Macrophar

เลซิติน (Lecithin) คุณประโยชน์หลากหลายดีต่อสุขภาพ

เลซิติน (Lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค (Phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหารจะมีลักษณะแข็งและขาดความยืดหยุ่นถ้าไม่มีเลซิติน นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท ในร่างกายมนุษย์และยังพบตามแหล่งธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์โดยจะพบมากในไข่แดงสมองหัวใจถั่วเหลืองเมล็ดทานตะวันถั่วลิสงจมูกข้าวสาลีเป็นต้น ส่วนใหญ่อาหารเหล่านี้มักจะให้โคเลสเตอรอลสูงด้วย เลซิตินเองมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำเลซิตินมาใช้ในการควบคุมโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงบำรุงสมองกันอย่างแพร่หลายนั้นเอง เลซิตินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารที่ให้เลซิตินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิตินผสมอยู่ด้วย เลซิตินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย 1.ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลสูงในเลือดป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด เลซิตินทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายไขมันในหลอดเลือดทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆไม่จับกันเป็นก้อน จนไปอุดตันผนังหลอดเลือด และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด เลซิตินจึงเป็นสารอาหารที่สามารถป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด […]

Zinc (ซิงค์) ช่วยพัฒนาการการเจริญเติบโต และเสริมภูมิคุ้มกันเด็กจริงไหม ?

ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ และสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมดังนั้นทารกจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างเพียงพอเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ สมบูรณ์  บทบาทของ zinc ต่อการเจริญเติบโต กระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter)  กระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้เด็กกินอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นการแบ่งตัวของเซล์กระดูก มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone)  ควบคุมการแสดงออกของยีน เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่เป็นเอนไซม์และฮอร์โมนในขบวนการต่างๆของร่างกาย บทบาทของ zinc ต่อสมองและพัฒนาการ ทารกมีการเจริญเติบโตของสมองและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยสมองจะมี zinc ในปริมาณมาก zinc เป็นตัวจับกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง รวมทั้งโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท หลายชนิดที่เกี่ยวซ้องกับการจดจำและการเรียนรู้ บทบาทของ zinc ต่อระบบภูมิคุ้มกัน Zinc ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของเชลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ (cell division) และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ (cell differentiation) อยู่ตลอดเวลา มีความเกี่ยวข้องกับการหลั่ง cytokines บางชนิดที่ก่อให้เกิดกลไกการอักเสบ (inflammation) ในร่างกาย จะเห็นได้ว่า zinc […]

How to..ดื่มหนักแต่ไม่อยากแฮงค์ ง่ายๆตามนี้เลย

จบงานปาร์ตี้หรือช่วงเทศกาลทีไร เป็นต้อง เมาค้าง ทุกที แต่สำหรับนักปาร์ตี้แล้ว บรรยากาศในวงเหล้า เคล้าเสียงเพลง และสังคมหมู่เพื่อน คือ เสน่ห์อย่างหนึ่งของการสังสรรค์มากกว่ารสชาติของแอลกอฮอล์ขมๆ เสียอีก เมื่อความสนุกสนานเริ่มขึ้น แอลกอฮอล์จะช่วยเติมเต็มให้ค่ำคืน หอมหวนและอบอวลไปด้วยความสุขเพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง และคลายกล้ามเนื้อ เมื่อได้รับปริมาณเล็กน้อยจึงช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แอลกอฮอล์มีชื่อทางเคมีว่า  Ethanol หรือ Ethyl Alcohol จัดเป็นสารกดประสาทชนิดหนึ่ง เมื่อดื่มไปแล้ว ร่างกายเราจะทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดออกไป  แต่ผลกระทบอาจจะไม่ใช่แค่รอตับกำจัดแค่นั้น แต่ระหว่างที่รอ แอลกอฮอล์จะส่งผลมากมายต่อร่างกาย  เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หากว่าเราปล่อยให้ท้องว่าง ระดับน้ำตาลในเลือดจะน้อยอยู่แล้วเป็นทุนเดิม หากเผลอดื่มแอลกฮอล์ไปทีละมากๆ จะยิ่งถูกฮอร์โมนอินซูลินออกมาขโมยน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง จึงเกิดอาการคล้ายน้ำตาลตก และจะเริ่มมีอาการมึนๆ งงๆ ตามมา และมึนเมาได้ไวกว่าคนที่รองท้องมาด้วยอาหาร หรือทานของแกล้มไปด้วย  เมาค้างหรืออาการแฮงค์ (Hang Over) คือกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โดยอาการเมาค้างจะเกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงซึ่งตรงกับช่วงเช้าอีกวันหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในคืนก่อน ทั้งนี้ ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไปก็ส่งผลให้เกิดอาการเมาค้างที่แตกต่างกัน หากร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มาก ก็จะทำให้เกิดอาการเมาค้างมากขึ้นตามไปด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการเมาค้างคือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยฤทธิ์แอลกอฮอล์ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการอักเสบในร่างกาย บางคนสามารถเกิดอาการเมาค้างได้แม้ดื่มไม่มาก ส่วนบางคนอาจต้องดื่มในปริมาณมากถึงจะเกิดอาการ […]

