกจะมีความสุขจากกิจกรรมทางปาก เช่น การดูด การเคี้ยว การกัด อย่างการหยิบของเข้าปากหรือการอมนิ้วนั่นเอง  นอกจากนี้เด็กวัยนี้ ยังไม่รู้ว่าของแต่ละชิ้นเอาไว้ทำอะไร เมื่อคว้าได้ก็จะหยิบเข้าปากเป็นปกติ  ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จริง ๆ แล้วส่วนหนึ่งก็เป็นไปตามพัฒนาการ ที่ลูกน้อยกำลังเริ่มเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพราะเขาอยากรู้ว่าของสิ่งนั้นมีสี สัมผัสแข็งหรืออ่อนอย่างไร นอกจากนั้นพฤติกรรมหยิบของเข้าปากก็ยังเป็นการฝึกประสาทสัมผัสระหว่างตากับกล้ามเนื้ออีกด้วย ควรทำความสะอาดของเล่นบ่อยแค่ไหน ? ควรทำทุกวัน สำหรับบ้านที่มีเด็กวัย 0-3 ขวบ ที่มักหยิบจับของเข้าปากตัวเอง หรือไม่ได้ล้างมือให้สะอาดแล้วนำมือมาหยิบอาหารเข้าปาก […]

ผมร่วง ผมบาง ไม่อยากศีรษะล้าน อย่ามองข้าม

เส้นผมสุขภาพดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้..แต่หากมีปัญหาผมร่วงไม่ว่าจากสาเหตุใด คงทำให้สูญเสียความมั่นใจได้เช่นกัน หลายคนต้องเจอกับ”ปัญหาผมร่วง” ผิดปกติอยู่บ่อยครั้ง หวีผมแล้วผมหลุดออกมา หรือเวลาสระผมแล้วผมร่วงไปติดที่ท่อเต็มไปหมดจนน้ำไม่ระบาย หรือนั่นคือสัญญาณของโรคหรือเปล่า ? หรือจริงๆแล้วการที่ผมร่วงเยอะเราขาดวิตามิน แร่ธาตุ หรือมาจากสาเหตุไหนกันแน่ รีบมาดูกันเลยดีกว่า เพื่อความสบายใจและรีบแก้ไขก่อนที่จะร่วงหนักไปมากกว่านี้ สาเหตุผมร่วงมาจากอะไรได้บ้าง ?  ผมร่วงจากพันธุกรรมภาวะนี้ คือภาวะผมร่วง หัวล้านที่เกิดขึ้นในเพศชายเป็นหลัก แต่ก็มีบ้างที่จะเกิดขึ้นในเพศหญิง โดยเราจะเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะผมร่วงแบบแอนโดรจีนิค เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน หรือฮอร์เมนเพศชายที่พบได้ทั้งชายหญิง ไปเป็นฮอร์โมน DHT (Dihyodrotestoserone) ที่เป็นอันตรายต่อรากผมอย่างมาก ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะมีอยู่ในเพศหญิงน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับเพศชาย แต่หากเมื่อใดที่ร่างกายเกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงลดลง เช่น ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ก็จะทำให้ฮอร์โมน DHT ตัวนี้เด่นชัดขึ้นมา และแสดงอาการที่เหมือนกับที่เกิดในเพศชายได้นั่นเอง ผมร่วงจากอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจภาวะความเจ็บปวดนั้น จะทำให้รากกผมเข้าสู่ระยะพักตัว ซึ่งถือเป็นการปรับตัวของระบบร่างกาย ที่จะพักการทำงานในส่วนที่ไม่จำเป็นออกก่อนเพื่อโฟกัสในการรักษาตัวของร่างกายได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งผมจะกลับมางอกกลับมาใหม่ได้เองในระยะเวลา 6 เดือน ผมร่วงจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลเกิดในหญิงที่คุมกำเนิดด้วยวิธีการกิน ฉีด ฝัง ยาคุมกำเนิด การรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยฮอร์โมนทดแทน วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ซึ่งการที่ฮอร์โมนต่างๆ เกิดการไม่สมดุลแบบนี้ จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักตัวได้ไวขึ้น ผมจึงหลุดร่วงมากขึ้น ผมร่วงจากการตั้งครรภ์และหลังคลอดในขณะที่ตั้งครรภ์ […]

Zinc (ซิงค์) ช่วยพัฒนาการการเจริญเติบโต และเสริมภูมิคุ้มกันเด็กจริงไหม ?

ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ และสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมดังนั้นทารกจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างเพียงพอเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ สมบูรณ์  บทบาทของ zinc ต่อการเจริญเติบโต กระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter)  กระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้เด็กกินอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นการแบ่งตัวของเซล์กระดูก มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone)  ควบคุมการแสดงออกของยีน เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่เป็นเอนไซม์และฮอร์โมนในขบวนการต่างๆของร่างกาย บทบาทของ zinc ต่อสมองและพัฒนาการ ทารกมีการเจริญเติบโตของสมองและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยสมองจะมี zinc ในปริมาณมาก zinc เป็นตัวจับกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง รวมทั้งโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท หลายชนิดที่เกี่ยวซ้องกับการจดจำและการเรียนรู้ บทบาทของ zinc ต่อระบบภูมิคุ้มกัน Zinc ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของเชลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ (cell division) และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ (cell differentiation) อยู่ตลอดเวลา มีความเกี่ยวข้องกับการหลั่ง cytokines บางชนิดที่ก่อให้เกิดกลไกการอักเสบ (inflammation) ในร่างกาย จะเห็นได้ว่า zinc […]

How to..ดื่มหนักแต่ไม่อยากแฮงค์ ง่ายๆตามนี้เลย

จบงานปาร์ตี้หรือช่วงเทศกาลทีไร เป็นต้อง เมาค้าง ทุกที แต่สำหรับนักปาร์ตี้แล้ว บรรยากาศในวงเหล้า เคล้าเสียงเพลง และสังคมหมู่เพื่อน คือ เสน่ห์อย่างหนึ่งของการสังสรรค์มากกว่ารสชาติของแอลกอฮอล์ขมๆ เสียอีก เมื่อความสนุกสนานเริ่มขึ้น แอลกอฮอล์จะช่วยเติมเต็มให้ค่ำคืน หอมหวนและอบอวลไปด้วยความสุขเพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง และคลายกล้ามเนื้อ เมื่อได้รับปริมาณเล็กน้อยจึงช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แอลกอฮอล์มีชื่อทางเคมีว่า  Ethanol หรือ Ethyl Alcohol จัดเป็นสารกดประสาทชนิดหนึ่ง เมื่อดื่มไปแล้ว ร่างกายเราจะทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดออกไป  แต่ผลกระทบอาจจะไม่ใช่แค่รอตับกำจัดแค่นั้น แต่ระหว่างที่รอ แอลกอฮอล์จะส่งผลมากมายต่อร่างกาย  เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หากว่าเราปล่อยให้ท้องว่าง ระดับน้ำตาลในเลือดจะน้อยอยู่แล้วเป็นทุนเดิม หากเผลอดื่มแอลกฮอล์ไปทีละมากๆ จะยิ่งถูกฮอร์โมนอินซูลินออกมาขโมยน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง จึงเกิดอาการคล้ายน้ำตาลตก และจะเริ่มมีอาการมึนๆ งงๆ ตามมา และมึนเมาได้ไวกว่าคนที่รองท้องมาด้วยอาหาร หรือทานของแกล้มไปด้วย  เมาค้างหรืออาการแฮงค์ (Hang Over) คือกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โดยอาการเมาค้างจะเกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงซึ่งตรงกับช่วงเช้าอีกวันหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในคืนก่อน ทั้งนี้ ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไปก็ส่งผลให้เกิดอาการเมาค้างที่แตกต่างกัน หากร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มาก ก็จะทำให้เกิดอาการเมาค้างมากขึ้นตามไปด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการเมาค้างคือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยฤทธิ์แอลกอฮอล์ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการอักเสบในร่างกาย บางคนสามารถเกิดอาการเมาค้างได้แม้ดื่มไม่มาก ส่วนบางคนอาจต้องดื่มในปริมาณมากถึงจะเกิดอาการ […]

รู้หรือไม่ ? ทานกินผัก-ผลไม้วันละ 400 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรค

“ผักผลไม้” ยิ่งกินยิ่งดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าในหนึ่งวัน ควรกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม โดยแบ่งเป็นผัก 3 ส่วนและ ผลไม้ 2 ส่วน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) 6 โรคได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลต่อกับการเป็นโรคในกลุ่ม NCDs ซึ่งการกินผัก และผลไม้ไม่เพียงพอ ก็เป็นอีกหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรค นอกจากนี้ยังทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลงอีกด้วย การบริโภคผักและผลไม้ ผักและผลไม้..เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน ใยอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยบำรุงระบบภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างสมดุล โดยเฉพาะ Vitamin B6, Folic, B12, C และสารสำคัญในผักผลไม้ เช่น เบต้าแคโรทีน มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ต้านเชื้อแบคทีเรีย การรับประทานผักผลไม้อย่าสม่ำเสมอ เหมาะกับคนที่ไม่สบายบ่อย และยังช่วยให้ไม่ป่วยง่ายอีกด้วยการกินผัก และผลไม้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรเลือกกินผัก […]