รู้หรือไม่ ? ทานกินผัก-ผลไม้วันละ 400 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรค

“ผักผลไม้” ยิ่งกินยิ่งดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าในหนึ่งวัน ควรกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม โดยแบ่งเป็นผัก 3 ส่วนและ ผลไม้ 2 ส่วน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) 6 โรคได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลต่อกับการเป็นโรคในกลุ่ม NCDs ซึ่งการกินผัก และผลไม้ไม่เพียงพอ ก็เป็นอีกหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรค นอกจากนี้ยังทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลงอีกด้วย การบริโภคผักและผลไม้ ผักและผลไม้..เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน ใยอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยบำรุงระบบภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างสมดุล โดยเฉพาะ Vitamin B6, Folic, B12, C และสารสำคัญในผักผลไม้ เช่น เบต้าแคโรทีน มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ต้านเชื้อแบคทีเรีย การรับประทานผักผลไม้อย่าสม่ำเสมอ เหมาะกับคนที่ไม่สบายบ่อย และยังช่วยให้ไม่ป่วยง่ายอีกด้วยการกินผัก และผลไม้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรเลือกกินผัก […]

D’LeVer Collagen Type II Plus ทางเลือกใหม่ ! สำหรับคนปวดเข่า

“ข้อเข่า” ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ล้วนส่งผลกระทบต่อเข่าได้ เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองเป็นประจำ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือการลื่นหกล้ม ทั้งหมดนี้ต่างส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาข้อเข่าได้ทุกเพศทุกวัย และหากปล่อยไว้ไม่รีบทำการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ ข้อเข่า คือ ข้อต่อที่ประกอบขึ้นจากกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และลูกสะบ้า นอกจากนั้นแล้วยังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น เส้นประสาท และหลอดเลือด ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้สามารถเกิดการบาดเจ็บ ติดเชื้อ และเกิดสภาวะอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดเข่าขึ้นได้ โดยอาการปวดเข่านั้นอาจเป็นการเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเป็นแบบเรื้อรังที่ค่อยๆ พัฒนาความรุนแรงของโรคไปตามกาลเวลา หากเกิดอาการปวดเข่าแล้ว จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกรำคาญ เดินไม่สะดวก หรือรู้สึกว่าไม่สามารถลงน้ำหนักไปบนขาข้างที่มีอาการปวดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และคุณภาพชีวิต อันที่จริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่านั้นมีมากมายหลากหลายข้อแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ อายุ น้ำหนักตัว ระดับความหนักของกิจกรรมที่ทำ หรือแม้กระทั่งปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่าด้วยเช่นกัน สาเหตุของอาการปวดเข่าที่พบได้มาก มีดังนี้ 1. ข้อเข่าเสื่อม  […]

ท้องเสีย…กินยาอะไรได้บ้างนะ ?

ท้องเสีย

ท้องเสียเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากหลายสาเหตุและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในผู้ป่วยบางรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และทำงานของภูมคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นการรักษาอาการท้องเสียในช่วงเริ่มแรกโดยการใช้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เรียกว่า ORS และยาที่ใช้รักษาอาการท้องเสียอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ก็สามารถทำได้เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ 1. สารน้ำทดแทนทางปาก (ORS) การให้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือที่เราเรียกกันบ่อยๆว่า ORS มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันหรือรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดจากท้องเสีย ซึ่งผู้ป่วยโรคท้องเสียทุกรายจะเกิดการสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ไม่ว่าจะมีอาการแสดงของการสูญเสียน้ำหรือไม่ ดังนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับสารน้ำทดแทน ซึ่งรูปแบบของสารน้ำทดแทนที่ใช้ขึ้นกับความรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากควรส่งต่อไปสถานพยาบาลเพื่อให้สารน้ำทดแทนในรูปฉีดเข้าหลอดเลือดดา ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการในระดับน้อยถึงปานกลาง ควรได้รับสารน้ำทดแทนทางปาก ซึ่งรูปแบบที่แนะนำและนิยมใช้ คือ สารละลายที่มีปริมาณน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์ตามที่องค์การอนามัยโลกกาหนด ซึ่งจะเรียกว่า oral rehydration solution (ORS) การให้ ORS  ในผู้ป่วยโรคท้องเสียถือว่ามีความสาคัญอย่าง จากการศึกษาทางคลินิก พบว่า การให้ ORS ในเด็กที่เกิดโรคท้องเสียช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ในการให้ ORS ต้องให้อย่างถูกต้องและเพียงพอ การรับประทาน […]

คุณแม่มือใหม่ ท่อน้ำนมอุดตัน ทำอย่างไรดี ?

เมื่อมีบุตรแล้วแม่ๆหลายคนอาจจะประสบปัญหา..ท่อน้ำนมอุดตัน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่น้ำนมบริเวณที่เกิดการอุดตันนั้นข้นขึ้นมาก จนอุดตันคั่งค้างอยู่ในท่อน้ำนมท่อใดท่อหนึ่ง ซึ่งส่งผลทำให้น้ำนมไม่ไหล หรือ ไหลช้า จนอาจก่อให้เกิดอาการน้ำนมคั่งค้างอยู่ภายในเต้านม ส่งผลให้เต้านมบางบริเวณมีลักษณะแข็ง เป็นแผ่นหนา หรือเป็นก้อนอยู่ภายในเต้านม โดยไม่ได้เป็นทั่วทั้งเต้านม ผิวหนังที่บริเวณเหนือก้อน กดเจ็บ และอาจจะบวมแดงได้แต่จะไม่มีไข้ควบคู่ ลักษณะหัวนมและลานหัวนมผิดรูป บางครั้งอาจมีเส้นเลือดที่ผิวหนังของเต้านมปูด และอาจพบจุดสีขาวที่บริเวณหัวนม (White dot)  จะรู้ได้อย่างไรว่าท่อน้ำนมอุดตัน ? เมื่อคลำดูจะพบว่าว่ามีก้อนแข็งเป็นไตบริเวณเต้านม เมื่อกดลงไปจะรู้สึกเจ็บและอาจมีอาการบวมแดง บางครั้งยังอาจก่อให้เกิดจุดขาวที่หัวนม (white dot) ทั้งยังทำให้คุณแม่ปวดระบมเต้านมอีกด้วย นอกจากนี้คุณแม่หลายๆท่านจะพบว่า น้ำนมไหลน้อยลงเนื่องจากก้อนอุดตันไปขวางทางเดินของน้ำนม  วิธีรับมือกับท่อน้ำนมอุดตัน 1.ให้นมลูกบ่อยๆอย่างน้อย 8-12 ครั้ง / วัน และดูดนานอย่างน้อยข้างละ 15-20 นาที และคุณแม่มือใหม่ควรให้ลูกกินนมแม่บ่อยตามที่ลูกต้องการ หิวเมื่อไรก็ให้ดูด เพราะนมแม่นั้นย่อยง่าย ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมบ่อยๆ อาจจะประมาณทุก 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมมา หลังจากนี้ก็ให้ลูกดูดตามต้องการ โดยไม่ต้องตั้งเวลา แต่ถ้ารู้สึกคัดเต้านม ต้องให้ลูกดูดนมออกทันที การให้ลูกกินนมแม่บ่อยจะช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้า […]

Zinc แร่ธาตุตัวจิ๋ว สำหรับทุกคนในครอบครัว

แร่ธาตุสังกะสีหรือซิงค์ (Zinc) เป็นแร่ธาตุที่มีมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วนช่วยในการควบคุมให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีส่วนช่วยในการทำงานของเอ็นไซม์ต่างๆของร่างกายถึง 300 ชนิด ซึ่งรวมถึงกระบวนการย่อยและเผาผลาญสารอาหารต่างๆ และมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย กระบวนการสังเคราะห์สารพันธุกรรม ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท ฮอร์โมน รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน เช่นการสร้างภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต การทำงานของฮอร์โมน จึงกล่าวได้ว่าแร่ธาตุชนิดนี้ช่วยบำรุงสุขภาพโดยรวมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่ป่วยบ่อย ช่วยเรื่องการซ่อมแซมบาดแผล ทำให้แผลหาดเร็วขึ้น ช่วยเรื่องการเผาผลาญ ช่วยเรื่องการพัฒนาและการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมไปถึงช่วยเสริมเรื่องการรับรู้รสและกลิ่นอีกด้วย โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง Zinc (ซิงค์) ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่มี Zinc (ซิงค์) เป็นส่วนประกอบโดยเฉลี่ยในปริมาณ 15 mg ต่อวัน ซึ่งแหล่งอาหารที่มีปริมาณ Zinc (ซิงค์) สูงได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม เมล็ดทานตะวัน เห็ด เนื้อหมู ไข่ ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ปลา จมูกข้าวสาลี แป้งงา เมล็ดฝักทอง ธัญพืช เครื่องเทศ ผักโขม เป็นต้น ซิงค์ เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ แต่ต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อย หากเราสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ร่างกายของเรามักจะไม่ขาดแร่ธาตุสังกะสีนี้ แต่อาจมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ร่างกายของเราได้รับซิงค์ไม่เพียงพอ เช่น […]

น้ำมันปลา (Fish Oil) และ น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ต่างกันอย่างไร ?

น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา

แม้ว่าเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งวิตามินหรืออาหารเสริม แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ในทุกวัน อาหารเสริมและวิตามินจึงกลายเป็นทางเลือกของคนที่ใส่ใจสุขภาพเพราะสะดวกสบาย ง่ายที่จะทำ ทั้งยังหาซื้อได้ทั่วไปอีกด้วย แต่อาหารเสริมนั้นก็มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีชื่อของ “น้ำมันปลา” และ “น้ำมันตับปลา” รวมอยู่ด้วย ด้วยชื่อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน จึงทำให้เกิดความสับสนกันอยู่บ่อยๆ ว่าทั้งสองอย่างนั้น คือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไขข้อสงสัย..น้ำมันปลา (Fish Oil) VS น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) น้ำมันปลา (Fish Oil) ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา โดยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น ซึ่งมีกรดไขมัน Omega-3  ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด อาทิ ปลาแองโชวี่ ปลาแมคเคอเรล หรือปลาทูน่ามีไขมัน เป็นต้น สารอาหารสำคัญของน้ำมันปลา (Fish Oil): […]

ฝุ่น PM 2.5 ตัวร้าย ทำลายผิว สาเหตุหนึ่งของปัญหาสิว

ช่วงนี้ฝุ่น มลภาวะเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน เนื่องจากสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมากขึ้นทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง ไม่ว่าจะเป็น จ.เชียงใหม่, จ.แม่ฮ่องสอน, จ.กำแพงเพชร, จ.ลำปาง,  จ.ลำพูน, จ.พะเยาและ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.แพร่ และจ.ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จ.หนองคาย, จ.นครพนม นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในส่วนภาคกลาง เช่น จ.ราชบุรี และ จ.สมุทรสงคราม รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วย ที่นอกจากจะเป็นมลภาวะที่เข้ามาทำลายสุขภาพแล้ว ยังทำลายระบบทางเดินหายใจ รวมถึงผิวหนังของเรา เพราะฝุ่น PM2.5 มีผลทำให้ระคายเคืองผิว เป็นผื่นแพ้ ผื่นคัน ผิวอักเสบ แล้วก็อาจจะทำให้เป็นสิวได้ง่าย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง PM2.5 ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคทางปอดและหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้ทั้งทางเดินหายใจและผิวหนัง รวมถึงกลุ่มเด็กเล็ก และในช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดการสัมผัส PM2.5 ให้น้อยที่สุด ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?  PM ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 […]