D’LeVer Collagen Type II Plus ทางเลือกใหม่ ! สำหรับคนปวดเข่า

“ข้อเข่า” ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ล้วนส่งผลกระทบต่อเข่าได้ เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองเป็นประจำ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือการลื่นหกล้ม ทั้งหมดนี้ต่างส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาข้อเข่าได้ทุกเพศทุกวัย และหากปล่อยไว้ไม่รีบทำการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ ข้อเข่า คือ ข้อต่อที่ประกอบขึ้นจากกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และลูกสะบ้า นอกจากนั้นแล้วยังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น เส้นประสาท และหลอดเลือด ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้สามารถเกิดการบาดเจ็บ ติดเชื้อ และเกิดสภาวะอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดเข่าขึ้นได้ โดยอาการปวดเข่านั้นอาจเป็นการเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเป็นแบบเรื้อรังที่ค่อยๆ พัฒนาความรุนแรงของโรคไปตามกาลเวลา หากเกิดอาการปวดเข่าแล้ว จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกรำคาญ เดินไม่สะดวก หรือรู้สึกว่าไม่สามารถลงน้ำหนักไปบนขาข้างที่มีอาการปวดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และคุณภาพชีวิต อันที่จริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่านั้นมีมากมายหลากหลายข้อแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ อายุ น้ำหนักตัว ระดับความหนักของกิจกรรมที่ทำ หรือแม้กระทั่งปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่าด้วยเช่นกัน สาเหตุของอาการปวดเข่าที่พบได้มาก มีดังนี้ 1. ข้อเข่าเสื่อม  […]

น้ำมันปลา (Fish Oil) และ น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ต่างกันอย่างไร ?

น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา

แม้ว่าเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งวิตามินหรืออาหารเสริม แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ในทุกวัน อาหารเสริมและวิตามินจึงกลายเป็นทางเลือกของคนที่ใส่ใจสุขภาพเพราะสะดวกสบาย ง่ายที่จะทำ ทั้งยังหาซื้อได้ทั่วไปอีกด้วย แต่อาหารเสริมนั้นก็มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีชื่อของ “น้ำมันปลา” และ “น้ำมันตับปลา” รวมอยู่ด้วย ด้วยชื่อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน จึงทำให้เกิดความสับสนกันอยู่บ่อยๆ ว่าทั้งสองอย่างนั้น คือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไขข้อสงสัย..น้ำมันปลา (Fish Oil) VS น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) น้ำมันปลา (Fish Oil) ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา โดยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น ซึ่งมีกรดไขมัน Omega-3  ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด อาทิ ปลาแองโชวี่ ปลาแมคเคอเรล หรือปลาทูน่ามีไขมัน เป็นต้น สารอาหารสำคัญของน้ำมันปลา (Fish Oil): […]

ฝุ่น PM 2.5 ตัวร้าย ทำลายผิว สาเหตุหนึ่งของปัญหาสิว

ช่วงนี้ฝุ่น มลภาวะเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน เนื่องจากสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมากขึ้นทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง ไม่ว่าจะเป็น จ.เชียงใหม่, จ.แม่ฮ่องสอน, จ.กำแพงเพชร, จ.ลำปาง,  จ.ลำพูน, จ.พะเยาและ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.แพร่ และจ.ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จ.หนองคาย, จ.นครพนม นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในส่วนภาคกลาง เช่น จ.ราชบุรี และ จ.สมุทรสงคราม รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วย ที่นอกจากจะเป็นมลภาวะที่เข้ามาทำลายสุขภาพแล้ว ยังทำลายระบบทางเดินหายใจ รวมถึงผิวหนังของเรา เพราะฝุ่น PM2.5 มีผลทำให้ระคายเคืองผิว เป็นผื่นแพ้ ผื่นคัน ผิวอักเสบ แล้วก็อาจจะทำให้เป็นสิวได้ง่าย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง PM2.5 ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคทางปอดและหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้ทั้งทางเดินหายใจและผิวหนัง รวมถึงกลุ่มเด็กเล็ก และในช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดการสัมผัส PM2.5 ให้น้อยที่สุด ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?  PM ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 […]

ทำไมเด็กต้องทาน Zinc ทานแล้วได้อะไร ?

ซิงค์

“Zinc (ซิงค์) หรือ สังกะสี” เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วน ทั้งการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน และผิวหนัง มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของ พืช สัตว์และมนุษย์  ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง Zinc (ซิงค์) ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่มี Zinc (ซิงค์) เป็นส่วนประกอบโดยเฉลี่ยในปริมาณ 15 mg ต่อวัน แหล่งอาหารที่มีปริมาณ Zinc (ซิงค์) สูง ได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม เมล็ดทานตะวัน เห็ด เนื้อหมู ไข่ ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ปลา จมูกข้าวสาลี แป้งงา เมล็ดฝักทอง ธัญพืช เครื่องเทศ ผักโขม เป็นต้น การเสริม Zinc (ซิงค์) ในเด็ก อายุมากกว่า 12 เดือน จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อได้ โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะท้องเสีย Zinc (ซิงค์) ช่วยลดความรุนแรงของโรคและทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว Zinc (ซิงค์) สำคัญอย่างไรกับร่างกาย ? Zinc มีความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต พัฒนาการของเด็กทั้งในด้านพฤติกรรมและความสามารถในการเรียนรู้การทำงานของระบบสืบพันธุ์การผลิตอสุจิการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินและไทรอยด์ การรับรส แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน […]